Brexit กระทบหุ้นไทยหรือไม่

Brexit กระทบหุ้นไทยหรือไม่

Brexit กระทบหุ้นไทยหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ย้อนรอยในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 (คศ.2016) ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 1,411.19 -23.70 จุด(1.65%) มีเหตุผลอยู่หลายเรื่องคือ


1. ทราบผลเฟด (Fed) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2559  คงดอกเบี้ย
2. ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยและคงนโยบาย (QE) 80 ล้านล้านเยนต่อปี
3. Brexit  ข่าวติดชาร์ทที่สุดในรอบปี เพราะผลโพลส์เสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU เริ่มสูงขึ้น

อ้าว!! อ่านข่าว แล้วมีคำถามว่า Brexit คืออะไร? เกิดมาได้อย่างไร? แล้วกระทบหุ้นไทยหรือไม่? ลูกหมูขอสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้


1. Brexit คือ Britain + Exit  Britain ออกจากสมาชิก EU

Britain คือ สหราชอาณาจักร ประกอบด้วยอังกฤษ, เวลล์, สก็อตแลนด์ และ ไอซ์แลนด์เหนือ

สหภาพยุโรป (EU) คือ กลุ่มประเทศในยุโรป ก่อตั้ง คศ. 1993 มีสมาชิก 28 ประเทศ (ยกเว้น นอร์เวย์กับสวิตเซอร์แลนด์) มีขนาด GDP ใหญ่พอๆกับอเมริกา มีนโยบายการเปิดเสรีสำหรับประเทศสมาชิกในเรื่อง


- การค้า (ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีระหว่างประเทศสมาชิก)
- การเคลื่อนย้ายแรงงาน, เงินทุน และ การบริการ


2. Brexit เกิดขึ้นอย่างไร

มาจาก Davit Cameron นายกคนปัจจุบันของอังกฤษ ตอนหาเสียงใช้นโยบาย “จะให้ประชาชน Vote ให้อังกฤษออกจาก EU” โดยจะVoteในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ปิดหีบเวลา 11.00 น. (เวลาไทย 24 มิถุนายน 2559 เวลาประมาณตีสี่) ใจจริงส่วนลึกของ Davit Cameron ไม่อยากให้อังกฤษออกจาก EU จึงออกไม้ตายว่า “อาจจะเก็บภาษีประชาชนเพิ่ม ทดแทนรายได้ที่รัฐบาลสูญเสียจากการออกจาก EU”


3. กระทบหุ้นไทยหรือไม่ : อังกฤษเป็นเสาหลัก EU (เยอรมัน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส) ต้องจ่ายเข้า EU ปีละประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าออกจาก EU น่าจะมีปัญหา แล้วไทยเราล่ะ จะเจอผลกระทบอะไรบ้าง??

1. การค้าขายระหว่างไทยกับอังกฤษและ EU คิดเป็น 2% และ 12% ของมูลค่าส่งออกตามลำดับ ถือว่าไม่มากนัก


2. ค่าเงินผันผวน : เกิดจากความกลัวว่า Brexit จะเกิดขึ้นจริง นักลงทุนส่วนใหญ่จึงขายเงินปอนด์และเงินยูโรออก มาซื้อเงินดอลล่าร์ฯแทน เพราะคิดว่าปลอดภัยกว่า สรุปได้ดังนี้



: ค่าเงินบาท ไม่ได้รับอิทธิพลเท่าไหร่ ยกเว้นไหลออกจากประเทศ


3. หุ้น : เมื่อความกลัวเกิดขึ้น นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงมาซื้อสินทรัพย์ที่คิดว่าปลอดภัยแทน ตัวอย่างเช่น


4. ทองคำ : เงินไหลเข้าตลาดทองคำ เพื่อ ความปลอดภัยประกอบกับราคาต่ำ


5. อัตราผลตอบแทนพันธบัตร : เงินหาแหล่งปลอดภัยโดยไหลเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว ทำให้ความต้องการสูง ราคาพันธบัตรสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม เป็นที่มาของ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง

นี่เป็นภาพที่นักลงทุนต้องติดตามเหตุการณ์สำคัญเรื่อง Brexit อย่างใกล้ชิด เพราะเรื่องนี้มีผลต่อหุ้น ไม่มาก ก็น้อยนะคะ

ผู้เขียน : นฤมล บุญสนอง CFP®
รองกรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook