T-bone ประกาศร้านกาแฟเปิดเพลงได้ฟรีไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์

T-bone ประกาศร้านกาแฟเปิดเพลงได้ฟรีไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์

T-bone ประกาศร้านกาแฟเปิดเพลงได้ฟรีไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจนักน้องวงดังแนวเร้กเก้ - สกา T-bone ประกาศ อนุญาตให้ร้านกาแฟเปิดเพลงของวงได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ชี้หากทำให้บรรยากาศร้านดีขึ้น

กลายเป็นประเด็นดราม่าไม่จบง่ายๆ หลังมีกระแสข่าวกรณีร้านกาแฟที่จังหวัดแพร่ถูกจับละเมิดลิขสิทธิ์เพลงที่เปิดจากยูทูบโดยปรับไป 20,000 บาท และมีการนำมาโพสต์ในเฟซบุ๊กจนเป็นประเด็นที่คนพูดกันมากในช่วง2-3 วันที่ผ่านมา และเมื่อวานมีประเด็นต่อเนื่องเป็นที่สนใจในสังคมโซเชียลเช่นกันเมื่อร้านขายของชำประกาศแก้เผ็ด โดยติดประกาศห้ามลูกค้าฟังเพลงที่เปิดในร้าน เพราะต้องการฟังคนเดียวหากไม่ยอมจะดำเนินการตามกฎหมาย

วันนี้ในเพจของวงดนตรีแนวเร้กเก้ชื่อดัง T-bone ได้ประกาศผ่านเพจว่า


“ถึง..ร้านกาแฟที่รัก
เปิดเพลงของT-bone ได้ทุกร้านนะครับ..
ทีโบนอนุญาติ ให้เปิดได้ครับ..ตามสบายถ้าทำให้บรรยากาศดีขึ้น ทีโบนยินดีครับ...ถ้าร้านกาแฟใดโดนข้อหาเปิดเพลงของทีโบน..โปรดแจงให้ท่านทราบด้วยว่า ทีโบนให้เปิดได้ฟรี..ขอบคุณครับ


ซึ่งประเด็นดังกล่าวชาวโซเชียลให้ความสนใจจำนวนมากเช่นกัน

ประเด็นข้อกฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ยังเป็นประเด็นที่ยังมีความเห็นแย้งในสังคม เพราะจากเหตุการณ์ที่มีการจับลิขสิทธิ์เพลงล่าสุดที่ร้านกาแฟจังหวัดแพร่ตามข่าวนั้น ได้มีนักกฎหมายออกมาให้ความเห็นโดยยกฎีกาออกมายืนยันว่าแท้จริงแล้ว การเปิดเพลงในร้านกาแฟ ร้านอาหารไม่ผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
……………………………………….
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
……………………………….

อย่างไรก็ตามมีมุมมองของนักกฎหมายของ หัวหน้าส่วนคุ้มครองลิขสิทธิ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา คุณนุสรา กาญจนกูล ที่เคยให้ความเห็นในเรื่องนี้ในการสัมมนาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2558 ไว้ว่า การเปิดเพลงผ่านยูทูปของร้านกาแฟ ร้านอาหารถือว่าละเมิดเป็นความผิดโดยมีเนื้อหาบางส่วนดังนี้ ……
กรณีร้านอาหาร และร้านกาแฟ ที่นำเพลงต่างๆ ไปเปิดให้ลูกค้าภายในร้านฟังนั้น ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะการนำงานเพลงมาเผยแพร่นั้น ต้องไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือในแง่แสวงหาผลประโยชน์จากงานเพลง ซึ่งการใช้แต่ละครั้ง ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ไม่ว่าจะเปิดจากแผ่นเสียงที่ถูกลิขสิทธิ์ หรือแม้แต่เปิดจากวิทยุ ก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยเช่นกัน

เพราะฉะนั้น การขออนุญาตการใช้งานเพลงต่างๆ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นโดยผู้ประกอบการ ต้องดูว่าร้านของตัวเองใช้เพลงอะไร หลังจากนั้นก็ต้องดูว่าบริษัทอะไรเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์อยู่ ส่วนอัตราค่าจัดเก็บนั้นมีหลายอัตรา ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของร้านผู้ขออนุญาต และความถี่ในการใช้งาน แต่ถ้าหากร้านนั้นมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมองว่าใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร้านนั้นสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอยกเว้นได้…………

เครดิตภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก เพจทีโบน T-bone@tboneska.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook