บสย.เร่งเครื่อง ค้ำประกันฯ “สตาร์ทอัพ-นวัตกรรม” คาดช่วย SMEs 5 พันราย

บสย.เร่งเครื่อง ค้ำประกันฯ “สตาร์ทอัพ-นวัตกรรม” คาดช่วย SMEs 5 พันราย

บสย.เร่งเครื่อง ค้ำประกันฯ “สตาร์ทอัพ-นวัตกรรม” คาดช่วย SMEs 5 พันราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บสย. เร่งเดินเครื่องหลัง ครม.ไฟเขียว ค้ำประกันฯ “สตาร์ทอัพ-นวัตกรรม” หมื่นล. เร่งเซ็น MOU แบงก์ ปล่อย-ค้ำฯ เงินกู้ ใน 1 เดือน สิ้นโครงการ 31 ธ.ค. 61 คาดช่วย SMEs 5 พันราย

นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 มีมติอนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่ และนวัตกรรม (Startup & Innovation) ของ บสย. เพื่อช่วยผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งมีอายุกิจการไม่เกิน 3 ปี และผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุน เพื่อสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น โดยมีวงเงินค้ำประกันรวมทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ 31 ธันวาคม 2561

ขั้นตอนจากนี้ บสย. จะเร่งดำเนินการเพื่อสานต่อนโยบายของภาครัฐ โดยนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ บสย. รวมถึงเร่งหารือกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อร่วมกันปล่อยสินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ และกลุ่มนวัตกรรม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนนับจากนี้

สำหรับวงเงินค้ำประกันต่อราย กรณีผู้ประกอบการใหม่ที่เป็นบุคคลธรรมดา จะได้รับการค้ำประกันไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการใหม่ที่เป็นนิติบุคคลจะได้รับการค้ำประกันไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มนวัตกรรม เทคโนโลยี ซึ่งผ่านการรับรองจากธนาคาร จะได้รับการค้ำประกันวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่หากผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจากหน่วยงานรัฐ อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ฯลฯ จะได้รับการค้ำประกันวงเงินสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียม 1-2% ต่อปี โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระจ่ายแทน SMEs ในปีแรก

นายนิธิศ กล่าวว่า โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่ และนวัตกรรม ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก ครม. ในครั้งนี้ บสย. คาดว่าจะช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ และกลุ่มนวัตกรรม สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้นประมาณ 5,000 ราย เฉลี่ยรายละ 2 ล้านบาท ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินจำนวน 10,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 40,000 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook