พร้อมเพย์ ไม่ปลอดภัย เสียความเป็นส่วนตัวจริงหรือ ?

พร้อมเพย์ ไม่ปลอดภัย เสียความเป็นส่วนตัวจริงหรือ ?

พร้อมเพย์ ไม่ปลอดภัย เสียความเป็นส่วนตัวจริงหรือ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นประเด็นขึ้นมาและสร้างความกังวลให้กับคนไม่น้อย เมื่อมีกระแสประชาชนปฏิเสธ ระบบพร้อมเพย์ ที่ทางการหมายมั่นปั่นมือ จะเปิดลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ก.คง 59 นี้ สิ่งที่ประชนกังวลเนื่องจากกระแสข่าวลือว่า เมื่อมีการนำหมายเลขโทรศัพท์ และ เลขบัตรประชาชนมาผูกกับบัญชีธนาคารแล้วจะทำให้ถูกแฮกข้อมูลได้ง่าย จะไม่มีความปลอดภัย

มิหน่ำซ้ำยังเป็นประเด็นหนักขึ้นไปอีก เมื่อนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาปฏิเสธระบบดังกล่าว โดยชี้ประเด็นในเรื่องการนำเลขบัตรประชาชนไป ซึ่งมีข้อมูลส่วนตัวไปผูกกับเลขบัญชีตามระบบพร้อมเพย์ เป็นความเสี่ยง เป็นการไม่ปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 59 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยสาระสำคัญก็คือ


1 ระบบพร้อมเพย์ เป็นระบบที่เปิดให้ประชาชนผู้ใช้บริการสมัครใจเข้ามาลงทะเบียน ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ

2 .ในประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ธปท.ได้ชี้แจงว่า มีพรบ.ธุรกิจธนาคาร มาตรา 154 กำกับดูแลไม่ให้ ธนาคารนำข้อมูลความลับของลูกค้าไปเปิดเผยอยู่แล้ว ..ผู้ที่ฝ่าฝืนมีทั้งโทษจำคุกและปรับ

3หากจะให้ปลอดภัยขึ้นและให้ธนาคารรับผิดชอบความเสียหายที่อาจจะเกิดกับระบบ ประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือไม่ควรไปทำเจลเบรค (jailbreak) หรือ การดัดแปลงระบบไอโอเอส(IOS) ของแอปเปิลเพื่อให้ลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ฟรีโดยไม่ผ่าน แอพสโตร์ เพราะธนาคารอาจจะไม่รับผิดชอบความเสียหายจากการไม่มีระบบป้องกันไวรัสก็ได้ อย่างไรก็ดีขณะนี้ธนาคารหลายแห่งก็มีการช่วยลูกค้าด้วยการให้บริการอัพเดทไวรัสให้ด้วย

4 มีการรายงานของผู้ที่สมัครเข้าลงทะเบียนพร้อมเพย์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 59 ผ่านธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารรัฐแล้ว รวม 9.7 ล้านราย แบ่งเป็น การลงทะเบียนผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์ 1.6 ล้านราย และ ลงทะเบียนผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน 8.1 ล้านราย

ความกังวลของประชาชน ในเรื่องของการถูกเจาะข้อมูลหรือ ถูกแฮกข้อมูล นั้น ก่อนหน้านี้ นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่า แบงก์ชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบระบบการลงทะเบียนของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งแล้ว ก็พบว่ามีการดูแลระบบเป็นอย่างดี เป็นระบบแบบปิดไม่มีการรั่วไหล โดยข้อมูลจะนำไปสู่ระบบถังกลางจากประเทศอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษและสิงคโปร์ก็ใช้ระบบดังกล่าวมานานแล้ว มีความปลอดภัยเป็นมาตรฐานสากล

ส่วนภาคของ “การโอน” ประชาชนก็ยังคงใช้ระบบเดิม ไม่ว่าจะโอนผ่านตู้เอทีเอ็ม, โมบายแบงก์กิ้ง, อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หรือ สาขาธนาคาร เพียงแค่กดเลือกช่องทางการโอนผ่านพร้อมเพย์ ก็จะได้ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า โดย 5 พันบาทแรกจะไม่เสียค่าธรรมเนียม

ข้อควรระวังก็มีเพียงแค่ การปกปิดรหัสเอทีเอ็ม และรหัสสำหรับการเข้าโมบาย หรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง เท่านั้น ซึ่งเป็นหลักการใช้พื้นฐานอยู่แล้ว

เพื่อให้เห็นภาพของระบบพร้อมเพย์มากยิ่งขึ้น .. ของการใช้งานจริงของระบบพร้อมเพย์ คือ มาทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า ระบบพร้อมเพย์ สะดวกอย่างไร ปลอดภัยหรือไม่อย่างไร
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ในการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคารมี 2 ขา คือ


ขาเข้า หมายถึง มีคนโอนเงิน ส่งเงิน มาเข้าบัญชีเรา
ขาออก เราเป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีไปให้คนอื่นๆ

ดังนั้น ลงทะเบียนพร้อมเพย์จะทำให้เกิดความสะดวกดังนี้ คือ


1 เพิ่มประตูให้เงินเข้ามากขึ้น สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น

การนำบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งที่เราใช้สำหรับ เป็นบัญชีเงินที่เข้ามา และสำหรับการโอนเงินออก ซึ่งปรกติเราใช้ บัญชีออมทรัพย์กันอยู่ มาลงทะเบียนโดยเพิ่ม หมายเลขโทรศัพท์ และหรือ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ผูกกับบัญชีดังกล่าวด้วย

ผลของการผูกหมายเลขโทรศัพท์และเลขบัตรประชาชนเข้าไป คือ จะทำให้ บัญชีนี้ มีประตูสำหรับการรับเงินเข้าบัญชี เพิ่มมากขึ้น (ย้ำประตูรับเงินเข้าบัญชี) นอกเหนือจากเดิมที่มีทางเข้าทางเดียวคือ หมายเลขบัญชีนั้นๆ การเพิ่มทางเข้า ซึ่งเป็นหมายเลขที่เราใช้เป็นประจำอย่างหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความสะดวก เวลา มีคนอยากโอนเงินเพื่อคืนให้เรา เพียงเราบอกหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้ เขาก็สามารถโอนมาได้ทันที เพราะปรกติคนเราจำหมายเลขบัญชีไม่ค่อยได้กันอยู่แล้ว

ส่วนใครที่ผูกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ไว้ด้วยนั้น ก็สะดวกเพราะส่วนใหญ่เราพกบัตรประชาชนติดตัวติดกระเป๋าอยู่แล้ว ส่วน กรณีเราไม่ได้พกบัตรประชาชนอยู่ หมายเลขโทรศัพท์คือประตูสำหรับให้เขาโอนเงินมาให้เราสะดวกที่สุดครับ

2 การโอนเงินออกจากบัญชี หรือ ถอนเงินออกจากบัญชี ซึ่งประเด็นนี้ คือ ความกังวลของประชาชน ว่า หากเราเพิ่มเลขโทรศัพท์และเลขบัตรประชาชนเข้าไป จะถูกแฮกง่ายขึ้น ?

ลองนึกภาพความเป็นจริงของการทำธุรกรรมจริงของเรากรณี ถอนเงินและโอนเงินออกจากบัญชี นะครับ ว่า ปรกติ ส่วนใหญ่ คือเราจะทำโดย ใช้ บัตรเอทีเอ็ม อีแบงก์กิ้ง อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง โมบายแบงก์กิ้ง และ นำสุมุดบัญชีเดินไปที่ธนาคาร

การนำเงินออกจากบัญชี หรือ โอนเงินออกจากบัญชีทุกครั้ง เราต้องผ่าน รหัสส่วนตัวที่เรารู้เพียงผู้เดียว ไม่ว่าจะเป็นบัตรเอทีเอ็ม การโอนผ่านอีแบงก์กิ้งหรือ โมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งเลขโทรศัพท์และ เลขบัตรประชาชน ไม่เกี่ยวกับรหัสส่วนตัวใดๆเลย

ความกังวลว่า คนที่รู้เบอร์โทรศัพท์เราจะเจาะมาเบิกเงินในบัญชี คนที่รู้เลขบัตรประชาชนเรามาเบิกเงินออกจากบัญชีเรา ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ ในขั้นตอนขาออก...จะมีเราเจ้าของบัญชีเท่านั้นที่รู้รหัสผ่านสำหรับการนำเงินออกจากบัญชี เหมือนกรณี บัตรเอทีเอ็ม หากเราไม่ให้รหัสผ่านก็ไม่มีทางที่เขาจะเขาถึงการเบิกเงินในบัญชีได้ นั้นเอง

สิ่งที่จะได้จากการระบบพร้อมเพย์ในการโอนออกจากบัญชีของเราก็คือ เราจะโอนเงินได้ง่ายขึ้น กรณีเราจะโอนเงินไปให้คนอื่น เพียงเขาบอกเลขโทรศัพท์ที่ผูกไว้มาให้เรา ก็สามารถโอนได้ เพราะกรณีเร่งด่วนจำเป็นต้องโอนเงิน น้อยคนที่จะพกเลขบัญชีธนาคารติดตัวไว้ อย่างเช่นกรณี เรานั่งแท็กซี่แล้วลืมกระเป๋าตังค์ หากคนขับลงทะเบียนพร้อมเพย์ โดยผูกเลขโทรศัพท์ไว้ เราสามารถโอนเงินจ่ายเป็นค่าโดยสารได้ทันที ผ่านโมบายแบงก์กิ้งเป็นต้น

นอกจากนี้สิ่งที่เราจะได้จากระบบพร้อมเพย์คือ ค่าธรรมเนียมการโอน หากการโอนไม่เกิน 5 พันบาท เราไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และหากเกิน 5 บาท ก็มีค่าธรรมเนียมสูงสุด ไม่เกิด 5 บาท หรือ 10 บาทแล้วแต่สถาบันการเงิน

ดังนั้นคนที่มีการรับ และ โอนเงินบ่อยๆ จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้มาก ประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้เยอะ

สำหรับประเด็นความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้น เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องเจาะลึกลงไปอีก แต่โดยภาพรวมกรณี ระบบพร้อมเพย์ ที่เชื่อมโยง การรับโอนเงินผ่านธนาคารโดยการผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับสุจริตชนทั่วไปไม่มีอะไรที่น่ากลัว และปรกติ เรามักได้รับโทรศัพท์จาก พนักงานขายประกัน บัตรเครดิตกันเป็นประจำจนคุ้นชินอยู่แล้ว ส่วนการผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน เป็นอีกเรื่อง ยิ่งต่อไปหากมีการผูกธุรกรรมทุกอย่างลงในบัตรประชาชนนั้น เป็นเรื่องใหญ่ไว้นำมาวิเคราะห์กันต่อไป...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook