ปัญหาโลกแตก ญาติ ยืมเงิน ให้ยืมดีไหม ?

ปัญหาโลกแตก ญาติ ยืมเงิน ให้ยืมดีไหม ?

ปัญหาโลกแตก ญาติ ยืมเงิน ให้ยืมดีไหม ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อญาติพี่น้องหรือเพื่อนสนิทของคุณมาหาพร้อมกับขอ ยืมเงิน โดยให้เหตุผลกับคุณว่าจะเอาไปจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือจ่ายค่าเทอมให้ลูกให้หลาน มันอาจยากที่จะปฏิเสธ เพราะการให้เพื่อนและครอบครัว ยืมเงิน กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคนไทยเกือบครึ่งมักจะยืมเงินเพื่อนและครอบครัว และสุดท้ายก็มักจะเข้าหน้ากันไม่ติด เนื่องจากยืมแล้วมักได้คืนยากหรือไม่ได้คืนเลย วันนี้ MoneyGuru.co.th จึงนำบทความ “ควรให้เพื่อนและครอบครัวยืมเงินไหม?” มาฝากคุณผู้อ่านค่ะ

พิจารณาคำขอยืม
แม้คุณจะรู้อยู่เต็มอกว่าถ้าให้ยืมเงินแล้วคงไม่ได้รับเงินคืนและอาจจะหมางใจกันไปเลย แต่มันก็คงเป็นเรื่องยากอยู่ดีที่จะบอกกับเพื่อนหรือญาติพี่น้องของคุณว่า “ไม่มีเงินให้ยืม” อย่างไรก็ตามถ้าคุณรู้สึกว่าคุณยังอยากจะให้เพื่อนคนนี้ยืมเงินอยู่ การได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่าเหตุผลอะไรถึงมาขอยืมเงินจากคุณจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องใส่ใจค่ะ คุณจะได้รู้ถึงความจำเป็นของเพื่อนหรือญาติของคุณในการมาขอยืนเงินในครั้งนี้ประกอบการพิจารณา ว่าสมควรให้ยืมหรือไม่

ขอข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ขั้นตอนแรกในการที่จะได้ข้อมูลเพิ่มเติม คือการถามว่าจะเอาเงินที่ยืมไปใช้ทำอะไร เพราะการให้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนหรือค่ารักษาพยาบาลมันจะดีกว่าการให้ยืมเงินเพื่อไปเที่ยว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณจำเป็นต้องถาม คือคืนเงินเมื่อไหร่ และจะคืนเงินให้คุณอย่างไร หากสมาชิกในครอบครัวเคยยืมเงินคุณมาก่อนและไม่คืนเงินให้กับคุณ มันอาจดีกว่าถ้าคุณปฏิเสธการให้ยืมในครั้งนี้

หาเงินทางอื่นบ้างหรือยัง?
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรถามคือ พวกเขาได้ลองหาเงินทางอื่นบ้างหรือยัง อย่างเช่น การกู้เงินจากธนาคารหรือแม้กระทั่งนำของมีค่าไปจำนำที่โรงรับจำนำ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณตัดสินใจที่จะให้คนอื่นยืมเงินได้จริง ๆ คุณต้องคำนวณด้วยนะคะว่าคุณจะให้พวกเขายืมเท่าไหร่ คุณสามารถให้ยืมโดยที่คุณไม่เดือดร้อนหรือเปล่า

การคืนเงิน
ถ้าคุณให้เพื่อนหรือญาติยืมเงิน คุณจะต้องได้รับเงินกลับคืนมาในเวลาที่ตกลงกันไว้ เพราะผู้ให้ยืมกับผู้ขอยืมเงินมักจะมีความทรงจำเกี่ยวกับการยืมเงินที่แตกต่างกัน นอกจากนี้หากผู้ขอยืมเงินไม่คืนเงินตามวันที่ตกลงกันไว้ มันอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ได้

ทำสัญญาเงินกู้
หากเงินที่เพื่อนหรือญาติของคุณมาขอยืมเป็นเงินจำนวนมาก สิ่งที่คุณควรทำคือ สัญญาเงินกู้ค่ะ แม้ว่ามันอาจจะดูเหมือนว่าเป็นทางการกับเพื่อน ๆ ไปหน่อยก็ตาม แต่การทำแบบนี้มันจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับเงินคืน และหากพวกเขาเบี้ยวไม่ยอมใช้เงินคืนคุณ คุณก็ยังมีหลักฐานที่จะสามรรถฟ้องร้องเอาผิดกับพวกเขาได้ ดีกว่าให้ยืมไปโดยที่ไม่มีหลักฐานอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น และกลายเป็นหนี้สูญนะคะ

ใส่รายละเอียดทุกอย่างลงในสัญญาเงินกู้
สิ่งสำคัญที่สุดในการทำสัญญาเงินกู้ คือการใส่รายละเอียดทุกอย่างลงไป ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกลุ ที่อยุ่ หมายเลขบัตรประชาชน จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม วันเวลาในการใช้เงินคืน ถ้าคิดดอกเบี้ยจะมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ รวมไปถึงวิธีการคืนเงินด้วย เพราะมันดีกว่าที่จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทั้งสองคนสามารถเห็นพ้องต้องกันได้

ลงนามในสัญญาเงินกู้
หลังจากร่างสัญญาเงินกู้ สัญญานี้คงไม่มีผลทางกฎหมาย หากไม่มีการลงลายมือชื่อ ดังนั้น คุณและเพื่อนหรือญาติ รวมไปถึงพยานของทั้งสองฝ่าย (ถ้ามี) ควรลงนามในสัญญาเงินกู้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับทราบกันทั้งสองฝ่ายแล้วในการกู้เงิน ในส่วนของสัญญาเงินกู้นั้นคุณสามารถร่างได้ด้วยตัวคุณเอง หรือถ้าเงินที่ยืมมันมีจำนวนมากคุณก็สามารถให้ทนายความเป็นคนร่างสัญญาเงินกู้ให้ก็ได้ค่ะ

แล้วทำไมบางคนถึงไม่มีเงินสักที ต้องคอยยืมคนอื่นเรื่อยไป?


ไม่คิดวางแผน เรื่องเงิน
หลาย ๆ คนเกลียดการวางแผนเรื่องเงิน เพราะคิดว่ามันน่าเบื่อหน่าย บางคนอาจจะคิดว่าการวางแผนการเงินจะทำให้คุณ ไม่สามารถซื้อสิ่งที่คุณต้องการได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคือสิ่งที่ช่วยให้คุณมีอิสระทางการเงินต่างหาก เพราะเมื่อคุณทำบัญชีรายรับรายจ่าย คุณจะมองเห็นได้ชัดเจนว่า ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นสำหรับคุณ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ทำให้คุณสามารถตัดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นออกไปได้

ไม่จ่ายบัตรเครดิต
“ไม่จ่ายสักเดือนคงไม่เป็นไรหรอก เดือนนี้ภาระเยอะ” โอเค ถ้าคุณขอยืมเงินเพื่อนคุณมา แล้วขอผ่อนผันกับเพื่อนเนื่องจากค่าใช้จ่ายคุณเยอะ คงจะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่กับบัตรเครดิตถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เพราะธนาคารไม่เห็นใจคุณในเรื่องการเงินส่วนตัวของคุณหรอกนะคะ

การให้คนอื่นยืมเงินอาจจะเป็นเรื่องที่ลำบากใจ เพราะถ้าให้ยืมไปเมื่อถึงเวลาคืนเงินแต่คนยืมกลับผิดนัดก็อาจจะนำไปสู่ความแตกร้าวกันได้นะคะ และหากท่านใดอยากจะติดตามบทความและข่าวสารการเงินเพิ่มเติม ก็สามารถกด Subscribe เพื่อติดตามข่าวสารเรื่องรถยนต์และการเงินจาก MoneyGuru.co.th ได้เลยค่ะ เราจะส่งความรู้และสาระต่าง ๆ ไปให้ทางอีเมลทุก ๆ สัปดาห์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook