การลงทุนกับ Fund Flow (ตอน 1)

การลงทุนกับ Fund Flow (ตอน 1)

การลงทุนกับ Fund Flow (ตอน 1)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งแต่ต้นปีมาสื่อต่างๆ มักจะพูดถึงถึง Fund Flow เข้า เมื่อเวลาหุ้นขึ้น หรือ ถ้าหุ้นตก ก็โทษว่า Fund Flow ออก เป็นเรื่องที่ น่าค้นหาว่าคำพูดเล่านั้นจริงหรือไม่ งั้นเรามาลองทำความรู้จักในตอนนี้กับ คำว่า “Fund Flow” คือ เงินทุนที่ต่างชาติขนมาลงทุนในประเทศไทยโดยนำเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาท เพื่อไปซื้อพันธบัตร, กองทุน, หุ้น หรือลงทุนอื่นๆๆ เช่น ทองคำ น้ำมัน ที่ดิน เป็นต้น งั้น Fund Flow ต้องมีทั้งไหลเข้า และไหลออกใช่มั้ยคะ? แล้วมันจะส่งผลอะไรต่อการลงทุน ลูกหมูชวนคิดนะ

Fund Flow ไหลเข้า คือ ต่างชาติขนเงินเข้ามาประเทศไทย และแลกเป็นเงินบาท เมื่อมีการแย่งกันซื้อเงินบาทมากๆๆ ทำให้ เงินบาทเล่นตัว ค่าเงินบาทจึง แข็งค่าขึ้น ยิ่ง Fund Flow ไหลเข้ามากๆๆ ต่างชาติจะได้เงินบาทน้อยลงไปเรื่อยๆๆ ตัวอย่างเช่น

Fund Flow ไหลออก คือ ต่างชาติขนเงินออกจากประเทศไทยต้องเอาเงินบาทมาแลกเงินสกุลต่างชาติ เมื่อมีการแย่งกันขายเงินบาทมากๆๆ ทำให้ เงินบาทล้น ไม่มีใครเอา ค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าลง ถ้า Fund Flow ไหลออกมากๆๆ ต่างชาติต้องใช้เงินบาทมากขึ้นไปเรื่อยๆๆในการแลกเป็นดอลล่าร์ (งั้น!!! ใครแลกกลับบ้านก่อน ชนะเลิศนะคะ)

นั่นเราต้องเฝ้าดูค่าเงินบาท เพราะจะได้ติดตามการเคลื่อนไหวของ Fund Flow อีกทางหนึ่ง อ้าว!!! เมื่อ Fund Flow เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรคะ มีจุดสังเกตคร่าวๆๆ ดังนี้

1. ค่าเงินบาทเริ่มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นต่ำลงเรื่อยๆ เพราะแย่งกันซื้อ
ทำให้ราคาพันธบัตรพุ่งขึ้นสูง (รับดอกเบี้ยเท่าเดิม แต่ราคาสูง ผลตอบแทนจึงต่ำ)
2. หุ้นใหญ่ที่ฝรั่งชอบซื้อ และราคาถูก เช่น PTT, PTTEP, KBANK, ADVANC, AOT เป็นต้น เริ่มมีการไล่ซื้อ ทำ NEW HIGH ทุกวัน
3. ต่างชาติซื้อสุทธิทุกวัน

เรื่องราวยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะเราอยากรู้ว่า Fund Flow มาลงทุนอะไร และมานานแค่ไหน ติดตามตอนต่อไปนะคะ


ผู้เขียน : นฤมล บุญสนอง CFP®
รองกรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook