5 ข้อตกลง หากคุณต้องการ “ชีวิตดี”

5 ข้อตกลง หากคุณต้องการ “ชีวิตดี”

5 ข้อตกลง หากคุณต้องการ “ชีวิตดี”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องยอมรับว่า “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงภาพรวมความเป็นไปของชีวิต การถ่ายรูปข้าวของหรูอาหารราคาแพงโชว์สื่อsocial เรียกว่า “ชีวิตดี” จริงหรือ ? หากยังไม่มีเงินสดมาจ่าย จำต้องรูดบัตรเครดิตใช้จ่ายเงินอนาคต TerraBKK เสนอ 5 ข้อตกลง หากคุณต้องการ “ชีวิตดี” แบบที่ควรเป็นในชีวิตจริง ไม่ใช้เพียงการสร้างภาพโชว์สื่อ

ข้อตกลงที่ 1 : ดำรงชีวิตตามฐานะ

หนึ่งในข้อตกลงสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจการเงินในการใช้ชีวิตมากขึ้น คือ การใช้ชีวิตตามฐานะ ใช้จ่ายเงินให้น้อยกว่าที่หามาได้ ฟังดูเป็นประโยคเดิมๆ ไม่ได้แปลกใหม่ อย่างน้อยก็ให้รู้ไว้ว่า ชีวิตคุณจะไม่พบความโชคร้าย การครอบครองบัตรเครดิตใช้จ่ายเงินอนาคตเกินตัว ก่อหนี้ผ่อนจ่ายตามกำหนดไม่ไหว จนเสียประสิทธิภาพในการควบคุมรายรับรายจ่าย ต้นตอที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลย

ข้อตกลงที่ 2 : เห็นความสำคัญของเวลา

ข้อจำกัดที่ทุกคนกำลังเผชิญหน้า น่าแปลกใจที่หลายคนกลับมองเห็นว่ามันไม่ใช่ข้อจำกัด นั้นคือ เวลา นี่ข้อแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของทัศนคติคนทำงานทั่วไปกับคนรวย การกำหนดขอบเขตเวลาชัดเจน จะทำให้การทำงานหรือการเรียนรู้สิ่งนั้นเข้มข้นขึ้น กระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างเป็นระบบ ต้องทำอะไรก่อนหลัง เกิดคำถามที่ต้องหาคำตอบตลอดเวลา มันจะทำให้คุณไม่มีเวลาวอกแวกไปกับเรื่องราวอื่น และนั้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการ คือ มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และ มีเวลาเหลือเพิ่มขึ้น ข้อตกลงที่

3 : รู้จักคุณค่าเงินจนเป็นนิสัย

คุณค่าเงิน ยังคงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายคนเลือกไม่ใส่ใจ ตราบใดที่ยังคงหาเงินได้ ก็ยังใช้เงินซื้อความสุขต่างๆต่อไป นั้นทำให้คุณไม่สามารถนำตัวเองออกจากวงจรมนุษย์เงินเดือนได้ ดังนั้น การตระหนักเห็นคุณค่าของเงิน จะทำให้คุณรู้สึกไม่อยากจ่ายซื้อความสุขเพียงชั่วคราว คุณจะเริ่มคิดได้ แล้วอยากนำเงินที่หาได้จากแรงกาย ไปอยู่ในที่ที่มันควรจะอยู่มากกว่า เงินของคุณควรอยู่ในรูปทรัพย์สินที่ก่อเกิดรายได้กลับคืนมา มากกว่าการซื้อชุดสวย, กระเป๋าใบเก๋ หรืออาหารหรู ที่ไหลเข้ากระเป๋าเป็นรายได้คนอื่น เคล็ดลับคนรวย ยิ่งจ่าย ยิ่งรวย ?

ข้อตกลงที่ 4 : สำรองเงินเพื่อความปลอดภัย

ชีวิตเป็นเรื่องไม่มีความแน่นอน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น กันไว้ดีกว่าแก้ โดยการตั้งจำนวน เงินทุนสำรองฉุกเฉินเท่ากับค่าใช้เฉลี่ยรายเดือนสัก 3-6 เดือน เพื่อสร้างความปลอดภัยทางการเงินของคุณ กรณีมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล , รถเสีย , ถูกไล่ออก เป็นต้น อย่างน้อยคุณก็ยังมีเงินสำรอง ช่วยให้ชีวิตรอดพ้นจากวิกฤติ และมีเงินใช้จ่ายราวครึ่งปี เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิต หรือการเริ่มต้นชีวิตใหม่

ข้อตกลงที่ 5 : สร้างเครดิตจากประวัติการใช้จ่าย

Credit Bureaus หรือ เครดิตบูโร คือ หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของบุคคลจากสถาบันการเงินต่างๆ แน่นอนว่า ประวัติที่ดีย่อมทำให้การยื่นเรื่องขอกู้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะมันแสดงว่าคุณจะเป็นลูกหนี้ที่ดีของเขาได้ ซึ่งปัจจัยที่ธนาคารนำมาวิเคราะห์และประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้ ได้แก่ “หลักเกณฑ์ 5’C” รายละเอียดมีดังนี้

1. Character คือ ความน่าเชื่อถือของผู้กู้ กรณีเป็นบุคคล สังเกตุจากประวัติส่วนตัวของผู้กู้ เช่น อายุ ,อาชีพ ,รายได้ ,สถานภาพ เป็นต้น กรณีเป็นนิติบุคคล สังเกตจากประวัติกิจการและผู้บริหารหลัก เช่น รูปแบบกิจการ ,ความเชื่ยวชาญในสายธุรกิจ ,อุปนิสัยผู้บริหารหลัก ,นโยบายและประวัติการชำระหนี้ เป็นต้น

2. Capacity คือ ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืน(ดอกเบี้ยและเงินต้น)ได้ตามกำหนด โดยทั่วไปธนาคารพิจารณาจากรายได้หลัก แนวโน้มการเติบโตของรายได้ ภาระหนี้สินปัจจุบัน และแผนการใช้จ่าย เป็นต้น

3. Capital คือ เงินทุนหรือสินทรัพย์ผู้กู้ ยิ่งมีสัดส่วนเงินทุนตนเองสูงเท่าไหร่ ธนาคารยิ่งลดความเสี่ยงลงเท่านั้น เพราะเป็นกิจการพึ่งพิงตนเองสูง มั่นใจการในการทำธุรกิจ กล้าใช้เงินทุนตนเองมากกว่าที่จะหวังพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคารเพียงอย่างเดียว

4. Collateral คือ หลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน เป็นการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารได้ กรณีผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด โดยธนาคารจะดำเนินการให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน หรือนำหลักประกันมาขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนด

5. Conditions คือ เงื่อนไขต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ ปัจจัยภายนอก ,ปัจจัยภายใน ,เงื่อนไขและข้อกำหนดของเงินกู้ –เทอร์ร่า บีเคเค

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook