มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! อยากมีเงินเก็บ 20 ล้านหลังเกษียณ วางแผนยังไง ?

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! อยากมีเงินเก็บ 20 ล้านหลังเกษียณ วางแผนยังไง ?

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! อยากมีเงินเก็บ 20 ล้านหลังเกษียณ วางแผนยังไง ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ท่ามกลางสังคมในยุดปัจจุบันที่ทุกอย่างมีการอำนวยความสะดวกมากมาย เทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยให้เราจัดการเรื่องต่างๆในชีวิตเราให้มีระบบระเบียบในการวางแผนการในแต่ละวัน เดือน หรือปี ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงาน การวางแผนนัดพบลูกค้า การวางแผนออกกำลังกาย หรือ ว่างแผนที่จะไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในชีวิตของมนุษย์เดือน รวมเป็นถึงผู้ประกอบการและทุกคนๆ นั้นก็คือเรื่องของการวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับอนาคตแต่เรากลับมองข้าม เราต้องเริ่มทำให้เร็วที่สุดเพราะอะไรนั้นผมจะยกตัวอย่างให้ดูครับ


เมื่อเราเริ่มคิดที่จะออมเงินในแบบฉบับมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไปนั้น เรามักจะคิดว่าเราต้องให้ถึงสิ้นเดือนก่อนแล้วเหลือเงินเท่าไรค่อยฝากเข้าเป็นเงินเก็บในบัญชีธนาคาร โดยส่วนใหญ่จะทำไม่ค่อยได้และไม่ค่อยที่จะมีเหลือเก็บถึงสิ้นเดือนด้วยซ้ำซึ่งผมก็เป็นคนส่วนใหญ่ที่พอถึงสิ้นเดือนมักไม่ค่อยมีเงินเหลือเก็บเช่นกัน เนื่องมาจากผมนั้นยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเก็บเงินและยังเป็นเรื่องที่ไกลตัวอีกด้วย แต่ด้วยกระแสของตลาดหุ้นที่ร้อนแรงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ผมเริ่มสนใจในตลาดหลักทรัพย์และได้เริ่มเข้ามาสนเรื่องการวางแผนทางการเงิน

โดยทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ผมจะขอพูดถึงการวางแผนทางการเงินก่อนแล้วจะนำเสนอว่าเกี่ยวข้องกับการลงทุนในหุ้นยังไงครับ โดยทั่วไปเมื่อเราคิดจะออมเงินเราต้องมักจะคิดถึงตอนที่เราเกษียณแล้วเนื่องจากเราจะไม่มีรายได้จากการทำงาน โดยสมมุติว่าผมอายุ 25ปี ต้องการมีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือนหลังอายุ 60 ปี เดือนละ 20,000 บาท จนกระทั้งอายุ 90 ปี ผมจะต้องมีเงินเก็บ 7,200,000 บาท


แต่ว่าในความเป็นจริงนั้นข้าวของแต่ละอย่างที่เราซื้อจะมีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่นเราเคยซื้อข้าวจานละ 20 บาท ปัจจุบันเราซื้อจานละ 30 บาท ซึ่งนี้เป็นผลมาจากค่าเงินที่เราเรียกว่า เงินเฟ้อ ดังนั้นมูลค่าของเงินที่เราจะต้องเก็บจะต้องมีมูลค่ามากขึ้นตามค่าเงินที่เฟ้อ โดยใช้อัตราเงินเฟ้อ 3% ซึ่งหมายความว่าผมจะต้องมีเงินตอนอายุ 60 เป็นเงิน 20.3 ล้านบาท!!!!


แค่เห็นตัวเลขจากการคำนวณ ก็ไม่อยากที่จะคิดเรื่องการเก็บเงินต่อแล้วใช่ไหมละครับเพราะตัวเลขที่คิดขึ้นมาได้นั้นมันเยอะมากจนกระทั้งไม่อยากที่จะคิดปล่อยให้ตัวผมในอนาคตเป็นคนจัดการ แต่มันเป็นแค่แผนการคราวๆทำให้เรามีเป้าหมายเพราะเงินจำนวนนี้หมายถึงเราใช้อย่างเดียวโดยไม่เอาเงินจำนวนนี้ไปทำอะไรเลย แต่ในชีวิตจริงเราอาจจะให้เงินส่วนนี้ทำอะไรเพื่อเงินหมุนเวียนก็เป็นได้อย่างน้อยก็ฝากแบงค์ยังได้ดอกเบี้ย ที่นี้เราลองมาคำนวณหาวิธีการเก็บเงิน


การคิดการเก็บแบบนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์เงินเดือนธรรมดาอย่างผมจะสามารถเก็บเงินได้เดือนละเกือบ 50,000 บาท
ผมเลยต้องไปหาวิธีการเก็บเงินด้วยวิธีอื่นที่มีผลตอบแทนแบบต่างๆ เพื่อจะได้ลดระยะเวลาในการเก็บเงิน

จากตารางผลตอบแทนการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์จะทำให้เรารู้ได้ว่า การออมเงินด้วยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นการซื้อทองเก็บเอาไว้ การฝากเงินธนาคาร หรือว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และการลงทุนในหุ้นในตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเท่าไรกันบ้าง ซึ่งเมื่อเห็นผลตอบหลังจากหักอัตราเงินเฟ้อแล้วจะทำให้เรารู้ได้ว่าการฝากเงินกับธนาคารนั้นให้ผลตอบแทนที่ติดลบไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่สุด ส่วนผลตอบแทนที่ดีที่สุดนั้นก็คือตลาดหุ้น ดังนั้นในผลจึงสนใจในการเลือกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ผมจึงลองเอาผลตอบแทนต่างๆมาคำนวณใหม่อีกครั้งเพื่อที่จะหาเงินเก็บต่อเดือนว่าควรเป็นเท่าไร เพื่อที่จะได้เงินจำนวน 20,259,809 บาท ภายในเวลา 35 ปี

จะเห็นได้ว่าถ้าที่ระดับผลตอบแทนต่างๆนั้น เงินที่ใช้สำหรับการออมเพื่อการลงทุนนั้นแต่ต่างกันมาก ซึ่งถ้าในระดับผลตอบแทนเฉลี่ยเท่าตลาดหลักทรัพย์นั้น ดูพอจะทำให้การวางแผนออมเงินสำหรับการเกษียณของผมนั้นผมจะเป็นจริงขึ้นมาได้เพราะผมจะใช้เงินสำหรับการลงทุนต่อเดือนเพียงเดือนละ 782 บาทต่อเดือน แต่ในอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กับผลตอบแทนที่ได้จากลงทุนนั้นก็คือระยะเวลาสำหรับการลงทุน


ซึ่งถึงแม้ว่าผลตอบแทน(17%ต่อปี) ที่ได้เท่ากัน แต่เมื่อระยะเวลาแตกต่างกันจำนวนเงินที่ใช้ออมสำหรับการเกษียณนั้นก็แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ดังการเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นจะทำให้การวางแผนต่อการเกษียณของเรานั้นเป็นไปง่ายมากขึ้นครับ  เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยได้เริ่มลองผิดลองถูกกับการลงทุนดีกว่าไปเรียนรู้ความผิดพลาดเมื่อตอนใกล้เกษียณครับ สุดท้ายผมเคยได้เห็นข้อความหนึ่งให้แง่คิดดีครับ “ไม่มีใครวางแผนให้ชีวิตล้มเหลว แต่ที่ชีวิตล้มเหลวเพราะไม่ได้วางแผน”

 

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook