มีเงินก้อนนี้ไว้ ไม่มีจน
TryingToRetire Guest Writer
การใช้ชีวิตในแต่ละวันผมเชื่อว่า ปัญหาที่เจอบ่อยที่สุดในการใช้ชีวิตเลย ก็คือ ทำไมเงินมันไม่ค่อยมีตอนที่เราจำเป็นต้องใช้ ?
นั้นเรามาดูกันว่าทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้
คำตอบนั้นก็คือเราก็ต้องมีเงินสำรองไว้เสมอ ถูกไหมครับ :) แล้วจะต้องมีเท่าไรดีละถึงเรียกว่าพอ
มีมากไปก็ไม่ดีเก็บอย่างเดียวไม่ได้ใช้เงินเลยก็ไม่ไหวเดี่ยวไม่มีความสุข มีน้อยไปก็แย่ถึงเวลาจำเป็นก็ไม่พอใช้
ถ้าอย่างนั้นเรามาลองคำนวณกันว่าเท่าไรถึงจะพอดี
ก่อนอื่นเลยเงินก้อนนี้ขอเรียกว่า “เงินฉุกเฉิน”
ก่อนจะไปต่อ มีคำถามมาถามอีกแล้วเพื่อให้เห็นความสำคัญของเงินก้อนนี้มากขึ้นไปอีก
ขอถามว่า … กู้เงินใครได้ดอกเบี้ยน้อยที่สุดและที่สำคัญเค้าให้กูเสมอเลย ?
ให้เวลาคิด 10 วินาที …
เฉลย กู้เงินตัวเองเนี่ยแหละดีที่สุด :)
สรุปให้อีกที “เงินฉุกเฉิน” ก็คือ เงินที่เราเอาไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินนั้นเอง แปลตรงตัวสุดๆ แล้วอะไรบ้างที่เรียกว่าฉุกเฉิน คิดง่ายๆเลยคือว่า ถ้าไม่เอาเงินมาใช้มีปัญหาชีวิตแน่นอน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ตกงานไม่มีเงินใช้
มาถึงตรงนี้อยากให้ลองถามตัวเองดูว่า ถ้าวันนี้ตกงาน เงินเก็บที่มี(ถ้ามี) สามารถใช้จ่ายดำรงค์ชีวิตไปได้กี่วัน/เดือน/ปี ?
ถ้าคำตอบมากกว่า 3 เดือน ก็ขอยินดีด้วย คุณมีเงินก้อนนี้แล้ว
ถ้าใครยังไม่มีหรือ ยังไม่แน่ใจเรามาดูกันว่า เงินฉุกเฉิน ที่ว่าต้องมีเท่าไรถึงจะพอ สูตรในการคิด นั้นง่ายมากๆ คือ
เงินฉุกเฉิน = ค่าใช้จ่ายต่อเดือนทั้งหมด * 3 หรือ 6
เช่น ค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้แก่
1. ค่าอาหาร วันละ 300 = 9,000 บาท
2. ค่าผ่อนรถ เดือนละ = 7,000 บาท
3. ค่าเดินทาง วันละ 200 = 6,000 บาท
รายจ่ายต่อเดือนจะเท่ากับ 9,000+7,000+6,000 = 22,000 บาท
จากตัวอย่างนี้จะขอคำนวณที่ 3 เดือนพอเพราะคิดว่า 3 เดือนน่าจะพอหางานใหม่ได้แล้ว ดังนั้น เงินฉุกเฉิน ที่ต้องมีจะเท่ากับ 22,000 * 3 = 66,000 บาท แปลง่ายๆว่า ถ้าตกงานวันนี้ คุณสามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติได้ 3 เดือน ในระหว่างหางานใหม่
มาถึงตรงนี้บางคนถอดใจไปแล้ว ว่าจะให้เก็บเงินให้ถึง 66,000 บาทมันยากมากเลยนะ ถ้าใครคิดแบบนั้นก็ขอให้ท่องประโยคนี้ไว้เลยนะว่า
“ถ้าเงินแค่ 66,000 ยังเก็บไม่ได้ ก็ไม่ต้องคิดถึงคำว่ารวยหรือมั่งคั่งไปเลย”
เรื่องสุดท้ายสำหรับเงินฉุกเฉิน จะเรียกว่ากฎเหล็กเลยก็ได้ก็คือ
1. ห้ามเอาเงินก้อนนี้ออกไปใช้ถ้าไม่ฉุกเฉินจริงๆ
2. ถ้าเอาออกไปใช้ ให้หาทางเอามาใส่คืนด้วย
3. ถ้าค่าใช้จ่ายต่อเดือนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีผ่อนบ้านเพิ่มเข้ามา เงินฉุกเฉินต้องเพิ่มขึ้นมานะ
เงินก้อนนี้ให้เก็บไว้ในออมทรัพย์เพื่อสามารถเอามาใช้ได้เมื่อจำเป็นนะ เงินก้อนนี้จะไม่เน้นผลตอบแทน แต่มีเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเป็นหนี้คนอื่น ถ้ามีเงินก้อนนี้ไว้ ไม่มีจนแน่นอน เพราะ เราจะมีเงินใช้ตลอดยามฉุกเฉิน
บทความนี้ขอจบแค่นี้ก่อน การเดินทางเพื่อเกษียณยังอีกยาวไกลแต่ ถ้าไม่มีก้าวแรก ก็ไม่มีก้าวสุดท้ายนะครับ
เนื้อหาทั้งหมดที่แสดงบนเว็บไซต์นี้ อันได้แก่ บทวิเคราะห์ คำแนะนำ หรือความคิดเห็นใดๆ เป็นบทวิเคราะห์ คำแนะนำ หรือความคิดเห็นของ Guest Writer หรือ นักเขียนรับเชิญ เท่านั้น การที่เนื้อหานั้นปรากฏบนเว็บไซต์ AomMoney.com มิได้เป็นการแสดงเว็บไซต์นี้เห็นพ้องหรือยอมรับบทวิเคราะห์ คำแนะนำหรือความคิดเห็นนั้นแต่อย่างใด