กะเทาะเปลือกความในใจของผู้สูงวัยที่ลูกหลานอาจไม่เคยรู้

กะเทาะเปลือกความในใจของผู้สูงวัยที่ลูกหลานอาจไม่เคยรู้

กะเทาะเปลือกความในใจของผู้สูงวัยที่ลูกหลานอาจไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ตอนสมัยที่ยังเป็นหนุ่มสาววัยทำงานอยู่ เคยคิดกันไว้ล่วงหน้าไหมว่า เมื่อถึงวันที่เราเข้าสู่วัยที่เรียกว่า “ผู้สูงวัย” จริงๆ เราจะรู้สึกแบบไหน

     เรื่องที่เคยกังวลในวัยเลข 2 หรือ 3 พอถึงวันที่มีเลข 5 หรือเลข 6 นำหน้า ก็กลายเป็นเรื่องที่เคยชินไป อย่างเรื่องผมหงอกที่เคยทำให้กังวลแทบแย่ว่าจะทำผมแบบไหนไม่ให้เห็นชัด ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเมื่อถึงวันที่ส่องกระจกทีไรก็เห็นแต่ผมหงอกมากกว่าผมดำ

     ถึงแม้ว่าความกังวลเดิมๆ จะลดลงไป ความกังวลใหม่ๆ ก็เข้ามาแทนที่พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น บางครั้งก็สะสมจนกลายเป็นความรู้สึกไม่สบายใจที่ไม่กล้าบอกลูกหลาน จนต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า มีเรื่องใดบ้างที่เป็นความกังวลของวัยนี้ที่ต้องหาทางปรับใจและหาวิธีรับมือที่เหมาะสม

     - รู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ
     เชื่อเถอะว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่ยากที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกนี้ได้ การที่วันหนึ่งเรื่องง่ายๆ ที่เคยทำได้ในชีวิตประจำวันก็กลายเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ อย่างแค่เรื่องยกของหนักๆ ที่ไม่เคยต้องการความช่วยเหลือจากใคร ก็กลายเป็นต้องนั่งรอให้ลูกหลานมาช่วย เรื่องเล็กๆ ในสายตาคนรอบตัวแบบนี้นี่เองที่ทำให้คนวัยเรารู้สึกอ่อนแอเอาได้ไม่ยาก

     - กลัวการรีไทร์
     เคยคิดเอาไว้ว่าชีวิตไม่ต้องตื่นเช้าไปทำงานทุกวันจนเป็นวงจรชีวิตน่าจะเป็นชีวิตที่สบาย แต่เอาเข้าจริงพอวันนั้นใกล้จะมาถึงก็เกิดความรู้สึกเคว้งคว้างขึ้นมาล่วงหน้า กลัวว่าตัวเองจะกลายเป็นคนหมดคุณค่า ไม่เป็นที่ต้องการ ไม่อยากเป็นคนไร้ค่าในสายตาลูกๆ

     - สูญเสียความมั่นใจ



     ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายคือเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จากที่เคยรักษารูปร่างมาได้ค่อนชีวิต แต่วัยนี้ต่อให้กินเท่าเดิม ร่างกายก็เผาผลาญไม่เหมือนเดิม ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าผิวหนังหย่อนคล้อย รูปร่างที่เปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่คนในวัยนี้ต้องเจอเหมือนกัน แต่ก็พอถึงเวลาที่เจอเข้าจริงๆ ก็ทำให้ความมั่นใจสวนทางกับวัยที่มากขึ้น

     - ปัญหาสุขภาพ
     ความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่เคยเป็นเรื่องเล็กก็กลายมาเป็นความกังวลเมื่อถึงวัยนี้ กลัวว่าจะเรื้อรัง กลัวว่าจะไม่หาย และกลัวว่าจะกลายไปเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงขึ้น แต่ครั้นจะให้บอกลูกหลานทุกอย่างก็เกรงว่าจะไปรบกวนเวลาของพวกเขา ทั้งยังกังวลกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่เหมือนกับเป็นการผลักภาระให้ลูกๆ โดยที่ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น

     ถ้าคุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงความกังวลเหล่านี้ในบางเรื่องหรือทั้งหมด รู้ไว้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกแบบนั้น แต่แทนที่จะคิดวนเวียนไปมาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เราควรหาวิธีจัดการกับความกังวลดังกล่าวเพื่อให้เราพร้อมที่จะใช้ชีวิตสูงวัยได้อย่างสบายใจ แต่ไม่ลืมที่จะระมัดระวัง โดยเรามีคำแนะนำมาฝากดังนี้

     - ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เรื่องนี้รวมถึงการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะไม่เคยมีใครบอกว่าคนวัย 50 ขึ้นไป จะออกกำลังไม่ได้ เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกกีฬาที่เหมาะกับสภาพร่างกายและจัดเวลาให้เหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป

     - หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี นอกจากจะตรวจให้เป็นกิจวัตรประจำปีแล้ว ควรตรวจให้ละเอียดขึ้นยิ่งกว่าวัยหนุ่มสาว ตรวจให้ครบทุกระบบ เพื่อให้จับสัญญาณอันตรายได้ก่อนที่จะสายเกินไป

     - พัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ บอกตัวเองไว้ว่าเราไม่ได้เรียนรู้เพื่อให้เก่ง แต่เพื่อให้สมองของเรายังทำได้งานและเป็นสีสันในชีวิต เพราะฉะนั้นถึงจะเรียนรู้ช้าไปบ้างก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องกดดันตัวเอง

     - ไม่กลัวกับคำว่า “แก่” เราพยายามที่จะไม่ใช่คำว่า “แก่” ในบทความนี้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เราอยากบอกก็คือไม่จำเป็นจะต้องกลัวคำคำนี้ เพราะไม่มีใครหลีกเลี่ยงสภาวะนี้ได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเข้าใจความแก่และอยู่กับมันได้ดีแค่ไหนมากกว่า จะเอาคำเพียงพยางค์เดียวมาบั่นทอนความรู้สึกตัวเองไปทำไม

     นอกจากสิ่งเหล่านี้ที่เราสามารถเตรียมตัวเพื่อก้าวเป็นผู้สูงวัยอย่างมั่นใจแล้ว การหาหลักประกันเพื่อความมั่นคงของชีวิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งน่าจะดีกว่าหากเราสามารถเลือกทำประกันเพื่อผู้สูงอายุที่ไม่ต้องกังวลเรื่องของปัญหาสุขภาพ อย่างประกันชีวิตผู้อาวุโสโอเค (เพื่อผู้สูงอายุ)
     - รองรับความต้องการสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการสมัครในระหว่างอายุ 50 – 70 ปี
     - เริ่มต้นเบี้ยประกันเพียงวันละ 6 บาท
     - ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต โดยมีวงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาท
     - สามารถสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ

     ชีวิตบั้นปลายจะมีความสุขแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเตรียมตัวให้พร้อมทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เราหลีกเลี่ยงสังขารที่เปลี่ยนไปตามวัยไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับมัน

     ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตผู้อาวุโสโอเค (เพื่อผู้สูงอายุ) ได้ ที่นี่



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook