4 คู่มือเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ เพื่อให้มีเงินเก็บสำรอง
คนไทยเราเป็นคนที่ใช้เงินเก่งนะคะ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะทำอะไร จะไปทางไหล ล้วนแล้วแต่มีเรื่องให้ต้องเสียกันทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐาน อย่างเช่น อาหาร ค่าเช่าคอนโด ค่ารถ ค่าสมาชิกฟิตเนส หรือค่าของขวัญ!! ดังนั้น การใช้จ่ายเงินจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเงินเช่นนี้เราจะไม่มีทางรู้เลยว่า เมื่อไรที่เราจะเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา แล้วต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้น วันนี้ MoneyGuru.co.th จะพาคุณผู้อ่านไปดูคู่มือในการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ เพื่อให้มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินกันดีกว่าค่ะ
ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ก่อนที่คุณจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพื่อการเก็บเงินที่มากขึ้น เราอยากจะให้คุณคิดเกี่ยวกับการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของคุณก่อน เพราะการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น มันเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณเก็บเงินได้ค่ะ
ปรับงบประมาณค่าอาหาร
คุณควรเอาสิ่งที่มีคุณภาพ ใส่เข้าไปในร่างกายของคุณ สิ่งที่มีคุณภาพที่ว่านี้ คือสารอาหารและวิตามินที่สำคัญ ถ้าคุณทานแต่อาหารขยะทุกวัน นอกจากมันจะไม่มีสารอาหารแล้ว มันยังมีราคาแพงกว่าอาหารปกติทั่วไปอีกด้วยนะคะ นอกจากนี้ คุณอาจจะคิดว่าอาหารที่คุณทานไปนั้นมีประโยชน์แล้ว แต่ที่จริงมันอาจจะเจือปนไปด้วยสารพิษก็เป็นได้
ดังนั้น คุณควรทำให้แน่ใจว่าคุณทานอาหารที่ดี และมีราคาไม่แพงมากนัก อีกวิธีหนึ่งที่คุณจะได้ทั้งสารอาหารที่ดีและราคาไม่แพง คือการทำอาหารทานเองที่บ้านค่ะ หากคุณไม่ทราบวิธีการปรุงอาหาร คุณควรเริ่มต้นเรียนรู้การทำอาหารด้วยตัวเอง เพราะคุณไม่สามารถจะประหยัดเงินได้ จนกว่าคุณจะรู้วิธีการทำอาหารด้วยตัวเองค่ะ
บันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณ
ส่วนใหญ่เวลาที่เราจะทำการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม เราควรทำการบันทึกสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้วจริง ๆ อาจจะเป็นการหากระปุกออมสินมาไว้ใส่เหรียญหรือเก็บเงิน หรือการฝากเงินทุกเดือนแล้วจดบันทึกเอ่ไว้ เป็นต้น
อย่าซื้อของกินในขณะที่หิว
การไปช้อปปิ้งร้านขายของชำในขณะที่คุณกำลังหิวนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะท้ายที่สุดแล้วคุณจะใช้จ่ายไปกับอาหารเกินกว่าที่คุณคิด อีกทั้งคุณยังมีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารขยะในขณะที่คุณหิวอีกด้วย เพราะอาหารขยะมันหาซื้อง่ายมาก
ดังนั้น คุณไม่ควรมุ่งหน้าไปที่ร้านอาหารในขณะที่คุณยังหิวไม่มาก เพราะความหิวเพียงนิดเดียวนั้น สามารถทำให้คุณตัดสินใจซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นด้วยว่า ความหิวมีผลกระทบต่อการซื้อสินค้าที่ไม่ใช่อาหารด้วย เช่น เสื้อผ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
และหากคุณต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงิน บัตรเครดิต รถยนต์ และประกันรถยนต์ คุณสามารถกด Subscribe ทีนี่ได้เลยค่ะ MoneyGuru.co.th จะส่งสาระความรู้ดี ๆ แบบนี้ตรงถึงอีเมลของคุณทุก ๆ สัปดาห์