4 วิธีในการจัดการรายจ่ายของบ้าน
กว่า 40% ของชาวไทยที่มีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งการเป็นเจ้าของบ้านใหม่นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งข้อเสียที่ว่าก็คือมันมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่คุณอาจจะต้องเสียไป จนคุณอาจจะเกิดความคิดขึ้นมาว่าการเสียเงินไปกับบ้านใหม่ครั้งนี้ เป็นอุปสรรคทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่คุณเคยเผชิญมาเลยทีเดียว แต่ต่อไปนี้คุณไม่ต้องห่วงแล้วค่ะ เพราะวันนี้ MoneyGuru.co.th มีวิธีในการจัดการรายจ่ายของบ้านมาฝากค่ะ
1 สร้างงบประมาณใหม่
มันอาจจะดูเหมือนว่าคุณไม่ต้องปรับงบประมาณของคุณอีกแล้ว แต่การสร้างงบประมาณใหม่นั้นย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่าแน่นอน เพราะตอนนี้คุณอาจพบว่าค่าใช้จ่ายภายในบ้านใหม่ของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น คุณเพิ่งย้ายจากอพาร์ทเม้นสองห้องไปบ้านใหม่ที่มีเนื้อที่ 2,000 ตารางฟุต แน่นอนว่าคุณจะต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นั่นก็ย่อมเท่ากับว่าคุณมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิม
2 ติดตามค่าใช้จ่าย
ดังนั้นตอนนี้คุณควรใช้เวลาในการติดตามค่าใช้จ่าย และปรับปรุงงบประมาณของคุณ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ของการใช้ชีวิตในบ้านหลังใหม่ของคุณ คุณอาจจะคิดว่าคุณกำลังใช้จ่ายมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งในกรณีนี้คุณจะต้องปรับประเภทค่าใช้จ่ายที่มีความยืดหยุ่น เช่น งดเที่ยว ทานอาหารในบ้านแทนการไปทานข้าวนอกบ้าน เป็นต้น
3 เตรียมความพร้อม
เตรียมความพร้อมในที่นี้หมายถึง เตรียมความพร้อมเรื่องเงิน ที่คุณจะต้องใช้จ่ายในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาบ้านในอนาคตที่จะเกิดขึ้น คุณอาจทราบดีว่าคุณจะใช้จ่ายเงินในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านของคุณเท่าไร แต่คุณอาจจะไม่ทราบว่าครั้งที่คุณต้องซ่อมแซมและบำรุงรักษาบ้านนั้นกี่ครั้ง อย่างไรก็ดี เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ใช้มักจะใช้เงิน 1% ถึง 4% ของมูลค่าบ้านของพวกเขา ในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาบ้านในแต่ละปี
4 เตรียมเงินในการซ่อมแซม
ดังนั้น หากบ้านของคุณมีมูลค่า 3 ล้านบาท คุณควรเตรียมเงินในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาบ้านประมาณ 3 หมื่นบาทต่อปี และถ้าคุณต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบางอย่างภายในบ้าน เช่น เปลี่ยนหลังคาบ้าน หรือเพิ่มห้องภายในบ้าน คุณก็ควรจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายที่สูงยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรมีเงินฝากออมทรัพย์สำหรับการซ่อมแซมบ้านของคุณ
การจัดการรายจ่ายของบ้าน นับว่าเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านทั้งหลายสมควรทำเป็นอย่างยิ่งนะคะ เพื่อคุณจะได้ไม่มีปัยหาทางการเงินในอนคต และอยู่บ้านของคุณได้อย่างสบายใจค่ะ และหากคุณต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงิน บัตรเครดิต รถยนต์ และประกันรถยนต์ คุณสามารถกด Subscribe ทีนี่ได้เลยค่ะ MoneyGuru.co.th จะส่งสาระความรู้ดี ๆ แบบนี้ตรงถึงอีเมลของคุณทุก ๆ สัปดาห์