ทบทวน “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” จังหวัดที่ไม่ได้ปรับ1-2 บาท

ทบทวน “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” จังหวัดที่ไม่ได้ปรับ1-2 บาท

ทบทวน “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” จังหวัดที่ไม่ได้ปรับ1-2 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธาน สอท. ระบุคณะกรรมการค่าจ้างเตรียมทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำให้กลุ่มที่ไม่ได้ปรับขึ้น 8 จังหวัด 1-2 บาท ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ แต่ไม่ช่วยเศรษฐกิจและการบริโภคขยายตัว


วันที่ 29 ต.ค.259 นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยถึงมติคณะกรรมการค่าจ้างเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 ปีหน้า 5-10 บาทต่อวัน ใน 69 จังหวัด และไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอีก 8 จังหวัด นั้นเห็นว่าเป็นอัตราที่ภาคเอกชนรับได้ เนื่องจากเป็นไปตามข้อเสนอของภาคเอกชนที่ขอให้ทางคณะกรรมการค่าจ้างไม่ควรขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ เพราะภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ความสามารถของแรงงาน และความต้องการแรงงานในแต่ละพื้นที่ของผู้ประกอบการแตกต่างกัน

ทั้งนี้ยอมรับว่าอัตราดังกล่าวอาจมีการปรับปรุงใหม่ในกลุ่มจังหวัดที่ไม่ได้พิจารณาปรับขึ้น 8 จังหวัด เพราะได้มีการเรียกร้องจากฝ่ายแรงงานไปยังนายกรัฐมนตรี ทำให้คณะกรรมการค่าจ้างต้องกลับมาหารือกัน เชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นได้เล็กน้อย 1-2 บาท ส่วนผลกระทบกับธุรกิจเอสเอ็มอียอมรับว่าอาจมีผลกระทบต่อต้นทุนบ้าง ส่วนผลต่อราคาสินค้าอุตสาหกรรมนั้นไม่ปรับขึ้นแต่เป็นห่วงว่าจะทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้น จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาควบคุมดูแลในเรื่องนี้

ด้านบทวิเคราะห์ของบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่นี้ที่จะมีผลบังคับใช้ปีหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 น่าจะเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อยได้ส่วนหนึ่ง หลังจากไม่ได้ปรับมาเป็นระยะเวลา 3 ปีอยู่ที่ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ แต่จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตภาคการผลิตและภาคการค้าและบริการในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และในภาคก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ส่วนผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2560 สูงขึ้นร้อยละ 0.03 และทำให้การบริโภคภาคเอกชนและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่มาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook