DW หรือ Derivative Warrants คืออะไร

DW หรือ Derivative Warrants คืออะไร

DW หรือ Derivative Warrants คืออะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

DW เป็นวอร์แรนต์ ( Warrant : ใบสำคัญแสดงสิทธิ ) ชนิดหนึ่ง ซื้อขายบนกระดานหลักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2552 มีคำถามยอดฮิต สำหรับมือใหม่ มาเล่าสู่กันฟังง่ายๆๆ

1.DW คืออะไร

DW คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหุ้นอ้างอิง (ในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนดในอนาคต) โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม อาจพูดง่ายๆ ว่า DW มีลักษณะเหมือน Warrants ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีความแตกต่างกันที่ผู้ออก ไม่ใช่เจ้าของบริษัทหุ้น เหมือนกับ Warrant ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตราสารอนุพันธ์
2. มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และมีอัตราเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อหนี้สิน ทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 7
3. มีอันดับความน่าเชื่อถือ ตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป
4. ไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
5. ไม่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้จากการใช้สิทธิ DW
6. ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม ไม่อยู่ในรายชื่อควบคุมของสำนักงาน ก.ล.ต.

2. ชื่อย่อสัญญา

 ivs1

 

600x600_DW

 

หมายเหตุ
1. กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อสั้นกว่า 4 ตัวอักษร ใช้ชื่อนั้นได้เลย เช่น PTT
กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อยาวกว่า 4 ตัวอักษร ให้คงไว้เฉพาะอักษร 4 ตัวแรก เช่น หุ้น BANPU จะใช้เพียง BANP
2. 01 หมายถึงผู้ออก DW โดยใช้เลขสมาชิกของโบรกเกอร์ เช่น บล.บัวหลวง = 01, บล.เคจีไอ = 13 เป็นต้น
3. C หมายถึงประเภทของ DW โดย
    C หมายถึง Call DW สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิง
    P หมายถึง Put DW สิทธในการขายหุ้นอ้างอิง
4. A หมายถึงรุ่นที่ออก (Series) โดยใช้สัญลักษณ์ A-Z


3. ซื้อขายอย่างไร

♦ เสนอขายตรงต่อประชาชนทั่วไป หรือ IPO การซื้อด้วยวิธีนี้จะทำเหมือนกับการจองซื้อหุ้นใหม่
♦ การซื้อขาย DW ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง DW จะถูกจัดไว้ในหมวดใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

4. ความเสี่ยงในการซื้อขาย DW

ความเสี่ยงอยู่ที่ ผู้ออกและเสนอขาย (issuer) ของ DW นั้น เนื่องจากเป็นบุคคลที่สามที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น แต่มีภาระที่จะต้องรับผิดชอบในการส่งมอบชำระเงินส่วนต่างให้แก่ผู้ลงทุนที่ใช้สิทธิ หาก issuer มีฐานะการเงินไม่ดี ส่งผลต่อผู้ลงทุนอาจเสี่ยงต่อการไม่ได้รับเงิน นะคะ

5. การส่งมอบ

DW ส่งมอบเป็นเงินสด ตามอัตราใช้สิทธิแต่ละตัว ไม่สามารถแปลงสิทธิเป็นหุ้นแม่ได้
อ่านจบเข้าใจ จับใจ ถ้าต้องการจับต้องได้ ต้องศึกษาข้อมูลตอนต่อไปนะคะ รักแล้วรอหน่อย ห้ามพลาด!!!


ผู้เขียน : นฤมล บุญสนอง CFP®
รองกรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook