เชื่อหรือไม่? เมืองไทยมีวันนี้เเล้ว.. รัฐบาลสั่งแก้ “มะพร้าว” ขาดแคลน หลังปี 60 นำเข้า 1 แสนตัน

เชื่อหรือไม่? เมืองไทยมีวันนี้เเล้ว.. รัฐบาลสั่งแก้ “มะพร้าว” ขาดแคลน หลังปี 60 นำเข้า 1 แสนตัน

เชื่อหรือไม่? เมืองไทยมีวันนี้เเล้ว.. รัฐบาลสั่งแก้ “มะพร้าว” ขาดแคลน หลังปี 60 นำเข้า 1 แสนตัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด เพื่อแก้ไขปัญหาถั่วเหลืองและมะพร้าว เพราะมีปัญหาผลผลิตในประเทศลดลงและมีการลักลอบนำเข้า โดยเฉพาะมะพร้าวแกงที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่มีการนำเข้าส่วนใหญ่ ทั้งลักลอบนำเข้าและนำเข้าถูกกฎหมาย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ระบุ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการที่อาหารไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้มะพร้าวทั้งในประเทศและส่งออก โดยเฉพาะการแปรรูปใส่กล่องและกระป๋องมากขึ้น รวมทั้งปัจจุบันมะพร้าวนำไปผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำมันมะพร้าว และยารักษาโรค เป็นต้น จึงความต้องการมะพร้าวในปัจจุบันสูงขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงให้นโยบาย 3 ข้อ คือ 1.เพิ่มพื้นที่ปลูกมะพร้าว 2.แก้ปัญหาโรคหนอนหัวดำในมะพร้าว และ 3.ป้องกันลักลอบการนำเข้า ที่เป็นปัญหามา 10 ปี รวมทั้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาว่าการนำเข้า สอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศหรือไม่ และผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศอย่างไร และจะป้องกันการนำเข้ามะพร้าวมาใช้ผิดประเภทได้อย่างไร โดยให้มาเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป

โดยสถานการณ์มะพร้าว 2559 นั้น ผลผลิตในประเทศ 740,000 ตัน มีการนำเข้า 144,000 ตัน ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั่วประเทศ 1.1 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2555 ที่มีพื้นที่ปลูก 1.3 ล้านไร่ เพราะเกษตรกรมีปัญหาโรคหนอนหัวดำและภัยแล้ง จึงเลิกปลูก ทำให้ผลผลิตในปี 2559 มีผลผลิต 740,000 ตัน ต้องนำเข้าเพิ่มอีก 144,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากอินโดนีเซียและเวียดนาม

“เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ต่ำลง โดยปี 2555 ผลผลิต 806 กิโลกรัม/ไร่ และปี 2559 เหลือ 632 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรประสบปัญหาโรคหนอนหัวดำและภัยแล้ง จึงทำให้เลิกปลูก ซึ่งจำนวนผลผลิตมีการลดลงเรื่อยมา ปี 2559 ผลิตได้ 7.4 แสนตัน/ปี ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยปี 2555 นำเข้า 2.7 หมื่นตัน, ปี 2556 นำเข้า 3.7 หมื่นตัน, ปี 2557 นำเข้า 8.9 หมื่นตัน และปี 2559 นำเข้า 1.4 แสนตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากอินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงการส่งออกกะทิสำเร็จรูปที่สูงขึ้น ปี 2555 ส่งออก 1.1 แสนตัน และปี 2559 ส่งออก 1.8 แสนตัน เนื่องจากหาตลาดได้มากขึ้น”

ด้าน มาตรการเบื้องต้น อาจจะดูพื้นที่ปลูกใหม่ ส่วนพื้นที่เดิมจะมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ต้องนำกลับมา ด้วยการแทรกต้นพันธุ์ที่ดี ซึ่งใช้เวลา 4 ปี จึงจะได้ผลผลิต และต้องหามาตรการจัดการกับหนอนหัวดำ ต้องดูแลเรื่องระบบน้ำ ปุ๋ย แล้วดูว่า “จะสามารถรวมตัวกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ได้หรือไม่” โดยรัฐบาลจะหาพันธุ์มะพร้าวที่ดีให้ นำงานวิจัยมาส่งเสริมในพื้นที่ เพื่อให้ดิน น้ำ และพันธุ์มีความเหมาะสมกัน

"ในส่วนของถั่วเหลืองพบว่า มีผู้ปลูกลดลง เนื่องจากต้นทุนสูง กำไรน้อยเพียง 300-500 บาท/ไร่/ฤดูกาล จึงต้องหาทางลดต้นทุนและให้เกษตรกรมาปลูกมากขึ้น และให้รับซื้อจากผู้ประกอบการในประเทศเต็มราคา"

"โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด เริ่มงานได้ทันที และให้นำผลศึกษากลับมาชี้แจงในการประชุมครั้งหน้าในปลายเดือน มี.ค. หรือต้น เม.ย. เพื่อมีมาตรการที่ชัดเจนภายในปี 2560 โดยการศึกษามาตรการให้ศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ การเงิน และภาพลักษณ์ของประเทศ”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook