สั่งรื้อ! 1 พันหอพัก รุกฟลัดเวย์ ขออนุญาตบ้านเดี่ยว ลักไก่ซอยห้องเช่า รับ “สุวรรณภูมิ – สจล.”

สั่งรื้อ! 1 พันหอพัก รุกฟลัดเวย์ ขออนุญาตบ้านเดี่ยว ลักไก่ซอยห้องเช่า รับ “สุวรรณภูมิ – สจล.”

สั่งรื้อ! 1 พันหอพัก รุกฟลัดเวย์ ขออนุญาตบ้านเดี่ยว ลักไก่ซอยห้องเช่า รับ “สุวรรณภูมิ – สจล.”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สั่งรื้อ 1,000 หอพัก 4,000 หน่วยเขตลาดกระบังผิด กม.ผังเมืองรวม กทม. ในพื้นที่เขียวลายฟลัดเวย์โซนตะวันออก ขออนุญาตเป็นบ้านเดี่ยว กลับซิกแซกซอยห้องแบ่งเช่า รับทำเลทองสนามบินสุวรรณภูมิ /สจส.

แรงผลักให้เขตลาดกระบังมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะหอพักอาพาร์ทเม้นต์ อาคารสำนักงาน เกิดจากอิทธิพลของสนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์อีกทั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สจส. นิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า ทำให้เกิดความเจริญสวนทางกับข้อห้ามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่ล็อกให้บางบริเวณของ เขตลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา กว่า 2แสนไร่ เป็นพื้นที่ รับน้ำหรือฟลัดเวย์โซนตะวันออกกทม.

นายสุธน สุวรรณภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ขณะนี้ อยู่ระหว่างดำเนินคดี กว่า 900 อาคารใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมหรือเขียวลาย ขัดต่อกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดให้เป็นโซนรับน้ำหรือฟลัดเวย์โซนตะวันออก

วิธีการผู้ประกอบการจะยื่นขออนุญาตเป็นบ้านเดี่ยวอยู่อาศัยขนาดใหญ่สูง 12 เมตร หรือประมาณ 4ชั้น ถูกต้องตามข้อกำหนดแต่ภายหลังได้รับอนุญาตแล้ว ได้ดัดแปลง ซอยห้องเป็นหอพัก อาพาร์ตเมนต์ ขนาด 20ตารางเมตรเฉลี่ย 30-40 หน่วยให้เช่ารองรับ กลุ่มคนทำงานสนามบินสุวรรณภูมิ นิคมอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อย่างไรก็ดี เขตได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ส่งหนังสือถึงเจ้าของอาคารให้แก้ไขแล้วพร้อมดำเนินคดีตามกฎหมายผังเมืองทั้งจำทั้งปรับต่อไป

ผู้อำนวยการเขตยอมรับว่า แม้ที่ดินจะจำกัดการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อป้องกันการก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ แต่ตามข้อเท็จริงเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่กลางแนวฟลัดเวย์ขวางทางน้ำ ย่อมมี ที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นรองรับและพยายามดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ แม้จะขัดต่อกฎหมายก็ตาม ซึ่งข้อกำหนด ในพื้นที่เขียวลาย มีข้อห้ามพัฒนาสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท ยกเว้นบ้านอยู่อาศัย และหากพัฒนาเชิงพาณิชย์ ประเภทจัดสรรที่ดินจะต้องเป็นเชิงสวนเกษตร ขนาดแปลง 2.5ไร่ขึ้นไป แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบการมัก ซอยแบ่งพื้นที่ทั้งจัดสรรที่ดินและ ที่อยู่อาศัยรวมดังกล่าว

แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตลาดกระบังเสริมว่า หาก เจ้าขออาคารไม่สามารถแก้ไขอาคารตามคำสั่งได้ จะต้องรื้อสถานเดียว เพราะ อยู่ในข่ายผิดกฎหมาย ตามกฎหมายควบคุมอาคาร และต้องทั้งจำทั้งปรับ ตามกฎหมายผังเมือง คือ จำคุก6เดือน รวมทั้งปรับกรณี ที่อยู่อาศัย ปรับ 6หมื่นบาท เชิงพาณิชย์ปรับ 1แสนบาท ซึ่งอาคารทั้งเกือบ 1,000 อาคาร จะอยู่ริมถนนร่มเกล้า ฉลองกรุง ริมถนนลาดกระบังติดกับสนามบิน และ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ขณะที่ พื้นที่ คลองสามวา หนองจอกบริเวณถนนคู้คลอง 10 และ มีบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เขียวลายเช่นเดียวกันไม่พบอาคารผิดกฎหมายในลักษณะดังกล่าว เนื่องจาก ไม่มีแรงจูงใจ เหมือนเขตลาดกระบัง

 

mon0602605-1


แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตคลองสามวากล่าวว่า จากการสำรวจอาคารในพื้นที่ ไม่สามารถก่อสร้างตกึ แถวได้ โดยเฉพาะรมิถนนหทัยราษฎร์ ถนนนิมิตใหม่ที่ใช้สำหรับเป็นคันกั้นนํ้าไม่ให้เข้าท่วมเมือง แต่ราคาที่ดินกลับตกไร่ละ 10 ล้านบาท รวมถึงราคาที่ดินติดถนนเลียบคลอง 2เชื่อมไปปทุมธานีราคาไร่ละ 20ล้านบาท แต่เมื่อเข้าเขตลำลูกกาเขตปทุมธานี กลับสร้างอาคารพาณิชย์ได้ เพราะใช้ผังเมืองคนละฉบับกัน แต่มองว่าแนวฟลัดเวย์ยังมีความสำคัญแต่ควรปรับลดให้รับกับความเจริญที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะเขตลาดกระบังติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ ที่กลายเป็นย่านอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ราคาที่ดิน ไม่ตํ่ากว่า 1 แสนบาทต่อตารางวา

แหล่งข่าวจากสำนักผังเมืองกทม.ย้ำว่า การปรับปรุงผังเมืองรวมกทม.ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นยืนยันว่า ยังคง พื้นที่ เขียวลาย หรือ แนวฟลัดเวย์โซนตะวันออก เพื่อชะลอน้ำจาทางตอนเหนือกทม.ก่อนระบายลงอ่าวไทย ป้องกันปัญหาน้ำท่วมในอนาคตต่อไป เนื่องจาก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกแนวคันกันน้ำ ตามแนวพระราชดำริ

อย่างไรก็ดี แนวฟลัดเวย์ได้กำหนดขึ้นก่อนปี 2535 ก่อนที่จะมีผังเมืองรวมกทม. แต่ต่อมา มีการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ กว่า 2 หมื่นไร่ กลางพื้นที่รับน้ำ ก่อนจะออกอ่าวไทย อีกทั้งแอร์พอร์ตลิงค์ที่เชื่อมต่อกับตัวสนามบิน ทำให้เกิดการพัฒนา ที่สำคัญ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกนอกระบบ การศึกษารัฐจึงรับนักศึกษามากเป็นเท่าตัว คือ กว่า1 หมื่นคน จากเดิม ไม่เกิน5,000คนทำให้หอพักไม่เพียงพอต้องพึ่งหอพักนอกของเอกชนดังกล่าว ซึ่งปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ระบายช้าเกิดจากการก่อสร้างอาคารขวางทางน้ำแทบทั้งสิ้น

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาได้ปรับการใช้ที่ดินและมีผลบังคับใช้ปีที่ผ่านมาสำหรับที่ดินเขียวลาย บริเวณด้านหลังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นพื้นที่สีส้ม หรือที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง หรือย.6 สามารถสร้างที่อยู่อาศัยรวมได้ จากเดิมเป็นพื้นที่เขียวลายขณะเดียวกัน การศึกษาปรับปรุงผังเมืองรวมกทม.ปัจจุบัน จะกำหนดการขุดคูคลองใหม่เพิ่มเพื่อการระบายนํ้าอีก 5-6 แห่งสำหรับการปรับปรุงผังเมืองรวมกทม. ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะพื้นที่ฟลัดเวย์โซนตะวันออกเนื่องจากเอกชน และเจ้าของที่ดินต้องการให้ปรับเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาและมูลค่าที่ดิน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,232 วันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2560

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook