มนุษย์เงินเดือนโสดสนิท ได้ลดภาษีเท่าไร จากปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2560 รองอธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกมาให้ข่าวว่า การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว ในปี ภาษี 2560 นี้ โดย โครงสร้างภาษีใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นมา ซึ่งจะทำให้การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2560 ซึ่งจะไปยื่นในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 61 ถึง วันที่ 31 มี.ค. 2561 มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญจากที่เรายื่นภาษีในปีนี้(ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2559 ) ซึ่งหลายคนกำลังเตรียมจะยื่นอยู่ โดยจะหมดสิทธิในวันที่ 31 มี.ค. 60 หากใครมีหน้าที่ต้องยื่นแล้วไม่ยื่นระวังถูกปรับนะครับ
สำหรับคนที่กำลังจะยื่นภาษี ขออย่าได้สับสนเป็นอันขาด การยื่นภาษีในช่วงนี้ เป็นการยื่นภาษีที่เกิดจากรายได้ของปีที่ผ่านมา คือ ปี 2559 ซึ่งหลักเกณฑ์ยังเหมือนเดิม ส่วนปีหน้าโน้นถึงจะมีสิทธิใช้หลักเกณฑ์ใหม่ของการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาในครั้งนี้
วันนี้เราจะสรุป เนื้อหาสาระสำคัญของ การปรับโครงสร้างภาษีว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เอา เฉพาะมนุษย์เงินเดือน (มีรายได้เฉพาะเงินเดือน ค่าจ้างอย่างเดียว) ได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง มาดูกันครับ
1 ใครบ้างต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษี
คนที่ต้องยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษีคือ คนที่มีรายได้ระหว่างปีตามเกณฑ์ที่กำหนดขั้นต่ำไว้ดังนี้ คือ
ย้ำนะครับ ในประเด็นนี้คือ หากมีรายได้ในปีภาษีขั้นต่ำตามจำนวนดังกล่าว มีหน้าที่ต้องยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษี ทุกคน คนไม่ยื่นหากมีการตรวจพบถือว่าเป็นความผิดนะครับ ส่วนเมื่อยื่นแบบแล้วจะเสียภาษีหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง มาดูกันต่อครับ
2 การหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว
ในประเด็นนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ
มนุษย์เงินเดือน จากเดิม ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็น สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3 ค่าลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้
- ผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เพิ่มเป็น 60,000 บาท
- คู่สมรส จากเดิม 30,000 เพิ่มเป็น 60,000 บาท
-บุตร
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
เดิม
บุตรที่ยังไม่อยู่ในวัยศึกษาได้ คนละ 15,000 ที่อยู่ในวัยศึกษาและศึกษาในประเทศหักลดหย่อนได้ 17,000 บาท
บุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท เช่นกัน
ใหม่
สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
-กองมรดก
เดิม
หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
ใหม่
ให้หักลดหย่อนเพิ่มเป็น 60,000 บาท
การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้ ซึ่งมีการขยับขั้นต่ำขึ้นมาเป็น 120,000 บาทต่อปีแล้ว จากการที่มีการปรับเพิ่มค่าลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายเพิ่มทำให้ผู้มีเงินได้ที่เข้าหลักเกณฑ์ มีการขยับฐานของผู้ที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมคือคนที่มีเงินเดือน 20,000 บาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 26,000 บาท
พูดง่ายๆ คือ มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษีนั้นเอง โดยที่มาของฐานดังกล่าวคือ
1 เงินได้สุทธิ 150,000 บาท แรก ได้รับการยกเว้นภาษี
2 หักค่าใช้จ่าย 1000,000 บาท
3ค่าลดหย่อน 60,000 บาท
รวม 3 รายการ เท่ากับ 310,000 บาท เมื่อคิดเฉลี่ยเป็นเดือน โดยหารด้วย 12 เท่า กับ 25,833 บาท นั้นเอง
แล้วคนที่ เคยเสียภาษี จะประหยัดไปได้เท่าไร ( กรณีมนุษย์เงินเดือนสถานะโสดสนิท)?
สมมุติให้ นาย a มีเงินเดือน 35,000 บาท ทั้งปีมีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว 420,000 บาท ไม่มีการลงทุนใดๆ นอกจาก จ่ายประกันสังคมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เดิม
รายได้ทั้งปี 420,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 60,000 บาท
ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท
หักเงินจ่ายประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
หักกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ(จ่าย5% ของเงินเดือน เท่ากับ 1,750 บาท 1ปี เท่ากับ 21,000 บาท
ยอดเงินได้สุทธิเท่ากับ 300,000 บาท
เมื่อมาคำนวณภาษี 150,000 แรกจะได้ยกเว้น
เท่ากับมียอดเงินที่ต้องเสียภาษี 150,000 บาท
ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 5 % เท่ากับต้องจ่ายภาษี 75,000 บาท
(300,000-150,000 = 150,000 x 5% = 7,500 )
สำหรับ โครงสร้างภาษีใหม่(2560)
รายได้ทั้งปี 420,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
หักเงินจ่ายประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
หักกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ(จ่าย5% ของเงินเดือน เท่ากับ 1,750 บาท 1ปี เท่ากับ 21,000 บาท
ยอดเงินได้สุทธิเท่ากับ 230,000 บาท
เมื่อมาคำนวณภาษี 150,000 แรกจะได้ยกเว้น
เท่ากับมียอดเงินที่ต้องเสียภาษี 80,000 บาท
ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 5 % เท่ากับต้องจ่ายภาษี 4,000 บาท
(230,000 - 150,000 = 80,000 x 5% = 4,000)
เท่ากับ โครงสร้างภาษีใหม่ นาย a จะประหยัดภาษีไปได้ 3,500 บาท
นี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นกรณีคนโสด และไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่มเติมที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี ในความเป็นจริง ค่าลดหย่อนที่มนุษย์เงินเดือนมีสิทธิสามารถนำมาลดหย่อนได้ทั้งหมด และจำไว้ว่าต้องนำมาใช้ให้หมดทุกเม็ดทุกหน่วย เพื่อประโยชน์ของผู้เสียภาษีเองด้วยนะครับ...