10 ข้อคิดเฉียบๆ! “Instagram” ทำเงินพันล้านในปีครึ่งอย่างไร?

10 ข้อคิดเฉียบๆ! “Instagram” ทำเงินพันล้านในปีครึ่งอย่างไร?

10 ข้อคิดเฉียบๆ! “Instagram” ทำเงินพันล้านในปีครึ่งอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่น่าเชื่อว่า Instagram เริ่มสตาร์ทอัพด้วยพนักงานเพียงแค่ 13 คนแต่กลับทำเงินได้พันล้านเหรียญภายในปีครึ่งก่อนที่จะถูก Facebook ซื้อกิจการไป กลายเป็นว่าพนักงานแต่ละคนทำงานให้ Instagram ตกอยู่ที่ 76.9 ล้านเหรียญ อะไรที่ทำให้ Instagram ประสบความสำเร็จ ไปดู 10 ข้อคิดเฉียบๆกัน

 

inst2.jpg


1. สตาร์ทอัพที่ดีต้องรู้ว่างานที่ทำ ทำไปทำไม?
ทำธุรกิจทั้งที่ ก็ต้องมีหน้าที่หลายอย่าง แต่ต่อให้มีหน้าที่เยอะจนชวนสับสนวุ่นวายขนาดไหน ก็อย่าลืมว่าที่ก่อตั้งธุรกิจมานั้น ทำไปเพื่ออะไร และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ก่อตั้ง Instagram อย่าง “เควิน ซิสตรอม” (Kevin Systrom) รู้ตัวดีว่าตัวเองหลงรักรูปโพลารอยด์สุดๆและอยากให้ทุกคนที่มีสมาร์ทโฟนได้ถ่ายรูปโพลารอยด์เก็บไว้

 

2. ไม่ใช่แค่โฟกัสธรรมดา แต่ต้อง “ลึก”
เพราะ Instagram ต้องการทดสอบการใช้งานกับผู้ใช้งานจำนวนมากให้ไวที่สุดว่ามีอะไรที่ต้องแก้ไขบ้าง และ iPhone ในช่วงปี 2010 ก็มีผู้ใช้งานเยอะ Instagram จึงเริ่มให้บริการใน iPhone แล้วพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โฟกัสไปที่กระบวนการ Build-Measure-Learn ตามสไตส์การทำสตาร์ทอัพ การทดสอบกับคนจำนวนมากทำให้เจอข้อบกพร่องได้เยอะและเร็ว ทำให้แก้ไขปรับปรุงและได้แอปฯที่ดีขึ้นเรื่อยๆได้เร็วขึ้น

 

3. อย่าลืมพัฒนาทักษะของตัวเองคู่กับการทำสตาร์ทอัพด้วย
ถึงเควินจะเคยเป็นนักการตลาดให้กับสินค้าของ Google แต่ก็ไม่หยุดหาความรู้ในการทำ Programming และฝึกฝนด้วยตัวเองทุกคืน ต่อให้ฝีมือการทำ Programming ไม่ได้เก่งเตะตาใคร แต่เควินเชื่อว่าทักษะนี้ต้องมีประโยชน์ในการต่อยอดไอเดีย เควินไม่ได้แค่อยากขายของ แต่อยากรู้ลึกรู้จริงว่าของที่เขาขายนั้นทำขึ้นได้อย่างไร และออกแบบของนั้นได้อย่างไร

 

4. ใช้น้อย แต่ได้มาก
คุณต้องไม่เชื่อแน่ถ้ารู้ว่า Instagram มีพนักงานแค่ 13 คนเท่านั้น สตาร์ทอัพหลายเจ้าอาจคิดว่าต้องจ้างคนให้เร็ว จะได้ขยายสเกลกิจการให้เร็วและยึดส่วนแบ่งการตลาด แต่ Instagram กลับเลือกที่จะจ้างคนพวกวิศวะฯกับคนทำธุรกิจเก่งๆเท่านั้น และโฟกัสทุ่มพลังทั้งหมดไปกับการสร้างแอปฯเจ๋งๆ เพราะการมีพนักงานหลายคนจะทำให้คูณหลุดโฟกัส ดีไม่ดีเป็นภาระด้วยซ้ำ

สตาร์ทอัพที่ดีจึงต้องใช้คนน้อย ได้ผลมาก

 

5. คิดให้ใหญ่ แต่ทำให้เล็ก
เควินกล้าที่จะคิดใหญ่ตั้งแต่แรก เขาเคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไทม์ในปี 2011 ว่าเขาต้องการสร้าง “เครื่องมือในการสังคมพกพาไปที่ไหนก็ได้” อยากให้เครื่องมือตัวนี้สื่อสารและแบ่งปันให้กับผู้คนได้จริงๆ ถึงเควินจะไม่มีประสบการณ์มาตั้งแต่ต้น แต่แค่มั่นใจก็ชนะไปครึ่งหนี่งแล้ว

 

6. ก่อนจะคิดถึงรายได้ เป็นห่วงว่าจะมีคนมาใช้ก่อนเถอะ
เริ่มสตาร์ทอัพแบบไม่มีทุนหนุนหลังเลย ฟังดูไม่เข้าท่า แต่ไม่มี “เงิน” ไม่สำคัญเท่าไม่มี “คุณค่า” หรอก ไม่ต้องไปสนว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรอยู่หรือมีรายได้เท่าไร่ แต่กิจการของคุณต้องมีลูกค้าจริง มีผู้ใช้งานจริงๆ

เพราะตราบใดที่คุณมีลูกค้าที่รักแบรนด์ของคุณ คุณรอดตายแล้วล่ะ

 

7. ความสำเร็จทิ้งร่องรอยไว้เสมอ
เพราะเบื้องหลังความสำเร็จจากการทำเงินพันล้านเหรียญในปีครึ่งนั้น เควินต้องใช้เวลาหลายปีหาความรู้ พัฒนาทักษะ เพิ่มประสบการณ์ ติดต่อบริษัทเทคฯและสตาร์ทอัพหลายเจ้า ไม่เว้นแต่ Google Microsoft และ Twitter ทำสตาร์ทอัพล้มเหลวไม่รู้กี่ครั้ง

จนได้รับบทเรียนจากความผิดพลาดมากพอจนสร้างกิจการอย่าง Instagram ได้

 

8. ขยายเครือข่าย เพิ่มคนรู้จัก
ไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก Instagram ให้บริการ ระบบก็ไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานนับพันจนระบบล่ม โชคดีที่เควินรู้จักกับ Adam D’ Angelo ที่เขาเคยเจอกันในงานปารตี้ตอนใช้ชีวิตด้วยกันในสแตนฟอร์ด เควินโทรหาให้เขาช่วย สุดท้ายไม่ใช่แค่กู้ระบบได้ แต่เพื่อนที่เควินรู้จักยังจัดเงินทุนเพิ่มให้ Instagram อีกด้วย และต่อมามีคนใน Google แนะนำเควินให้รู้จักกับนักลงทุนอย่าง Marc Andreessen แห่ง Andreessen Horowitz ทำให้เควินได้เงินทุนไปอีก 250,000 เหรียญ

 

9. รู้ว่าอะไรที่ “เวิร์ค” ได้ผล
ก่อนที่เควินจะมาทำ Instagram เควินเคยให้บริการอัพเดทตำแหน่งที่เราเคยไป มีระบบคล้ายๆกับ “Foursquare” แต่ต่อมาเควินกับเพื่อนผู้ร่วมทีม กลับไปสะดุดตากับไอเดียของ Burbn ที่มีฟังก์ชั่นแชร์รูปภาพ ทำให้เควินกับเพื่อนรู้เลยว่าฟังก์ชั่นตัวนี้มัน “เวิร์ค” แน่ๆ ต่อมาเควินกับเพื่อนจึงพัฒนา Instagram โดยเน้นการถ่ายและแชร์รูปภาพง่ายๆเป็นหลัก และเอาฟังก์ชั่นระบุตำแหน่งเป็นเรื่องรองในเวลาต่อมา จนกลายเป็น Instragram ในปัจจุบัน

 

10. ชื่อสินค้าต้องสะท้อนเป้าหมาย
ไหนๆก็เน้นถ่ายรูปมากกว่าระบุสถานที่ ชื่อแอปฯก็ต้องเปลี่ยนด้วย ซึ่งก่อนที่จะใช้ชื่อ Instagram เควินและเพื่อนก็ใช้ชื่อว่า “Burbn” ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ได้สะท้อนความสามารถของตัวแอปฯเกี่ยวกับ “รูปภาพ” เลย การใช้ชื่อ Instagram จึงสื่อความหมายว่า “รูปภาพเจ๋งๆที่แชร์ต่อกันได้ทันที” นั่นเอง

inst3.jpg

 

แหล่งที่มา
http://knowstartup.com/2016/12/10-success-lessons-kevin-systrom-instagram-founder-for-entrepreneurs/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook