อาชีพ รปภ. รู้ยัง ! ต้องขึ้นทะเบียนภายใน 26 ก.พ.60 ฝ่าฝืนเจอทั้งคุก-ปรับ

อาชีพ รปภ. รู้ยัง ! ต้องขึ้นทะเบียนภายใน 26 ก.พ.60 ฝ่าฝืนเจอทั้งคุก-ปรับ

อาชีพ รปภ. รู้ยัง ! ต้องขึ้นทะเบียนภายใน 26 ก.พ.60 ฝ่าฝืนเจอทั้งคุก-ปรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายร้อยหน้าลิฟท์ - คนในเครื่องแบบ รปภ. รู้ยัง สนง.ตำรวจ ประกาศขีดเส้นตาย ต้องขึ้นทะเบียน ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ห้ามเกิน 26 ก.พ. นี้ ฝ่าฝืนเจอโทษจำคุก-ปรับ

รายงานข่าวเปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ ( 20 ก.พ. 60 ) พล.ต.อ.สุวิระ ทรงเมตตา ที่ปรึกษา­ สบ 10 เรียกประชุมนายตำรวจระดับผู้บังคับการตำรวจภูธร 76 จังหวัดและผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 รวม 400 นาย เพื่อทำความเข้าใจ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ตาม คำสั่ง คสช.ที่ 67/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2559 กรณีต่อทะเบียนใบอนุญาตอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าของธุรกิจรักษาความปลอดภัยที่ต้องยื่นความประสงค์ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนจังหวัด ณ ที่ทำการกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกพื้นที่ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ หากผ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำคุกและทั้งปรับ


โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ใดประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับ พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 76 มาตรา สาระสำคัญ ดังนี้

1.ให้มีคณะกรรมการกํากับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย และผู้อํานวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนหกคนในจํานวนนี้จะต้องเป็น ผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองในสามให้ผู้บัญชาการตํารวจนครบาลเป็นกรรมการและเลขานุการและข้าราชการตํารวจยศพันตํารวจตรีขึ้นไปในกองบัญชาการตํารวจนครบาลซึ่งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลแต่งตั้งจํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

2.ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน

3. บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใช้คํานําหน้าชื่อว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย” และคําว่า “จํากัด” หรือ “จํากัด (มหาชน)” ต่อท้าย แล้วแต่กรณี

4.การให้บริการรักษาความปลอดภัยต้องทําสัญญาเป็นหนังสือระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ 8 ข้อ

5. ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทําบัญชีรายชื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย 

6. ผู้ใดประสงค์จะทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตจากนายทะเบียน

7. ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ สําเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ ได้รับหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย จากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรองตามวรรคสอง

ลักษณะต้องห้าม

เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษหรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการ กําหนด เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกสําหรับความผิดเกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตมาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต


8. บริษัทรักษาความปลอดภัยจะกําหนดเครื่องแบบของพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาตให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องแบบของทหาร ตํารวจ หรือเครื่องแบบของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามที่นายทะเบียนกลาง ประกาศกําหนดมิได้

9.ผู้ใดทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา63)

อัตราใบอนุญาต

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 50,000 บาท
ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 1,000 บาท
ใบแทนในอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 3,000 บาท
ใบแทนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 100 บาท
การต่อใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม สำหรับในอนุญาตแต่ละฉบับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook