ฟุ่มเฟือยยังไงให้มีตังค์เก็บ

ฟุ่มเฟือยยังไงให้มีตังค์เก็บ

ฟุ่มเฟือยยังไงให้มีตังค์เก็บ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพียงเดือนละ 500
แล้วนำมาลงทุนในกองทุนรวมทุกเดือน จะช่วยให้เรามีความมั่งคั่งมากยิ่งขึ้น”
- K-Expert -


มีใครเคยสังเกตหรือจำได้บ้างไหมคะว่า ในแต่ละวันเราจับจ่ายใช้สอยไปกับเรื่องอะไรบ้าง แล้วรายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นรายจ่ายจำเป็นหรือฟุ่มเฟือยกันแน่ หากเรารู้ว่าเรามีรายจ่ายฟุ่มเฟือย จะดีกว่าไหม ถ้าสามารถแปลงค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตรงนี้มาเป็นเงินลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับเราในอนาคต ซึ่งจะมีวิธีการอย่างไร แล้วต้องลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลงเท่าไรถึงจะนำเงินมาลงทุนได้ K-Expert มีคำแนะนำในเรื่องนี้มาฝากค่ะ

ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวัน
เริ่มจากการสำรวจค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวันของเรากันก่อนค่ะ เชื่อว่าทุกคนจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แอบแฝงอยู่บ้างไม่มากก็น้อย โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือคาดไม่ถึงมาก่อน ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงจะมีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบางอย่างที่แตกต่างกัน โดย

ผู้ชาย มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าบุหรี่ ค่าไปเที่ยวปาร์ตี้สังสรรค์ สำหรับค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และค่าบุหรี่นั้น มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอย่างละประมาณ 400-500 บาท*


ผู้หญิง มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าชอปปิงเครื่องสำอาง เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า สำหรับค่าชอปปิงออนไลน์ของคุณผู้หญิงเฉลี่ยต่อเดือนแล้วตกอยู่ที่ 3,000 กว่าบาทเลยทีเดียว**
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หากเราลองมานั่งจดรายจ่ายที่เกิดขึ้นดู จะเห็นว่าเดือนๆ นึง เราหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเหล่านี้เป็นหลักพัน ถือว่าไม่น้อยเลยล่ะค่ะ

ดังนั้น เมื่อเห็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเหล่านี้แล้ว เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสักนิด ไม่ได้บอกให้ลดทั้งหมด แค่ปรับลดลงสักหน่อย เดือนละ 500 บาทเท่านั้น ไม่มากเลย แล้วนำเงินมาลงทุนในกองทุนรวมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน โดยที่เราไม่ต้องใช้เงินใหม่ เพียงแค่นี้เราก็จะมีเงินงอกเงย เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ แถมผลตอบแทนในส่วนของกำไรที่ได้รับยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วยล่ะค่ะ

ผลลัพธ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
คราวนี้ลองมาดูกันว่า หากเราสามารถลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยลงได้เดือนละ 500 บาท แล้วนำเงินตรงนี้มาลงทุนในกองทุนรวมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร สมมติเรารับความเสี่ยงได้ปานกลาง ก็แนะนำให้ลงทุนในกองทุนผสมซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี เมื่อเวลาผ่านไป เงินส่วนนี้จะงอกเงยมากขึ้นดังนี้ค่ะ

kexp2402601

เมื่อเห็นผลลัพธ์การลงทุนแบบนี้แล้ว ใครอยากมีเงินเก็บ อยากให้เงินงอกเงย ออกดอกออกผลมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ลองนำวิธีนี้ไปใช้กันดูนะคะ เพราะไม่แน่ว่าจากเรื่องเล็กๆ ที่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลงได้ตั้งแต่วันนี้ เพียงแค่เดือนละ 500 บาท จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เรามีเงินออม เงินลงทุนงอกเงยมากขึ้นเรื่อยๆ มากถึงหลักแสน และสร้างความมั่งคั่งให้กับเราได้ในอนาคตค่ะ


หมายเหตุ: ที่มาของค่าใช้จ่ายค่าบุหรี่เฉลี่ยต่อเดือน 423 บาท และค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อเดือน 459 บาท
*พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชาการในปี 57 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/662639

ที่มาของค่าใช้จ่ายค่าชอปปิงออนไลน์เฉลี่ยต่อเดือน 3,435 บาท
**การวิจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกปี 2016 จาก PayPal หนึ่งในผู้นำด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลกและอิปซอสส์ (Ipsos)
http://www.brandbuffet.in.th/2017/02/thai-consumer-online-shopping-behavior-paypal/

โดย : สุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ AFPT
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook