​ปฏิบัติการ “5 หยุด” เพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ

​ปฏิบัติการ “5 หยุด” เพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ

​ปฏิบัติการ “5 หยุด” เพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำธุรกิจ ไม่มีสิ่งใดสามารถรับประกันความเสี่ยงได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยถ้าเรารู้ทันก็ยังพอจะบริหารความเสี่ยงให้ลดน้อยลงได้บ้าง โดย Thomas Oppong ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Alltopstartups.com ซึ่งรวบรวมข้อมูล ไอเดีย และเรื่องราวต่างๆ สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ ได้ออกมาแนะนำถึงปัญหาที่ผู้ประกอบการมักพบเจอ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงจากมันได้ ส่วนจะมีอะไรบ้าง และควรรับมืออย่างไร เราไปดูพร้อมๆ กัน

1.หยุดการละเลยหรือทอดทิ้งลูกค้า การบริการที่ดีไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์กลับไปใช้ที่บ้าน เพราะถ้าบริการหลังการขายไม่ดี ลูกค้าจะเป็นฝ่ายตีจากแบรนด์ของคุณไปหาแบรนด์อื่นที่ตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณ แต่มีบริการหลังการขายที่ดีกว่า สิ่งนั้นย่อมทำให้คุณสูญเสียลูกค้าไปในระยะยาว หรือบางครั้งถ้าคุณโฟกัสไปที่การดึงดูดลูกค้าใหม่มากเกินไปจนลืมคำนึงถึงลูกค้าเก่า ก็อาจทำให้คุณสูญเสียฐานลูกค้าเก่าไปได้เช่นกัน

สิ่งที่ผู้ประกอบการพึงกระทำคือ พยายามทำให้พนักงานรับรู้ถึงความสำคัญของลูกค้าที่มีต่อบริษัท พร้อมทั้งให้คำแนะนำกับลูกจ้างให้พวกเขาสามารถมอบความสุข ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขามีความสำคัญต่อแบรนด์คุณตลอดเวลา เมื่อลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์คุณใส่ใจเขาอยู่เสมอๆ พวกเขาจะไม่มีวันทอดทิ้งคุณ

 bu2

 2.หยุดขายตัวผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว แล้วลองหันมาขายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์เพิ่มดู ปกติแล้วการขายจะเป็นเรื่องราวทางการตลาด บอกเล่าความโดดเด่น และความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์คุณกับของคู่แข่งให้กับลูกค้ารับทราบ แต่การขายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Story) สามารถบอกลูกค้าได้มากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ยาโบราณแบรนด์หนึ่ง หากขายตัวผลิตภัณฑ์ อาจนำไปโฆษณาได้เพียง เป็นยาโบราณสูตรเก่าแก่จากชาววัง ซึ่งผลิตจากสมุนไพรไทยแท้ ไม่มีอันตราย

แต่ถ้าขายเรื่องราว เราสามารถเล่าเรื่องให้ยาโบราณได้เป็นฉากๆ เริ่มจากตอนเกิด อาจเป็นหมอผู้มีฝีมือในวังชื่อ ABC คิดค้นตัวยาโบราณเอาไว้เมื่อ 100 ปีก่อน และได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวัตถุดิบใช้สมุนไพรไทยแท้ พร้อมกระบวนการผลิตที่ไม่มีการปนเปื้อนสารเคมี เด็กอ่อนจึงสามารถรับประทานได้ โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีใครเกิดผลข้างเคียงหลังจากทานยา ฯลฯ ความน่าสนใจจึงแตกต่างกัน แต่ถ้าผสมผสานกันได้ทั้งการตลาดและการขายเรื่องราว ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแกร่งและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

bu3


3.หยุดตั้งเป้าหมายที่ไม่เป็นความจริง การตั้งเป้าหมายขององค์กรในระยะสั้นและระยะยาวนั้น ทำเพื่อประเมินผลและรับรู้ว่าองค์กรของคุณสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่คาดไว้หรือไม่ นอกจากนั้นยังช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้ปริมาณงานที่ต้องทำเพื่อตอบสนองเป้าหมายของบริษัทตามระยะเวลาที่กำหนด

ดังนั้น หากคุณตั้งเป้าหมายที่เกินความจริงจนพนักงานไม่สามารถทำได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด และตัวคุณเองก็ไม่สามารถระบุขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ คุณอาจสูญเสียความไว้วางใจที่พนักงานมีต่อตัวคุณและองค์กร (พนักงานอาจสงสัยในวิสัยทัศน์และความสามารถของคุณ) รวมถึงทำให้ธุรกิจชะงักอยู่กับที่อย่างที่ไม่ควรจะเป็น

4.หยุดจุกจิกพนักงานในเรื่องการทำงาน เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว คุณควรเรียนรู้ที่จะมอบหมายงานและให้ความไว้วางใจกับพนักงานของคุณเอง เพราะถ้าคุณจ้างพนักงานมาได้อย่างเหมาะสม พวกเขาจะสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องคอยติดตามทวงงาน อย่างไรก็ตามผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่มักเข้าไปจัดการควบคุมพนักงานเมื่อเห็นว่าพนักงานอาจไม่สามารถทำงานได้ตามเวลาที่กำหนด

การควบคุมในที่นี้หมายถึงการตรวจสอบความคืบหน้า สอบถามการบริหารเวลางานทั้งในเวลางานและนอกเวลางาน ตรวจสอบว่าพนักงานลำดับความสำคัญงานอย่างไร ซึ่งถ้าถามตลอดเวลา ถามทุกครั้งที่พบหน้า ก็จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน แม้คุณจะมีเจตนาช่วย แต่เชื่อเถอะว่าการเข้าไปจุกจิกบ่อยๆ เป็นปัจจัยขัดขวางความคืบหน้าและไม่มีพนักงานคนไหนชื่นชอบหรอก หนทางที่ดีคือไว้วางใจสมาชิกของคุณ สอบถามเมื่อจำเป็น และหากเขาทำไม่ทันจริงๆ ค่อยให้ข้อแนะนำ พร้อมกับกำหนดเวลาส่งงานอีกครั้ง

bu4


5.หยุดทำสิ่งที่กระทบต่อค่านิยมองค์กรและวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจ การทำธุรกิจ ต้องมีความยืดหยุ่น ดัดแปลงได้ แต่ต้องไม่ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อค่านิยมหลักขององค์กรและวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจ ซึ่งคุณต้องพยายามทำให้พนักงานรับทราบถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทหรือองค์กรเพื่อให้พวกเขาปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ยกตัวอย่างเช่น องค์กรหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจโดยใช้แนวคิดสร้างผลกำไรไปพร้อมกับการคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน องค์กรอยู่คู่ชุมชนได้ ซึ่งช่วงแรกทำได้จริง แต่พอช่วงหลังกลับหลงลืม เพราะมองกำไรเป็นตัวตั้งเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้พนักงานขาดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะขาดสวัสดิการเรื่องค่าดูแลรักษาพยาบาล แถมองค์กรยังต้องการขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ชุมชนก็เดือดร้อนเพราะการกว้านซื้อที่และการก่อสร้างโรงงานขององค์กร เป็นต้น

ดังนั้น การตั้งวัตถุประสงค์และค่านิยมองค์กร จึงเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง และควรทำให้ได้จริง ไม่เช่นนั้น คุณอาจหลงทางได้ง่ายๆ องค์กรสูญเสียชื่อเสียง และขาดความน่าเชื่อถือไปในที่สุด

 

แปลและเรียบเรียง : เจษฎา ปุรินทวรกุล
Create by smethailandclub.com

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook