3 สิทธิที่ลูกหนี้ต้องรู้! เพื่อกู้เงินแบบไม่เจ็บตัว

3 สิทธิที่ลูกหนี้ต้องรู้! เพื่อกู้เงินแบบไม่เจ็บตัว

3 สิทธิที่ลูกหนี้ต้องรู้! เพื่อกู้เงินแบบไม่เจ็บตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เม็ดเหงื่อที่ซึมผ่านร่างกายล้วนแล้วเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของนักต่อสู้ ผู้ไม่เคยแพ้ต่ออุปสรรคของชีวิต กี่ปี่มาแล้วที่คนทำงาน มนุษย์เงินเดือนต้องจับจ่ายใช้สอยประหยัด ข้าวแต่ละมื้อ สิ่งของแต่ละอย่างต้องกินต้องใช้อย่างอดออม ในสภาวะเศรษฐกิจรัดเข็มขัด

     แต่เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายจำเป็นหรือฉุกเฉิน ทั้งค่าเทอมลูก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนรายจ่ายต่างๆ จะหันไปทางไหนดีล่ะ หลายคนเคยอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ใช่ไหม ตกอยู่ในภาวะหลังพิงฝา หันไปพึ่งใครไม่ได้ ชีวิตวนเวียนอยู่กับการกู้นอกระบบ ยืมที่นู่นมาโปะที่นี่ หมุนเงินใช้ไม่เคยทัน ต้องจมอยู่กับการใช้หนี้ดอกเบี้ย วิ่งหาแหล่งทุนไปกู้เงินไม่รู้จบ ต้องกลายสภาพเป็น "ลูกหนี้" ไปทั้งชีวิต!!

      Sanook! Money แนะนำว่า ถ้าคุณจำเป็นต้องเป็นลูกหนี้จริงๆ แทนที่จะกู้นอกระบบ ให้หันมากู้สถาบันการเงินกันดีกว่า เพราะมีกฎหมายคุ้มครอง ซึ่งถ้าคุณรู้และเข้าใจสิทธิ์ของตัวเอง ก็จะช่วยให้คุณกู้ยืมเงินได้โดยไม่เจ็บตัว

     สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

     ถึงจะเป็นลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่ไม่บิดเบือนและเพียงพอต่อการตัดสินใจกู้ยืม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ข้อผูกพันตามสัญญา เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้กฎหมายกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินที่ต้องนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ตามช่องทางให้บริการต่าง ๆ ให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ อาทิ ช่องทางออนไลน์ สาขา หรือช่องทางลูกค้าสัมพันธ์

     ถ้าพบสถาบันการเงินที่ไม่ให้ข้อมูลหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ ลูกหนี้มีสิทธิ์ร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศศง. ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยโทรไปที่หมายเลข 1213

     สิทธิที่จะได้รับสัญญาการกู้ยืมเงินและใบเสร็จรับเงิน

     ข้อดีของการกู้เงินในระบบอีกอย่างก็คือ ลูกหนี้จะได้รับสัญญาการกู้ยืมเงินที่ระบุรายละเอียดทุกอย่างอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา เป็นสัญญาที่มีเนื้อหาตรงกัน 2 ฉบับ เพื่อให้ลูกหนี้และสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ เก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ
     ข้อมูลที่ระบุไว้ในสัญญา ได้แก่
     -ชื่อที่อยู่ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือนั่นเอง
     -วันที่ขอกู้เงิน จำนวนเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ระยะเวลาการกู้ยืม
     -รายละเอียดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงหนี้

     สิทธิการถูกทวงหนี้ที่ปลอดภัย

     คนทำงานอย่างเราๆ บางทีก็คงมีกันบ้างที่จะจ่ายหนี้เกินเวลา เพราะไม่สามารถหมุนเงินได้ทันจริงๆ กรณีแบบนี้ ลูกหนี้ต้องยอมรับว่า เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะทวงถามและติดตามหนี้ แต่ที่ขีดเส้นใต้ไว้เลยว่าสิ่งที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ทำก็คือ วิธีการทวงหนี้ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ ทำลายข้าวของ หรือทำให้อับอายด้วยวิธีต่างๆ ที่บางครั้งลามไปถึงคนใกล้ตัวของลูกหนี้

     เพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ รัฐบาลจึงได้ออก พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ โดยในกฎหมายฉบับนี้กำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน อย่างเช่นกรณีที่เจ้าหนี้ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ก็จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นเดียวกับกรณีที่เจ้าหนี้ส่งเอกสารทำให้ลูกหนี้รู้สึกกลัวและเข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล

     Sanook! Money ขอย้ำอีกครั้งว่า การเป็นลูกหนี้มีสิทธิมากกว่าที่หลายคนคิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่บนเงื่อนไขของการกู้หนี้ในระบบจากสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่การกู้หนี้นอกระบบที่อาจจะดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นผลดีต่อตัวลูกหนี้เลยเพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครองและอาจเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม

 

     ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเงินติดล้อ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook