ถ้ามีเงินเก็บไว้หลายที่จะจัดการยังไง

ถ้ามีเงินเก็บไว้หลายที่จะจัดการยังไง

ถ้ามีเงินเก็บไว้หลายที่จะจัดการยังไง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มันเป็นคำถามยอดฮิตที่เราเจอบ่อยๆตอนที่ไปให้คำปรึกษาทางการเงิน ที่บูธ Aommoney ในงานมหกรรมการเงิน SET in the City ที่พารากอน วันนั้นทีมงานไปโปรโมท www.aommoney.com พร้อมกับนักเขียนมาให้คำปรึกษาทางด้านการเงินฟรีและบทความนี้ “ถ้ามีเงินเก็บไว้หลายที่จะจัดการยังไง“เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจนะจ๊ะ

ในอดีตหลายคนเก็บเงินไว้ที่ฝากประจำ ออมทอง กองทุนรวม (กองทุนรวมทั่วไปและกองทุนรวมที่ใช้ลดหย่อนภาษี) หุ้น ประกันชีวิต สินทรัพย์ให้เช่า ฯลฯ บางคนมีหลายที่เยอะมากจนจำไม่ได้ว่าตนเองมีอะไรบ้าง ตอนนี้มีเงินก้อนใหม่เข้ามาก็อยากจะทำให้เติบโต แต่ยังไม่รู้จะเอาไปทำอะไรดี ลองอ่านแนวทางนี้ไปปรับใช้นะจ๊ะ

2 ขั้นตอนที่ทำให้รู้ว่าเงินไปอยู่ที่ไหนบ้าง

ก่อนที่เราจะวางแผนการใช้เงินก้อนนนี้เพื่ออนาคต ควรอัพเดทการลงทุนแบบเก่าๆก่อนน่าจะดีกว่าไหมว่าเป็นยังไงบ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าจะนำเงินก้อนใหม่นี้ไปเก็บไว้ที่ไหนที่จะตรงกับเป้าหมายของเรามากที่สุดนะจ๊ะ

ขั้นตอนที่ 1 เขียนสรุปในกระดาษหรือ Excel

เขียนเป้าหมายทางการเงินและข้อมูลที่เก็บเงินทั้งหมดของเราให้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่าตอนนี้เราอยู่ส่วนไหนของเป้าหมายแล้ว อยู่ที่จุดเริ่มต้นหรือว่าใกล้จะสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น เราต้องการสร้างเป้าหมายเกษียณ แต่พอสรุปข้อมูลการเงินของตัวเองออกมา กลับมาเงินเพื่อเกษียณน้อยกว่าที่คิดไว้ แสดงว่าเราจะต้องเพิ่มการเก็บเงินเกษียณมากขึ้น เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. RMF ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นต้น

เราเห็นภาพรวมว่าเงินทั้งหมดไปกองรวมกันอยู่ที่ไหน ในระยะสั้น กลางและยาวเท่าไหร่ มีหนี้ิสินระยะสั้นและยาวเท่าไหร่ สามารถสร้างหนี้เพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ เมื่อเราเห็นภาพใหญ่แล้วจะได้รู้ว่าควรนำเงินก้อนที่มีอยู่นี้ไปทำอะไรต่อไป

อาจจะใช้แนวทางของ “แผนที่การเงิน” (ภาพข้างล่างนี้) มาสรุปเส้นทางการเงินของตัวเองนะจ๊ะ


ขั้นตอนที่ 2 รู้ว่าจะใช้เงินก้อนนี้ไปทำอะไร

กองทุนรวม

ปัญหา :

• บางคนชอบซื้อกองทุนรวม มีเยอะมากจนจำไม่ได้
• ไม่เคยติดตามผลงานเลยว่ากองทุนที่ซื้อไปนั้น ให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง
• 4-5 กองทุนที่ซื้อไปมีนโยบายการลงทุนคล้ายๆกัน แต่กลับให้ผลตอบแทนแตกต่างกันสุดขั้ว ถ้าลงทุนเป็นเบี้ยหัวแตกแบบนี้เงินก็เติบโตได้ไม่เต็มที่ซิจ๊ะ

ทางแก้ไข :

•สรุปกองทุนรวมทั้งหมดให้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกัน เช่น

       ο นโยบายการลงทุน
       ο ผลตอบแทนเท่าไหร่
       ο จำนวนเงินลงทุน
       ο LTF กองนี้ขายได้ปีอะไร (เผื่อฉุกเฉินต้องใช้เงินจะขายได้แบบไม่ผิดกฎ) เป็นต้น

• ควรติดตามการลงทุนทุก 6 เดือน เพื่อจะได้ดูว่าผลตอบแทนเป็นเท่าไหร่และควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร

• กองทุนรวมทั่วไป : ลดหย่อนภาษีไม่ได้

       ο ยุบกองทุน สมมติว่าเรามีทั้งหมด 5 กองทุนและมีนโยบายการลงทุนที่คล้ายกันมาก แต่ผลตอบแทนแตกต่างกันสุดขั้ว ควรรวมให้เหลือกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด 1-2 กองทุน จะได้รับผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำมากกว่าการลงทุนแบบเบี้ยหัวแตก

• กองทุนรวมลดหย่อนภาษี : ถ้าเสียภาษีถึงจะซื้อ LTF , RMF

       ο สับเปลี่ยนกองทุน LTF ครบ 7 ปีถึงจะขายได้และ RMF ขายได้ตอนอายุ 55 ปี เราจะเห็นแล้วว่าใช้เวลานานกว่าจะขายได้ ถ้าเราซื้อหลายกองทุนที่มีทั้งผลตอบแทนสูงต่ำสลับกันไป มันค่อนข้างจะเสียโอกาสในการสร้างผลตอบแทน มันน่าจะดีกว่าถ้าเราลดหย่อนภาษีและได้รับผลตอบแทนที่สูงๆไปพร้อมกันด้วย โดยใช้วิธีการสับเปลี่ยนกองทุนรวมให้มาอยู่รวมกันในที่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด (อ่านวิธีการได้ที่ สับเปลี่ยนกองทุน LTF และ RMF เพื่อไม่ให้มีปัญหาภาษี พร้อมวิธีทำhttp://tax.bugnoms.com/ltf-rmf-switching/)

• ถ้ามีเงินก้อนใหม่เข้ามา เราเลือกได้ว่าจะสะสมเข้าไปที่กองทุนรวมแบบเดิม หรือกระจายความเสี่ยงไปที่กองทุนรวมอื่นๆที่มีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างจากเดิม

ประกันชีวิต

ปัญหา :

• บางคนทำทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ มีหลายกรมธรรม์จนจำไม่ได้ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าว่าเกษียณไปมีเงินใช้สบายๆแน่นอน โดยลืมดูสภาพคล่องในระยะสั้น ถ้าช๊อตเงินตอนนี้มีแต่จะกู้ยืมอย่างเดียว
• หลายคนไม่เคยบอกคนในครอบครัวว่าตัวเองทำประกันชีวิต กว่าบริษัทประกันจะรู้และจ่ายเงินประกันมาให้ก็ใช้เวลานาน บางครั้งถ้าผู้รับผลประโยชน์ไม่ไปแจ้งบริษัทก็จะไม่ได้รับเงินเพราะบริษัทไม่รู้ว่ามีใครเสียชีวิตบ้าง

ทางแก้ไข:

• การทำประกันชีวิตเพื่อชีวิตเกษียณลั้นลานั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรมุ่งเก็บเงินเพื่ออนาคตมากเกินไป จนลืมสภาพคล่องในระยะสั้น อย่างการเก็บเงินฉุกเฉิน ดังนั้น ถ้ามีเงินก้อนใหม่เข้ามาควรแบ่งเก็บไว้เป็นเงินฉุกเฉินให้ครบก่อนที่จะนำไปใช้อย่างอื่นนะจ๊ะ ( อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ 3 ทางเลือกสร้างเงินฉุกเฉินขั้นเทพ คลิกที่นี่)

• ควรบอกคนใกล้ชิดว่าตนเองทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพไว้ พร้อมทั้งบอกเบอร์โทรติดต่อตัวแทน call center ของบริษัท เผื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับเรา(คนทำประกันชีวิต) จะได้มีคนไปแจ้งตัวแทนหรือบริษัทให้จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายและนำเงินประกันที่ทำไว้มาให้คนในครอบครัวของเราได้ (สอบถามปัญหาหรือขอข้อมูลการทำประกันชีวิตได้ที่

สรุปว่า…

จากปัญหาที่เจอตอนให้คำปรึกษามีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของกองทุนรวมกับประกันชีวิตนี่แหละที่หลายๆคนมักจะมองข้ามไป เรามาสรุปลงในบทความนี้เพื่อให้คนอื่นๆที่เจอคล้ายๆกันนำไปประยุกต์ใช้ได้

ดังนั้น ก่อนที่จะวางแผนนำเงินก้อนใหม่ไปทำอะไรดีนั้น เราควรดูว่าตอนนี้เราลงทุนอะไร เก็บเงินแบบไหนบ้าง จากนั้นก็ปรับปรุงให้มันดีก่อน แล้วค่อยนำเงินก้อนใหม่ไปใส่ไว้ในเรื่องที่เราขาดหายไป เช่น เก็บเงินระยะยาวมากเกินไป ควรแบ่งเงินมาสร้างสภาพคล่องในระยะสั้นด้วย ซึ่งในภาพของ “แผนที่การเงิน” น่าจะเป็นแนวทางให้หลายๆคนนำไปปรับใช้ได้นะจ๊ะ


อภินิหารเงินออม AomMoney Guru

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook