นายกฯยันไม่ได้ยกที่ดินให้ต่างชาติ “อุตตม”ย้ำสิทธิฯการลงทุน ใน EEC เป็นไปตามเงื่อนไข

นายกฯยันไม่ได้ยกที่ดินให้ต่างชาติ “อุตตม”ย้ำสิทธิฯการลงทุน ใน EEC เป็นไปตามเงื่อนไข

นายกฯยันไม่ได้ยกที่ดินให้ต่างชาติ “อุตตม”ย้ำสิทธิฯการลงทุน ใน EEC เป็นไปตามเงื่อนไข
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลจึงพยายามแก้ปัญหาทุกประการ ทั้งเรื่องกฎระเบียบ พระราชบัญญัติ การค้าการลงทุนต่างๆมากมาย เรื่องของการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ที่ต้องดูว่าต่างประเทศและรอบบ้านว่าปรับปรุงอะไรไปบ้างด้วยถ้าเราทำอะไรน้อยเกินไป อย่าคิดว่าจะมีใครมาลงทุน เพราะเรามีข้อจำกัดเรื่องค่าแรงงานของเราที่สูงกว่ารอบบ้าน จึงเป็นปัญหาแลข้อพิจารณาหลักของการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ผ่านมาบีโอไอของเรายังไม่ทันสมัย



"ทั้งหมดผมขอยืนยันว่าทั้งหมดต้องอยู่ในกำหนดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน การใช้ที่ดินต่างๆ เมื่อหมดสัญญาก็ต้องเป็นของเรา เพราะเป็นเพียงช่วงสัญญาที่มีการเข้ามาประกอบการ ไม่ใช่ทุกอย่างจะขายหรือยกให้กับนักธุรกิจต่างชาติเดี๋ยวจะตีความผิด ส่วนจะมากหรือน้อยก็ต้องดูที่รอบบ้านด้วย เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้มีการเข้ามาลงทุนในประเทศ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็พยายามที่จะทำให้ค่าแรงนั้นสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ขออย่าตื่นตระหนกเดี๋ยวจะไปกันใหญ่ การค้าการลงทุน ตลาดหุ้นจะลงทั้งหมด ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดด้วย"

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวกรณีมีกระเเสข่าวว่านักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor Development หรือ EEC) เป็นเวลา 99 ปี ว่า น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกกำหนด ประกอบด้วย 1.ต้องเป็นพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) 2.ต้องเป็นโครงการที่สนับสนุน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ 3.ทุกโครงการต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ เช่น ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ ผลกระทบที่เกิดกับชุมชน และการแนวทางการเยียวยา และ 4.ก่อนการอนุมัติโครงการต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงมีการเปิดเผยผลการศึกษา และร่างผังของเขตส่งเสริมที่จะขอรับการสนับสนุน

“ผมขอเรียนชี้แจงถึงกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิประโยชน์ของการเช่าที่ดินในเขตพื้นที่ EEC ไม่ใช่ 99 ปี แต่สัญญาครั้งแรกไม่เกิน 50 ปี และขยายตัวได้ตามความตกลงอีกไม่เกิน 49 ปี เหมือนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเป็นไปตามกฎหมายที่ปฏิบัติในปัจจุบัน ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็นไปตาม พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์และการพาณิชย์ พ.ศ.2542 ซึ่งการให้สิทธิการเช่าที่ดินในระยะยาวเป็นสิ่งที่หลายประเทศได้ดำเนินการเป็นปกติ 50 ปี สามารถขยายได้ 49 ปี เช่น ประเทศมาเลเซียให้เช่าที่ดินได้ 60 ปี ขยายรวมได้ไม่เกิน 99 ปี แต่ทั้งนี้ การให้ระยะเวลานานเท่าใดขึ้นอยู่กับแต่ละผลการศึกษาของแต่ละโครงการควรจะได้เท่าใดจึงจะเหมาะสม” นายอุตตม กล่าว

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่า “รัฐบาลตระหนักดีว่าต้องดูแลในเรื่องของสิทธิประโยชน์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และจะไม่มีการต่ออายุการเช่าที่ดินโดยอัตโนมัติหลังหมดระยะเวลาการเช่าที่ดินครั้งแรก ทุกโครงการจะต้องทำการศึกษาและตรงตามเงื่อนไขที่ทางคณะกรรมการบริหาร EEC กำหนด เช่น จำนวนเงินลงทุน การจ้างงาน และสร้างประโยชน์ให้กับโครงการอย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook