5 สิ่งสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาเช่าบ้าน

5 สิ่งสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาเช่าบ้าน

5 สิ่งสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาเช่าบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยการปล่อยเช่านั้นเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมในปัจจุบัน ด้วยผลตอบแทนที่สูงและไม่ต้องเหนื่อยมากมาย ทำให้หลายคนนิยมลงทุนด้วยวิธีนี้กันมาก แต่ถึงอย่างไรหัวใจสำคัญของการปล่อยเช่านั้นคือ การคัดเลือกผู้เช่าและการทำสัญญาเช่าที่รัดกุมมากพอ ซึ่งคนที่ยังเป็นมือใหม่มักจะเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะเขียนสัญญาเช่าอย่างไรดี TerraBKK Research แนะนำว่าลองหาโหลดจากเวปไซต์ที่น่าเชื่อถือและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม

นอกจากนี้ควรหาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาเป็นที่ปรึกษาและตรวจสอบสัญญาเช่าอีกครั้งเพื่อให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไร TerraBKK Research ขอแนะนำ 5 สิ่งที่จำเป็นจะต้องระบุลงไปในสัญญาเช่าบ้าน ดังนี้

1. “ชื่อ” ผู้ที่ทำสัญญาด้วย
นับเป็นความจำเป็นอันดับแรกๆที่ต้องเขียนไว้ในสัญญาเช่าว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างใครกับใคร แม้จะมีการขอหลักฐานที่เป็นสำเนาบัตรประชาชนแล้วก็ตาม กรณีของบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องระบุผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย ตัวอย่างการเขียนระบุชื่อผู้เช่า สามารถเขียนได้ดังนี้

ter2404601

2. “ที่อยู่” ของบ้านเช่า
ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยที่บางคนอาจมองข้ามไป ด้วยคิดว่าเป็นที่รู้กันอยู่ว่าเช่าบ้านที่ไหน แต่ถึงอย่างไรก็ควรระบุลงไปให้ถูกต้องว่าบ้านเช่าหลังนี้ตั้งอยู่ที่ไหน อย่างไร? ซึ่งตัวอย่างของการเขียน มีดังนี้

ter2404602

3. “ระยะเวลา” ของสัญญาเช่า
การทำสัญญาจะต้องมีการระบุเวลาที่แน่ชัดลงไปว่าเริ่มต้นทำสัญญาวันไหน เมื่อไหร่ ที่ไหน? และวันที่สิ้นสุดสัญญา ซึ่งเป็นวันที่ผู้เช่าจะต้องย้ายออก หรืออาจจะต่อสัญญาไปอีกแล้วแต่ตกลง แต่ถึงอย่างไรก่อนย้ายออกหรือต่อสัญญา ผู้เช่าควรแจ้งเจ้าของบ้านล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนเพื่อให้เจ้าของเตรียมตัวว่าจะต้องทำสัญญาฉบับใหม่หรือเตรียมที่จะหาผู้เช่ารายใหม่ต่อไป

4. “จำนวนเงิน” ค่าเช่าตลอดระยะเวลาทำสัญญา
เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของการระบุในสัญญาเช่าว่า ตลอดระยะเวลาการเช่า ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่? วันไหน? จ่ายอย่างไร? ซึ่งตรงนี้เจ้าของบ้านเองก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หรือหากจะให้รัดกุมมากยิ่งขึ้นควรระบุถึง “ค่าปรับ” เมื่อผู้เช่าจ่ายค่าเช่าล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้โดยที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า นอกจากนี้การระบุตัวเลขที่เป็นจำนวนเงินควรมีการเขียนจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรประกอบไว้ด้วยเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการระบุจำนวน หรือป้องกันการแก้ไขในภายหลังโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

5. “ลายเซ็น” ลงชื่อคู่สัญญาและพยาน
ทุกครั้งที่มีการทำสัญญากันจะต้องมีการลงลายเซ็นของคู่สัญญาและพยานทุกครั้ง เพื่อรับรองว่าได้อ่านสัญญาเป็นที่เข้าใจดีแล้ว กรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องมีการประทับตราบริษัทด้วย กรณีที่สัญญามีหลายหน้า ต้องมีการเซ็นกำกับทุกหน้า และต้องมีพยานเซ็นร่วมรับรู้เช่นกัน

นอกจากนี้การร่างสัญญาควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ และไม่เขียนซับซ้อนวกวนไปมา และนอกจากนี้สัญญาที่ดีจะต้องไม่เป็นการเอาเปรียบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป จะต้องยุติธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้อง “อ่านสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อนลงลายมือชื่อ” เพราะการเซ็นลงสัญญาแล้วเท่ากับรับรู้และยอมรับข้อความในสัญญาแล้ว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook