เตือน! นิติบุคคลยื่นแบบฯประจำปี และทำบัญชีชุดเดียวให้ถูกต้อง

เตือน! นิติบุคคลยื่นแบบฯประจำปี และทำบัญชีชุดเดียวให้ถูกต้อง

เตือน! นิติบุคคลยื่นแบบฯประจำปี และทำบัญชีชุดเดียวให้ถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมสรรพากร แจ้งเตือนบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพธุรกิจ โดยวันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ คือ วันที่ 30 พ.ค.60 ส่วนยื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สิ้นสุดในวันที่ 7 มิ.ย.60

นายสมชาย แสงรัตนมณีเดช รองอธิบดีกรมสรรพากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.52 หรือ ภ.ง.ด.55 แล้วแต่กรณีพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในปีนี้วันสุดท้ายของการยื่นแบบฯ ตรงกับวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2560 สำหรับผู้ที่ยื่นแบบฯ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ที่ www.rd.go.th จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯ และชำระภาษีออกไปถึงวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2560”

โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้แนะนำผู้ประกอบการให้จัดทำงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ (จัดทำบัญชีชุดเดียว) และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป สถาบันการเงินต้องใช้บัญชีและงบการเงินที่ผู้ประกอบการแสดงต่อกรมสรรพากรเท่านั้นเป็นหลักฐาน ในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขออนุมัติสินเชื่อ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประกอบการบางรายขาดความรู้ ความเข้าใจในการเสียภาษีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ อาจส่งผลให้เสียโอกาสทางธุรกิจ และเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง จึงขอให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีชุดเดียวและทำงบการเงินให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมงบการเงินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ถือเป็นความผิดทั้งกรณีไม่ยื่นแบบฯ และกรณีไม่ยื่นงบการเงิน รวมเป็นความผิดสองกระทง จะต้องชำระค่าปรับเหตุแห่งการล่าช้ากระทงละไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนมูลนิธิหรือสมาคมปรับกระทงละไม่เกิน 1,000 บาท และกรณีมีภาษีที่ต้องชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระอีกด้วย”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook