4 บทเรียนจากการยื่นภาษี ที่สามารถปรับใช้ในปีต่อไป

4 บทเรียนจากการยื่นภาษี ที่สามารถปรับใช้ในปีต่อไป

4 บทเรียนจากการยื่นภาษี ที่สามารถปรับใช้ในปีต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฤดูกาลยื่นภาษีสำหรับคนไทยก็ได้ผ่านพ้นไปแล้วนะคะ แต่ก่อนที่คุณจะสบายใจและผ่อนคลายหลังจากที่ได้ยื่นภาษี เรามาใช้เวลาสักครู่เพื่อทบทวนตัวเองกันก่อนดีกว่า ว่าวันที่ต้องยื่นภาษีคุณเกิดความเครียดหรือไม่? ถ้าคำตอบคือใช่ ถึงเวลาแล้วที่จะมาอ่านบทเรียนสำคัญ ที่คุณสามารถนำเอาไปปรับใช้ในการยื่นภาษีปี 2018 ได้ เรารับประกันได้เลยว่า เมื่อคุณอ่านบทเรียนเหล่านี้แล้ว คุณจะไม่เกิดความเครียดเมื่อต้องยื่นภาษีต้นปีหน้าแน่นอนค่ะ!

บันทึกรายได้และเก็บรวบรวมเอกสารทั้งหมดของคุณ

โดยเฉพาะอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับภาษีที่คุณต้องจ่ายในระหว่างปี นอกเหนือจากรายได้จากงานประจำ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการทำงานอิสระ เงินปันผล การลงทุน และการจ่ายดอกเบี้ย คุณจะได้รู้คร่าว ๆ ว่าในปีนั้น ๆ คุณจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ คุณจะได้มีเวลาในการเตรียมเงินภาษี ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินของคุณในช่วงที่ต้องเสียภาษี

คุณต้องเก็บเอกสารที่จำเป็นในการยื่นภาษีของคุณทั้งหมด ตลอดจนเอกสารจากธนาคาร บริษัทที่ลงทุน และบริษัทที่จดจำนองของคุณ ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญในการยื่นภาษี โดยเอกสารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกส่งให้คุณในเดือนมกราคมค่ะ

นอกจากนี้ หากคุณบริจาคเงินเพื่อการกุศล คุณจะต้องมีเอกสารรับรองหรือใบเสร็จรับเงินด้วย หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก คุณจะต้องมีใบเสร็จจากการซื้อของทั้งหมด หากคุณวางแผนจะลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล คุณจะต้องมีใบเสร็จจากโรงพยาบาลที่คุณไปรักษา เพราะสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากในการลดหย่อนยื่นภาษีของคุณ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะต้องเก็บเอกสารเหล่านี้เอาไว้เป็นอย่างดี

การหักลดหย่อนภาษี

การหักลดหย่อน หมายถึง รายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้น หลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1. การหักลดหย่อนบุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
2. สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
3. บุตรให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้
4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
6. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
7. ค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถหักลดหย่อนและยกเว้นได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
8. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
9. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์
10. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
11. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
12. ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นได้ตามที่จ่ายจริง
13. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
14. เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
15. ค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
16. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP : One Tambon One Product)
17. เงินได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
18. เงินบริจาค เป็นรายการลดหย่อนสุดท้ายก่อนนำเงินได้ไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
19. การหักลดหย่อนในกรณีผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่
20. การหักลดหย่อนในกรณีกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
21. การหักลดหย่อนห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
22. การหักลดหย่อนวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

หากคุณทำพลาดในการยื่นภาษี คุณสามารถแก้ไขได้

เวลายื่นภาษีอาจทำให้หลายคนทำผิดพลาดได้ โดยเฉพาะคนที่ต้องยื่นภาษีด้วยตนเอง อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรไม่มีพนักงานที่จะมาคอยตรวจสอบผู้คนจำนวนมากที่ยื่นภาษีทุกคนได้ แต่พวกเขาจะไปตรวจคนที่มั่งคั่งหรือคนที่มีผลตอบแทนทางภาษีที่น่าสงสัยมากกว่าค่ะ ดังนั้นหากคุณพบว่าคุณทำผิดพลาดในขณะที่คุณยื่นภาษี คุณก็สามารถขอยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลได้โดยไม่ยุ่งยากค่ะ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1. Log in เข้าสู้ระบบที่ www.rd.go.th
2. กดเลือกที่ ภงด 90/91 (หน้าเดียวกับการยื่นภาษีใหม่)
3. หน้าจอจะแสดงเลขที่แบบการยื่นภาษีที่คุณยื่นไว้แล้ว
4. กดเลือกตรงเลขที่แบบการยื่นภาษี
5. หน้าจอจะแสดงแบบที่คุณยื่นนั้น
6. กดเลือก “ยกเลิก” ที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ

เพียงเท่านี้นี้คุณก็ได้ยกเลิกเรียบร้อยแล้วค่ะ ตอนยื่นใหม่ก็ทำตามขั้นตอนปกตินะคะ การยื่นภาษีเป็นหน้าที่อย่างหนึงของคนไทยที่มีคุณสมบัติในการยื่นภาษีต้องทำนะคะ เพราะภาษีที่คุณเสียไป ก็เป็นเงินที่เอาไปพัฒนาประเทศชาติต่อไปนั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook