ก.แรงงานผนึก 200 พันธมติ สร้างแรงงานไทย 4.0 คาดยอด 100,000 คน

ก.แรงงานผนึก 200 พันธมติ สร้างแรงงานไทย 4.0 คาดยอด 100,000 คน

ก.แรงงานผนึก 200 พันธมติ สร้างแรงงานไทย 4.0 คาดยอด 100,000 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก.แรงงาน จับมือ สามพันธมิตร รวมกว่า 200 แห่งสร้างแรงงานไทย 4.0 สานพลังประชารัฐ พัฒนาทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีชั้นสูงและสร้างแรงงาน Green Jobs นำไปสู่ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจของประเทศ คาดมีผู้เข้าร่วมกว่า 100,000 คน


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาฝีมือแรงงานสาขาเทคโนโลยีชั้นสูง ภายใต้โครงการสามพันธมิตร สานพลัง สร้างแรงงานไทย ระหว่าง นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถานประกอบการ และมหาวิทยาลัย รวมกว่า 200 แห่ง โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามดังกล่าวด้วย

วันนี้(24 พ.ค.60) ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม อาคารกระทรวงแรงงาน โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า "รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านกำลังแรงงาน เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงาน 20 ปี และแผนแม่บทพัฒนากำลังแรงงาน 5 ปี ที่สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาแรงงานจาก Man Power ไปสู่พลังปัญญาหรือ Brain Power โดยมีกลไกประชารัฐเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเตรียมความพร้อมด้านทักษะด้านแรงงานให้แก่กำลังแรงงานของประเทศที่จะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ Brain Power บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

พลเอก ศิริชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมภายหลังพิธีลงนามว่า “สำหรับความร่วมมือ ภายใต้โครงการ“สามพันธมิตร สานพลัง สร้างแรงงานไทย 4.0” มีพันธมิตรทั้งภาคสถานศึกษาและภาคเอกชนมาร่วมลงนามกันในครั้งนี้ รวมกว่า 200 แห่ง ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานให้มีทักษะฝีมือสอดคล้องกับความต้องการ มีความรู้ความสามารถ ในการทำงานที่มีความยาก มีความสลับซับซ้อน มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถสนับสนุน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งมี 2 หลักสูตร คือ

หลักสูตรที่เกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ สาขาโลจิสติกส์ สาขาดิจิทัล ท่องเที่ยวและบริการ แมคคาทรอนิกส์ สาขาเกษตรแปรรูปและอาหาร สาขาไฟฟ้าอิเล้กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น โดยสถานประกอบกิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เมื่อมีการพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักสูตรที่ 2 คือ หลักสูตร Green Jobs ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อให้เข้าสู่ธุรกิจ Green Jobs ซึ่งงานดังกล่าวจะเป็นการช่วยสร้างเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

โดยกรอบความร่วมมือครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ที่เข้ารับการพัฒนาด้านทักษะแรงงานทั้งในส่วนของแรงงานในสถานประกอบการและนักศึกษาที่เตรียมพร้อมเป็นแรงงาน 4.0 ประมาณ 100,000 คน”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook