มาทำความรู้จักกับอคติทางการเงิน เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้น (1)

มาทำความรู้จักกับอคติทางการเงิน เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้น (1)

มาทำความรู้จักกับอคติทางการเงิน เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้น (1)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Behavioral Finance หรือการเงินเชิงพฤติกรรม เป็นการนําหลักการด้านจิตวิทยามาใช้อธิบายการตัดสินใจและพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าพฤติกรรมการตัดสินใจที่ ผิดพลาดของนักลงทุนมีสาเหตุสําคัญมาจากอคติ หรือ Bias ซึ่งอคติที่น่าสนใจ ดังนี้

Regret theory เป็นการโต้ตอบทางอารมณ์ของคนเราหลังจากที่รับรู้ว่าตนเองได้พิจารณาผิดพลาดไป เมื่อต้องทำการขายหุ้น ทั้งนี้ นักลงทุนมักจะถูกกระทบทางด้านอารมณ์จากราคาต้นทุนของหุ้นที่ตนเองซื้อมา พวกเขาจึงหลีกเลี่ยงที่จะขายหุ้นตัวที่ขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจว่าตนเองได้ลงทุนผิด ดังนั้น คำถามที่นักลงทุนควรที่จะถามตัวเองเมื่อจะตัดสินใจขายหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ก็คือ “ถ้าเราขายหุ้นตัวนั้นๆ ออกไปแล้ว เราจะลงทุนในหุ้นตัวนี้ ณ ราคาปัจจุบันอีกหรือไม่” ซึ่งถ้าคำตอบที่ได้คือ “ไม่” นั่นหมายถึงเวลาที่ควรจะต้องขาย มิเช่นนั้นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นก็คือความเสียใจที่เกิดจากการซื้อหุ้นผิดตัวและต้องเสียใจซ้ำอีกครั้งจากการที่ไม่ได้ขายหุ้นตัวนั้นออกไป

Herding behavior เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักจิตวิทยาได้ 2 ประการ คือ ทุกคนต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม การตัดสินใจจึงอิงกับคนส่วนใหญ่ อีกประการหนึ่งบุคคลอาจไม่มีข้อมูลที่มากพอในการตัดสินใจ จึงอาศัยข้อมูลที่คนส่วนมากมี แม้ว่าข้อมูลที่คนส่วนมากรู้อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไป เช่น internet bubble, dotcom herding เป็นต้น

Loss-aversion theory ความโน้มเอียงที่เราจะป้องกันความสูญเสีย มากกว่าที่เราจะพยายามให้ได้ผลกำไร งานวิจัยโดยมากแสดงว่า โดยทางความรู้สึกทางจิตใจแล้ว การสูญเสียมีอำนาจมากกว่าการได้มาประมาณสองเท่า ความโน้มเอียงนี้จะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk aversion) ในสถานการณ์ที่การได้การเสียมีโอกาสเท่าๆ กัน เพราะเราชอบใจที่จะหลีกเลี่ยงการเสียมากกว่าที่จะได้

ความโน้มเอียงนี้อาจจะอธิบายปรากฏการณ์การตัดสินใจเพื่อผลที่จะได้ในอนาคตโดยคำนึงถึงต้นทุนที่จมไปแล้ว (sunk cost) ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ไม่สมเหตุผลอีกด้วย (คือการพิจารณาที่สมเหตุผลจะคำนึงว่า เราต้องเสียเงินทุนเท่าไรในตอนนี้เพื่อจะได้ผลที่จะได้ในอนาคต โดยไม่คำนึงถึงการลงทุนที่ทำไปแล้วในอดีต) นอกจากนี้ทฤษฎีนี้พยากรณ์ว่า คนที่เสียเงิน 100 บาทจะเสียใจมากกว่าคนที่ได้เงิน 100 บาทจะดีใจ เป็นต้น

ลองพิจารณาดูนะคะว่า เรามีอคติทางการเงินดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ เพื่อจะได้เกิดการตระหนักรู้ และทำให้เรามีความสามารถในการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้นค่ะ

600x600px_29052017

สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวางแผนการเงิน สามารถส่ง email มาได้ที่ nipapuntalk@hotmail.com แล้วพบกันในตอนต่อไปค่ะ

ผู้เขียน โค้ชนิ นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® เจ้าของผลงาน pocket book ‘เปลี่ยนชีวิตสู่ความมั่งคั่งด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘มีเงินล้านด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘อยากรวยต้องรู้จักวางแผนการเงิน’ และ ‘รวยทะลุเป้า

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook