ประกันสังคมร่อนหนังสือแจงยิบ หลังโดนร้องเรียนบริการแย่!

ประกันสังคมร่อนหนังสือแจงยิบ หลังโดนร้องเรียนบริการแย่!

ประกันสังคมร่อนหนังสือแจงยิบ  หลังโดนร้องเรียนบริการแย่!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ประกันสังคม" แจงยิบหลังโดนร้องเรียนโรงพยาบาลบริการแย่ ระบุได้เพิ่มค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวแล้ว ยืนยันทุ่มเททำงานเพื่อให้ผู้ประกันตนพอใจ

นางสาวอำพันธ์ ธุววิทย์ ผู้ตรวจราชการกรม ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ส่งหนังสือชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวผู้ประกันตนถูกหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมปีละ 9,000 บาท แต่เมื่อไปรับบริการทางการแพทย์กับโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้รับการบริการที่ไม่ดีนั้น ทางสำนักงานประกันสังคมจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

1.สำนักงานประกันสังคมเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง และผู้ประกันตนร้อยละ 5 ต่อเดือน โดยคำนวณค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์ใน 7 กรณี ให้แก่ผู้ประกับตน ประกอบด้วย กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

ดังนั้นผู้ประกับตนจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสูงสุดเดือนละ 750 บาท ปีละ 9,000 บาท แต่จะมีเงินสมทบกรณีชราภาพเดือนละ 450 บาท ปีละ 5,400 บาท และยังมีเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายสมทบอีกเดือนละ 450 บาทปีละ 5,400 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์

2.การให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมมีกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการรักษาของโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ และโรงพยาบาลที่รับส่งตัวผู้ประกันตนเพื่อเข้ารับการรักษา เพื่อให้ผู้ประกันตนเกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม

3.ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เพิ่มค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เพิ่มค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคที่มีภาระเสี่ยง และเพิ่มค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ที่มีค่าใช้จ่ายสูงให้แก่สถานพยาบาลที่อยู่ในระบบประกันสังคม โดยยึดหลักมุ่งมั่น ทุ่มเทการทำงานเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับความพึงพอใจ

รวมถึงต้องปฏิรูประบบให้บริการทางการแพทย์ ลดความเหลื่อมล้ำ บูรณาการงานด้านบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมมีคุณภาพ นำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook