3 เทคนิคการลงทุนในกองทุนรวมสำหรับมนุษย์เงินเดือน

3 เทคนิคการลงทุนในกองทุนรวมสำหรับมนุษย์เงินเดือน

3 เทคนิคการลงทุนในกองทุนรวมสำหรับมนุษย์เงินเดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในฐานะมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไป ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานประจำ เสาร์อาทิตย์ที่พอจะมีเวลาว่างก็อยากจะพักผ่อนบ้าง เวลาที่จะมาศึกษาเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็จะมีไม่มาก ยิ่งจะให้มาติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ดูยุ่งยากและมากมายก็คงจะไม่ไหว ดังนั้นการลงทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งมีผู้บริหารกองทุนคอยดูแลอย่างกองทุน LTF และ RMF จึงเป็นเครื่องมือการลงทุนที่ตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือนได้ดีที่สุด และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยบทความนี้จะเน้น 3 เทคนิคในเรื่องการลงทุนใน LTF RMF และวิธีการลงทุนของมนุษย์เงินเดือน

LTF: Long Term Equity Fund เป็นกองทุนที่สามารถนำมูลค่าเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องลงทุนเป็นระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน (โปรดศึกษาเงื่อนไขของ LTF เพิ่มเติม) โดย LTF จะเป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในหุ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1. LTF ที่นำเงินทั้งหมดไปลงทุนในหุ้น: เหมาะกับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนได้มาก เนื่องจากหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง ในระหว่างการลงทุนบางปีอาจเห็นผลตอบแทนติดลบ 40% – 50% อย่างไรก็ตามหุ้นมักมีผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เมื่อผู้ลงทุนมีการถือครอง LTF ครบ 7 ปีปฏิทินตามเงื่อนไข กองทุน JUMBO25 ปันผล LTF ของ บลจ. ทหารไทย เป็นหนึ่งในตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้

2. LTF ที่นำเงินลงทุนในหุ้นประมาณ 70%: เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษีผ่าน LTF แต่ไม่อยากรับความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนของ LTF ประเภทนี้จะมีความผันผวนลดลง เนื่องจากมีการแบ่งเงินประมาณ 30% ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาทิเช่น กองทุน JUMBO PLUS ปันผล LTF ของ บลจ. ทหารไทย

 600x600px_03072017

RMF: Retirement Mutual Fund สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บเงินเพื่อเกษียณ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องลงทุนทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (โปรดศึกษาเงื่อนไขของ RMF เพิ่มเติม) และด้วยเงื่อนไขนี้เองทำให้ผู้ลงทุนมีวินัยในการออมเงินและมั่นใจได้ว่าจะมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณและยังสามารถนำมูลค่าเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้กองทุน RMF สามารถแยกย่อยได้อีกหลายประเภท โดยเบื้องต้นจะยกตัวอย่าง 3 ประเภท ดังนี้

1. RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้: เหมาะกับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนของกองทุนส่วนใหญ่เป็นบวกทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่ได้รับมักจะค่อนข้างต่ำตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กองทุนทหารไทยธนไพบูลย์ RMF ของ บลจ. ทหารไทย

2. RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ: เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง โดยกองทุนประเภทนี้จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ซึ่งทำให้ทั้งโอกาสในการลงทุนและความผันผวนในการลงทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ เช่น กองทุน TMB Global Income RMF ของ บลจ. ทหารไทย

3. RMF ลงทุนในหุ้นไทยและต่างประเทศ: เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง เนื่องจากในระยะสั้นความผันผวนของผลตอบแทนจะสูงมาก แต่ในระยะยาวแล้วมักจะให้ผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นการลงทุนใน RMF ซึ่งมักเป็นการลงทุนระยะยาวไปจนถึงวันเกษียณ ผู้ลงทุนจึงควรแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนใน RMF ประเภทนี้เช่นกัน

เทคนิคสุดท้ายคือวิธีการลงทุน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของมนุษย์เงินเดือนที่ไม่สามารถเป็นออมเงินได้ วิธีการคือการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติโดยการหักผ่านบัญชีเงินเดือนไปลงทุนทันทีที่เงินเดือนออกก่อนที่จะนำมาใช้จ่ายจนหมด นับเป็นเครื่องมือที่ดีทีสุดที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้ออมอย่างสม่ำ

นอกจากนี้สิ่งที่อยากจะแนะนำคือการเลือกกองทุนที่มีสิทธิลดหย่อนภาษีก่อน (หากรายได้เราถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี) การเลือกกองทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ และการสร้างวินัยผ่านการออมผ่านลงทุนอัตโนมัติ

โดย บลจ.ทหารไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook