“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ใช่เหรอ?? มารู้จัก “โรคคาโรชิ” อาการของคนที่ทำงานจนตาย

“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ใช่เหรอ?? มารู้จัก “โรคคาโรชิ” อาการของคนที่ทำงานจนตาย

“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ใช่เหรอ?? มารู้จัก “โรคคาโรชิ” อาการของคนที่ทำงานจนตาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจเคยได้ยินวลี “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” แต่เราอยากบอกความจริงกับคุณ ว่างานหนักมีส่วนในการฆ่าคนมาแล้วมากมาย ในระดับที่ถูกบัญญัติเป็นอาการด้วยชื่อ Karoshi Syndrome หรือ “โรคคาโรชิ”การทำงานหนักเกินไปจนนำไปสู่ความตาย (death from over work) คาโรชิเริ่มขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1970s เป็นยุคฟื้นฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงก่อเกิดค่านิยมการทำงานหนักเพื่อส่วนร่วมของคนญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับการร่วมกันทำงานเพื่อสร้างชาติ และเพื่อศักดิ์ศรีองค์กร

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2559 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานเรื่อง “โคโรชิ” เป็นครั้งแรก ว่าปัจจุบันมีบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 20% ที่มีการทำงานล่วงเวลาในแต่ละเดือนเกิน 80 ชั่วโมง เดือน(OT) หลังข่าวพนักงานบริษัทเดนท์สึ (บริษัทโฆษณาใหญ่ในญี่ปุ่น)ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดหอพักพนักงาน เพราะถูกกดดันจากภาระงานที่หนักเกินไป ในคืนวันที่ 25 ธันวาคม 2015 ก่อน CEO จะประกาศลาออกในปีถัดมาหลังผลสอบสวนเผยว่าคณะผู้บริหารมีส่วนทำให้เกิดเหตุสลดในครั้งนี้จากการไม่ใส่ใจในคุณภาพชีวิตของพนักงาน อ่านข่าวเพิ่มเติม >> https://goo.gl/nklv34

 karo2

โดยธรรมชาติของวัฒนธรรมการทำงานในคนญี่ปุ่นจะค่อนข้างมีลำดับขั้น มีแบบแผนที่ชัดเจน เน้นการทำงานเป็นทีมซึ่งแต่ละองค์กรจะมีกระบวนการที่คนในบริษัทต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด ห้ามล้ำเส้น ห้ามทำเกินหน้าที่แม้จะเป็นไปด้วยความหวังดีก็ตาม คือคุณต้องตั้งใจทำส่วนของคุณให้ดีที่สุด อย่าผิดพลาด อย่าให้ใครต้องมารับผิดชอบในการกระทำของคุณ หากคุณสามารถปฏิบัติตามกระบวนการ และโมเดลของสังคมในบริษัทได้คุณจะมีพื้นที่ในสังคมนั้น ซึ่งคนรญี่ปุ่นมองว่าเป็นเกียรติและเป้นคุณค่าค่าต่อตนเอง


คนทำงานในญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างให้ความสำคัญกับ “คุณค่าในตัวเอง” และคุณเชื่อไหมว่า คุณค่าในตัวเองนี่แหละเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด “โรคคาโรชิ” สาเหตุการตายจากโรคคาโรชินั้นเกิดได้ 2 แบบ คือ ป่วยตาย เช่น ทำงานหนักจนหัวใจวาย แบบที่ 2 คือ ฆ่าตัวตาย สาเหตุมาจากความเครียด ความกดดัน ที่เกิดจากการพยายามตั้งคุณค่าในการทำงานให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจเกินขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจตัวเอง เพราะคนญี่ปุ่นค่อนข้างเชื่อว่าค่าของคนอยู่ที่ผลงาน ผลงานทำให้ตัวเองมีตัวตนในสังคม เป็นที่ยอมรับ มีศักดิ์ศรี ทำให้คนทำงานในญี่ปุ่นต้องอดทนต่อแรงกดดันทางวัฒนธรรมเช่นนี้

karo3

อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะเค่เรื่องงาน การไปดื่มสังสรรค์กับรุ่นพี่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างหนึ่งในการสร้างคุณค่าให้ตัวเอง ต่อให้งานวันนี้จะหนักแค่ไหนหากรุ่นพี่ชวนก็ควรไป เพราะการกินดื่มเที่ยวหลังเลิกงานเป็นวัฒนธรรมที่ถูกยอมรับและให้ค่าในสังคมญี่ปุ่น ไม่ใช่การบีบบังคับกันโดยตรง แต่หากใครไม่ปฏิบัติตนไปตามระบบนี้ก็จะถูกกีดกันออกไปอย่างอ้อมๆด้วยรูปแบบของตัวระบบเอง ซึ่งการไม่ได้รับการยอมรับหรือการถูกเพิกเฉย เป็นเรื่องร้ายแรงต่อจิตใจพอสมควรในสังคมการทำงาน ธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยหนุนนี้ เป็นคำตอบชัดเจนว่าทำไมอัตราการตายด้วยโรคคาโรชิในญี่ปุ่นจึงสูงกว่าประเทศอื่น

 

รับมือกับ คาโรชิ อย่างไร​??


รัฐบาลญี่ปุ่นเองทราบดีถึงตัวเลขผู้เสียชีวิตจาก คาโรชิ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงออกนโยบาย “Premium Friday” เมื่อช่วยต้นปีที่แล้ว โดยอนุญาตให้พนักงานบริษัทสามารถกลับบ้านได้ก่อนเวลาเลิกงาน 2-3 ชั่วโมงในวันศุกร์ แต่… ไม่ใช่ทุกวันศุกร์ เฉพาะศุกร์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเท่านั้น แน่นอนว่านี่คือการแก้ปัญหาปลายเหตุที่จะไม่ช่วยให้อัตราของการเกิดคาโรชิลดลง

จากสาเหตุของโรคด้านบนเห็นได้ชัดว่า คนไม่ได้ตายเพราะงานโดยตรง แต่ตายเพราะ “วิธีการคิด” ที่เกิดจากความกดดันจากสังคมรอบตัว และตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งทำให้คนตั้งความหวังไว้เกินขีดจำกัดของตัวเอง และเรียกสิ่งนั้นว่าคุณค่า ซึ่งคงไม่มีใครคาดคิดว่า อาจจะมีคนต้องจบชีวิตลงด้วยคุณค่าที่มองไม่เห็นแต่หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

ง่ายที่สุดคือเริ่มที่ตัวเอง แม้งานสำคัญ แต่ถ้าสมรรถภาพร่างกายและจิตใจไม่พร้อม เราอาจรักษามาตรฐานตัวเองได้อีกไม่นาน ดังนั้นคนทำงานหนักจำเป็นต้องมีจังหวะหยุดนิ่งชั่วคราว เพื่อไตร่ตรองสุขภาพและสภาพจิตใจของตัวเอง การพูดคุยหรือปรึกษาคนที่ไว้ใจสามารถช่วยได้ แม้บางคนอาจไม่ต้องการให้คนใกล้ตัวรับรู้ถึงความเหนื่อยล้าอ่อนแรง แต่ประสบการณ์หรือไอเดียจากคนอื่นอาจช่วยให้เรามองเห็นหนทางในการแก้ปัญหาได้

บางทีการจมอยู่กับตัวเองนาน หรือจมอยู่กับงานเดิมนานๆ อาจทำให้เราสูญเสียความสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา นอกจากตัวพนักงานแล้ว องค์กรมีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันการเกิด คาโรชิ ควรตรวจสอบความสอดคล้องของปริมาณงานกับจำนวน resource ที่ตัวเองมีอย่างสม่ำเสมอ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรมีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน

karo4

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook