ทำไมต้องทยอยลงทุน..?.

ทำไมต้องทยอยลงทุน..?.

ทำไมต้องทยอยลงทุน..?.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บนฐานคิดที่ว่า คุณรู้ว่า
จุดนี้ราคาถูกควรซื้อ จุดนี้ราคาแพงต้องขายแล้ว
... คุณไม่ต้องทยอยลงทุน
แต่ความจริง มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
อาจจะซื้อถูก ขายแพงได้แค่บางครั้ง
ดังนั้นการทยอยลงทุน จึงถือเป็นวิธีที่จะทำให้การลงทุนของเราปลอดภัย
แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่มันจะป้องกันไม่ให้เราได้หุ้นที่ราคาแพงที่สุดหรือที่เราเรียกว่าบนดอยนั่นเอง

ใครๆ ก็บอกว่าให้ทยอยลงทุน ดีกว่าลงทุนครั้งเดียว ...แต่คุณเชื่อไหมล่ะ?ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านบาท คุณจะตัดสินใจยังไงดี คุณจะลงทุนวันไหน? วันที่หุ้นถูกที่สุด.. (นั้นเป็นสิ่งที่คุณคิด) แต่คุณไม่มีทางรู้ว่าวันนั้นคือวันไหน มีหุ้นที่ถูกวันนี้ ก็มีหุ้นที่ถูกกว่าในวันข้างหน้า คุณยังไม่ต้องตอบ..ตอนนี้ก็ได้ ว่าคุณคิดว่าการทยอยลงทุนดีกว่าหรือไม่

600x600px_17072017

เพราะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า การทยอยลงทุนก็ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เนื่องจากผู้ลงทุนหลายคนอาจมองว่าเป็นภาระ เป็นข้อผูกมัดในระยะยาว จากสถิติเม็ดเงินลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี LTF/RMF เป็นคำตอบว่า คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการลงทุนครั้งเดียวตอนปลายปีดีกว่า อาจด้วยเพราะระยะเวลาลงทุนสั้นกว่าเป็นประเด็นหนึ่ง แต่ก็ยังมีผู้ลงทุนหลายท่านยังคงคิดว่า ราคาหุ้นเมื่อถึงปลายปีจะถูกกว่าต้นปี


แต่จริงๆแล้วเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ... เรามาหาคำตอบกัน จากสถิติบอกว่าโอกาสที่ซื้อวันสุดท้ายแล้วจะดีกว่าซื้อเฉลี่ยคือประมาณ 40%

ตารางเปรียบเทียบราคาหุ้นวันสุดท้ายกับราคาเฉลี่ยทั้งปี

st10


เมื่อดูสถิติเราอาจไม่เห็นความแตกต่างมากนัก การซื้อกองทุนช่วงปลายปีครั้งเดียวก็ไม่ได้แย่อย่างที่คิด แต่หากดูว่าถ้าเรามีพฤติกรรมเฉลี่ยซื้อมาตั้งแต่ 24 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปี 2016 จะเห็นจุดที่น่าสนใจคือ ถ้าเราสามารถหาวันที่ราคาหุ้นถูกที่สุดในแต่ละปีได้ เราจะได้ราคาหุ้นเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 698 แต่ในทางกลับกันหากว่าเราดันไปซื้อในวันที่ราคาหุ้นมีมูลค่าสูงสุดในปีนั้น เราได้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1047 ซึ่งถือว่าราคาแพงกว่าเกือบ 2 เท่า และนี่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้การทยอยลงทุนน่าสนใจกว่า เพราะการลงทุนไม่ใช่เรื่องที่เราจำเป็นจะต้องเสี่ยงมากขนาดนั้น

ส่วนจะซื้อทุกวัน หรือซื้อทุกเดือน หรือซื้อวันไหนของเดือนดี จริงๆ หากดูตัวเลขจะพบว่าไม่ต่างกันมากนัก แค่ 862 กับ 860 เพราะฉะนั้นหลัก คือ เพียงแต่อย่าซื้อทีเดียวทั้งก้อน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงลงไปได้มากอยู่แล้ว


ตารางแสดงราคาหุ้นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1992/2016

 st20

แต่ตลาดในแต่ละแบบก็ทำให้ผลตอบแทนจากการทยอยลงทุนมีความต่างกันบ้าง อย่างภาพด้านล่างจะเห็นว่า เมื่อเราทำสถานการณ์ตลาด 2 แบบ แบบผันผวนขาขึ้น กับแบบราคาลงไปช่วงกลางปี (Down-Up) โดยมีสมมติฐานว่าจะลงทุนเดือนละ 1,000บาท ผลตอบแทนที่ได้จะต่างกัน และการเฉลี่ยลงทุนก็ให้ผลตอบแทนใน ตลาดผันผวนขาขึ้น ได้ดีกว่า แม้ว่าราคาหุ้นโดยเฉลี่ยจะเท่ากัน


กราฟเปรียบเทียบการทยอยลงทุนในสถานการณ์ตลาดที่ต่างกัน

st30

จะเห็นได้ว่า แม้ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 15.5 บาท เท่านั้น แต่ในสภาพที่ตลาดมีการขึ้นหรือลงที่ต่างกัน ก็จะให้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน แต่จุดหนึ่งจะเห็นว่าหากไม่มีการทยอยลงทุน ในตลาดแบบแรกเมื่อมาลงทุนปลายปีจะได้ราคาที่แพงที่สุด และในตลาดแบบที่ 2 ราคาต้นปีหรือปลายปีก็จะเป็นช่วงที่ราคาแพงที่สุด ดังนั้น ในตลาดสถานการณ์ต่างๆ ที่เราจะเจอ คือ เราไม่ทางรู้ว่า ณ จุดใด เป็นช่วงที่ราคาถูกที่สุด เรารู้ก็ต่อเมื่อช่วงเวลานั้นได้ผ่านไปแล้ว

แต่สิ่งสำคัญ... สำหรับการทยอยลงทุน อาจไม่ใช่ว่าจะได้ราคาที่ดี ผลตอบแทนที่สูง แต่คือการสร้างวินัยการลงทุนโดยไม่รู้ตัว หากผู้ลงทุนทำงานเป็นข้าราชการหรือพนักงานประจำ ก็คงจะนึกภาพตามไ้ด้ไม่ยาก ในทุกๆ เดือนคุณต้องลงทุนผ่าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือที่เรารู้จักกันในนาม กบข. ซึ่งเป็นการลงทุนแบบหักจากเงินเดือน 3-5% และเป็นการลงทุนระยะยาวหลักสิบปีขึ้นทั้งนั้น และเป็นการลงทุนที่ทำให้เราเห็น ว่าวิธีแบบนี้ทำให้เรื่องการลงทุนเป็นเรื่องง่าย บางครั้งเราก็ลืมไปแล้วว่า เราได้ลงทุนไปเท่าไหร่ พอถึงเวลาเกษียณ เงินก้อนใหญ่ก้อนนั้นแหละ ที่เป็นเหมือนของขวัญตลอดการลงทุนที่ผ่านมา

ดังนั้น ...หากเราสามารถสร้างการทยอยลงทุนให้เป็นวินัยส่วนตัวได้ เป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมนะ
บลจ.ธนชาต ขอเป็นกำลังใจให้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook