เรื่องเล่าการเงิน ที่ผู้ที่กำลังหย่าร้างต้องรู้

เรื่องเล่าการเงิน ที่ผู้ที่กำลังหย่าร้างต้องรู้

เรื่องเล่าการเงิน ที่ผู้ที่กำลังหย่าร้างต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การหย่าร้างสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนะคะ และเมื่อมีการฟ้องหย่าร้าง นั่นก็หมายความว่าย่อมจะมีการเสียเงินค่าจ้างทนายความตามมาอีก ซึ่งโดยปกติแล้วในคดีหย่าร้างแบบนี้ ทนายความจะคิดค่าว่าความประมาณ 10,000 - 50,000 บาท (ขึ้นอยู่กับกรณี) ค่ะ ทั้งนี้ ในการหย่าร้าง ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเงินอยู่มากมาย ลองดูตัวอย่างที่เรานำมาเสนอให้อ่านกันในวันนี้ ได้เลยค่ะ

1. การนอกใจของคู่สมรสจะช่วยให้การฟ้องร้องของฉันง่ายขึ้น

คุณคงคิดว่า คุณจะได้เงินมากมายจากการฟ้องหย่า เพราะคู่สมรสของคุณไม่ซื่อสัตย์ แต่ในความเป็นจริง การนอกใจไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะได้รับเงินหรือทรัพย์สินมากขึ้นหลังจากการหย่าร้าง เพราะการหย่าไม่เกี่ยวกับการลงโทษคนที่มีพฤติกรรมไม่ดี แต่มันเกี่ยวกับการหาวิธีแบ่งเงินและทรัพย์สินระหว่างคนสองคน ความไม่ซื่อสัตย์ของคู่สมรสของคุณไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้บ้านโดยทันที หรือไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้รับเงินค่าเลี้ยงดูมากขึ้น

2. ฉันไม่ได้ทำงานในช่วงชีวิตคู่ ดังนั้นฉันจะได้รับเงินค่าเลี้ยงดูตลอดชีวิต

หากคุณไม่ได้ทำงานในระหว่างการแต่งงาน คุณอาจได้รับเงินค่าเลี้ยงดู แต่การได้รับเงินค่าเลี้ยงดูอาจไม่ได้ถาวรอย่างที่คุณคิด คู่สมรสที่ไม่ได้ทำงานมักจะได้รับเงินค่าเลี้ยงดู โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทางการเงินคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีรายได้ ไปจนกว่าจะสามารถสร้างรายได้ได้ หรือสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนของบุตรได้ ดังนั้นคุณไม่ควรหวังว่าคุณจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่ไม่รู้จักจบสิ้นจากคู่สมรสเดิมของคุณ

ฉันควรขอตกลงเรื่องทรัพย์สินเมื่อใด?
เมื่อต้องแยกทางกัน คุณจะมีเวลา 12 เดือนจากวันที่หย่า ที่จะยื่นขอคำสั่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน หากคุณอยู่ในความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส คุณต้องยื่นขอภายในเวลา 2 ปี จากวันที่คุณแยกทางกัน

การจัดการเรื่องการเงิน
หลังจากที่รู้ว่าจะต้องหย่าร้างแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องจัดการก็คือลูกและเรื่องการเงิน (หรือสินสมรส) ว่าจะแบ่งกันอย่างไร ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงกันเรื่องนี้ได้ในช่วงไกล่เกลี่ย ทนายก็สามารถจะแจ้งเรื่องขึ้นสู่ศาลได้เลยล่วงหน้า ทั้งนี้คุณต้องทำรายการก่อนว่าสินทรัพย์ที่มีนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เช่น

• มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ (บ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกัน) สำหรับเรื่องบ้าน หากว่าทั้งสองฝ่ายซื้อบ้าน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถจะอยู่ในบ้านนั้นต่อไปได้โดยอีกฝ่ายจะได้ทรัพย์สินอื่นไป ตามการแบ่งสรรปันส่วน สำหรับบ้านเช่านั้น ฝ่ายหนึ่งจะได้อยู่บ้านนั้นต่อไป (ส่วนใหญ่ฝ่ายที่ไม่มีที่ไป หรือฝ่ายที่ลูกจะอยู่ด้วย จะมีเหตุผลในการได้สิทธิอยู่บ้านนั้นต่อไป)
• มูลค่าของทรัพย์สินในบ้าน
• มูลค่าของทรัพย์สินอื่นๆ เช่น รถยนต์ เรือ หรือสิ่งอื่นใด
• เงินในบัญชี (ทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะในชื่อใคร)
• ยอดหนี้สินและเงินกู้ที่มีอยู่
• เงินที่จะต้องแบ่งส่วนไว้สำหรับค่าเลี้ยงดู

การหย่าร้างเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากความรักมันมาถึงทางตัน ก็ควรจะต้องแยกจากการและแบ่งสินสมรสกันอย่างเท่าเทียม เอาไปเอารัดเอาเปรียบกันเลยนะคะ นึกถึงเวลาที่ยังรักกันอยู่ และจากกันไปด้วยดีจะดีที่สุดค่ะ

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook