ลูกจ้างเฮ ! รัฐบาลไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานใหม่ เพิ่มสิทธิให้เพียบ

ลูกจ้างเฮ ! รัฐบาลไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานใหม่ เพิ่มสิทธิให้เพียบ

ลูกจ้างเฮ ! รัฐบาลไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานใหม่ เพิ่มสิทธิให้เพียบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานใหม่  เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้าง เพียบ  กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยอัตรา 15 % หากจ่ายค่าจ้างไม่ตรง  เพิ่มค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างสูงสุดเป็น  400 วัน ลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน

เมื่อวานนี้( 15 ส.ค. 2560 ) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุม ครม.  มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญเรื่องการเพิ่มเติมสิทธิของลูกจ้าง ดังต่อไปนี้

นายจ้างผิดนัดการจ่ายเงินต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในอัตรา  15 % โดยกำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในกรณีที่นายจ้างผิดนัดการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 

ส่วนกรณีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและนายจ้างใหม่ ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่

กำหนดให้ลูกจ้างชายหรือหญิงได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันในงานที่มีคุณค่าเท่ากันรวมถึงกำหนดให้ลูกจ้าง มีสิทธิลากิจธุระในเหตุที่จำเป็นโดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้ลูกจ้างลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน 

เพิ่มอัตราค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชย เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน จากเดิมกฎหมายเก่ากำหนดไว้ว่า ต้องทำงานครบ 10 ปี ถึงจะได้ค่าชดเชย 300 วันเท่านั้น

กำหนดให้การย้ายสถานประกอบกิจการให้รวมถึงการย้ายไปที่ซึ่งนายจ้างมีสถานประกอบกิจการอยู่แล้วด้วย และให้นายจ้างแจ้งกำหนดการย้ายสถานประกอบกิจการให้ลูกจ้างทราบตามแบบที่อธิบดีกำหนด 

กำหนดให้เวลาการจ่ายค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด 

กำหนดให้การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างเป็นอันระงับไปหากนายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน หรือกรณีนายจ้างนำคดีไปสู่ศาล และได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้ว 

กำหนดให้การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างเป็นอันระงับไปกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook