กสิกรไทย โชว์ล้ำเปิดมิติใหม่รับ-จ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ดบนมือถือเจ้าแรก

กสิกรไทย โชว์ล้ำเปิดมิติใหม่รับ-จ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ดบนมือถือเจ้าแรก

กสิกรไทย โชว์ล้ำเปิดมิติใหม่รับ-จ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ดบนมือถือเจ้าแรก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธนาคารกสิกรไทย  โชว์ล้ำกับเทคโนโลยีชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดบนมือถือ “K PLUS SHOP” แอปฯ สำหรับร้านค้าแอปแรกในประเทศไทย ช่วยขายคล่อง “ยิงปิ๊บ จ่ายปั๊บ” เจาะร้านค้าย่อย 3 กลุ่ม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสินค้าแฟชั่น และการเดินทางในชีวิตประจำวัน ประเดิม 3 พื้นที่ ได้แก่ สยามสแควร์ จตุจักร และเดอะแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ประตูน้ำ กว่า 10,000 จุด พร้อมขยายทั่วประเทศในสิ้นปีนี้ ตั้งเป้าร้านค้ารับชำระกว่า 200,000 ร้านค้า มูลค่าธุรกรรมปีนี้ 800 ล้านบาท

นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยพร้อมให้บริการระบบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดอย่างเต็มรูปแบบกับกลุ่มร้านค้าขนาดย่อม ผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS SHOP เป็นแอปฯ แรกที่รับจ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ด สะดวกทั้งมุมของคนขาย ในขณะที่ลูกค้าสามารถใช้ฟีเจอร์อ่านคิวอาร์ โค้ด ที่อยู่บนแอปพลิเคชันโมบายแบงกิ้งใดก็ได้ ยิงที่คิวอาร์โค้ดของร้านก็สามารถชำระเงินให้กับร้านค้าได้ทันที

และในอนาคตจะสามารถรับการชำระเงินจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยผ่านคิวอาร์ โค้ด ในแอปพลิเคชั่นที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้อย่างอาลีเพย์ (Alipay) และวีแชท (WeChat) K PLUS SHOP จึงเป็นทางเลือกในการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้บริโภค และเป็นนวัตกรรมช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นสังคมไร้เงินสดตามนโยบายของรัฐบาล

mon2108602-1

“K PLUS SHOP จะช่วยเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการขายสินค้าและบริการให้กับร้านค้าขนาดย่อม เนื่องจากการเติบโตของโมบาย แบงกิ้ง และผู้บริโภคมีแนวโน้มทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เห็นได้จากตัวเลขผู้ใช้งานโมบาย แบงกิ้งทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในปี 2559 ที่เติบโตขึ้น 50% และแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นผู้นำตลาดโมบาย แบงกิ้ง มีจำนวนผู้ใช้กว่า 6 ล้านราย

ในขณะที่กลุ่มเจ้าของร้านค้าขนาดย่อม จะมองหาบริการทางการเงินที่คล่องตัว เชื่อมโยงการรับจ่ายเงินแบบไม่มีสะดุด (Seamless Experience of Mobile Wallet) และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ใน “ทันที” (now)”

แอปพลิเคชันบนมือถือ K PLUS SHOP ภาษาใหม่ของการใช้จ่าย “ยิงปิ๊บ จ่ายปั๊บ” ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคิวอาร์ โค้ด ที่จะสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย ให้แก่ลูกค้าและ ร้านค้าขนาดย่อมที่มียอดการรับโอนเงินไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ ทั้งร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสินค้าแฟชั่น และการเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่น กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

โดยในช่วงแรกมีพื้นที่การให้บริการใน 3 แหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้แก่ สยามสแควร์ ตลาดนัดจตุจักร และเดอะแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ประตูน้ำ ซึ่งมีจำนวนร้านค้ารวมกันมากกว่า 10,000 ร้านค้า

ขั้นตอนการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ K PLUS SHOP นั้นสะดวกและง่าย โดยเจ้าของร้านค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน K PLUS SHOP ได้ทันทีในกรณีมี K PLUS อยู่แล้ว โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการสมัครหรือการรับชำระเงินผ่าน K PLUS SHOP แต่อย่างใด ช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการเงินสด เช่น ไม่มีเงินทอนให้กับลูกค้า เงินเข้าบัญชีได้ทันทีพร้อมมีการแจ้งยอดรายการ โดยสรุปยอดขายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ในขณะที่ลูกค้าสามารถใช้ฟีเจอร์อ่านคิวอาร์ โค้ด ที่อยู่บนแอปพลิเคชันโมบายแบงกิ้งใดก็ได้ ยิงที่คิวอาร์โค้ดของร้านก็สามารถชำระเงินให้กับร้านค้าได้ทันที

นายพัชร กล่าวว่า “ในช่วงปีแรกของการเปิดตัว K PLUS SHOP เน้นสร้างการรับรู้ให้กับร้านค้าและผู้บริโภคควบคู่กัน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีคิวอาร์ โค้ด ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ของระบบการชำระเงินของโลก และมั่นใจว่าการรับ-จ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ดจะได้รับความนิยมในประเทศไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากสามารถใช้บริการทั้งร้านค้าหรือธุรกิจขนาดย่อม เช่น ร้านของชำ ร้านอาหารตามสั่ง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง จนถึงร้านค้าขนาดใหญ่ สามารถสมัครใช้บริการได้ง่ายเพียงมีบัญชีของธนาคารก็สมัครได้ทันที และเป็นบริการที่ไม่กำหนดยอดชำระขั้นต่ำ ทั้งผู้จ่ายและผู้รับไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

สำหรับในช่วงเริ่มต้นการให้บริการ ธนาคารได้มอบโปรโมชั่นให้กับร้านค้าที่ดาวน์โหลดใช้ K PLUS SHOP เมื่อมียอดรับชำระเงินไม่น้อยกว่า 200 บาทต่อครั้ง จะได้รับเครดิตเงินคืน (Cash Back) 100 บาท เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560 สำหรับลูกค้าที่มียอดใช้จ่ายครบ 300 บาท/รายการ ได้รับเครดิตเงินคืน (Cash Back) 50 บาท (จำกัด 1 สิทธิ์/ท่าน/เดือน) เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560 ทั้งนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายยอดดาวน์โหลดสำหรับร้านค้าไม่ต่ำกว่า 200,000 ร้านค้า และมีมูลค่าการทำธุรกรรม 800 ล้านบาทภายในสิ้นปี”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook