สปส. แจง คุ้มครองผู้ประกันตนป่วยมะเร็ง หากปลูกถ่ายไขกระดูกจ่าย 7.5แสน -1.3 ล.

สปส. แจง คุ้มครองผู้ประกันตนป่วยมะเร็ง หากปลูกถ่ายไขกระดูกจ่าย 7.5แสน -1.3 ล.

สปส. แจง คุ้มครองผู้ประกันตนป่วยมะเร็ง หากปลูกถ่ายไขกระดูกจ่าย 7.5แสน -1.3 ล.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจง ให้ความคุ้มครองกรณีผู้ประกันตนเจ็บป่วยโรคมะเร็ง มีสิทธิได้รับการรักษา และยาตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน ชี้หากปลูกถ่ายไขกระดูกจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในอัตรา 750,000 บาทต่อราย หรือ 1,300,000 บาทต่อราย แล้วแต่กรณี

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจงกรณี มีผู้ประกันตนโพสต์ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ social Media กรณีป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระยะที่ 3 แต่สิทธิประกันสังคมจ่ายยาให้เฉพาะคนที่เป็นมะเร็งระยะแรกเท่านั้น จากกรณีดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมได้ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ โดยผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับยาตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน

การรักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิดมีแนวทางการรักษาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าการรักษาวิธีนั้นๆ แล้วไม่ได้ผล หรือไม่ตอบสนองต่อยาที่รักษา สามารถใช้แนวทางการรักษาอื่นๆ ได้ โดยสำนักงานประกันสังคมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาพิจารณาการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก ผู้ประกันตนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยโรงพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมในอัตรา 750,000 บาทต่อราย หรือ 1,300,000 บาทต่อราย แล้วแต่กรณี

นายสุรเดช กล่าวถึง หลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีโรคมะเร็ง สำนักงานประกันสังคมมีการจ่ายเพิ่มนอกเหนือจากการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย ในกรณีให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานประกันสังคมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อรายต่อปี

อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ยังมุ่งมั่นในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต และเดินหน้าพัฒนาสิทธิประโยชน์ รวมถึงการพัฒนาการให้บริการแก่ผู้ประกันตน อย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook