เกษตรกรเตรียมลุกฮือ หลังรัฐจ่อเก็บภาษีการใช้น้ำเพิ่ม

เกษตรกรเตรียมลุกฮือ หลังรัฐจ่อเก็บภาษีการใช้น้ำเพิ่ม

เกษตรกรเตรียมลุกฮือ หลังรัฐจ่อเก็บภาษีการใช้น้ำเพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลุ่มเกษตรกรในหลายพื้นที่ ได้ออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายพระราชบัญญัติทรัพย์ยากรน้ำฉบับนี้ กำลังจะเก็บภาษีการใช้น้ำเพิ่ม ด้านคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ออกมาชี้แจงว่าการร่างพระราชบัญญัติยังไม่แล้วเสร็จ และยังหาข้อยุติไม่ได้

tw2 


เมื่อวันที่ (2 ต.ค. 60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การต่อต้านร่างกฎหมายพระราชบัญญัติทรัพย์ยากรน้ำ ที่รัฐบาลกำลังผลักดันและอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนจะมีผลบังคับใช้ โดยนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยว่า ทางภาคีเครือข่ายฯทั่วประเทศได้ศึกษารายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งมีข้อความที่ระบุชัดเจนว่ากำหนดอัตราเก็บภาษีค่าใช้น้ำทำเกษตรเพื่อค้าขายตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป ถือเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยจะจัดเก็บในอัตรา 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร

ซึ่งการทำเกษตร 50 ไร่คือเกษตรกรรายย่อย นั่นหมายถือจะทำให้ชาวเกษตรกรทุกคนเดือดร้อนแน่นอน โดยเฉพาะชาวนาที่ใช้น้ำไร่ละ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะต้องเสียค่าน้ำรอบละ 40,000 – 50,000 บาท นับว่าเป็นต้นทุนที่สูงอย่างมาก ซึ่งหากทำนาแล้วขาดทุนชาวนาก็คงต้องเลิกอาชีพนี้กันไปหมด อาจเป็นการซ้ำเติมผลผลิตราคาต่ำจนทำให้เศรษฐกิจพังทั้งระบบได้

tw3


ด้าน นายเตชะพัฒน์ มะโนวงศ์ เลขาธิการสภาลุ่มน้ำอิง จ.พะเยา-เชียงราย ในฐานะชาวนาลุ่มน้ำอิง กล่าวว่า เนื้อหาในร่างกฎหมายดังกล่าวได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ที่จะต้องถูกเก็บภาษีและกลุ่มที่ได้รับการยกเว้น แต่กลุ่มที่เกษตรกรรายย่อยทั่วไป เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ที่ทำเพื่อยังชีพและบริโภคในครอบครัว รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรหลายฝ่ายต้องรับภาระแบกรับภาษีน้ำจากกฎหมายฉบับนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายในภาคเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง


พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรนํ้า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. นำคณะแถลงข่าวชี้แจงความคืบหน้าการร่าง พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ขณะนี้พิจารณาไปแล้ว 95 มาตรา จากทั้งหมด 100 มาตรา โดยกำหนดระยะเวลาการพิจารณาสิ้นสุดลงในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ แต่ว่าในคณะกรรมาธิการ ยังมีข้อถกเถียงเรื่องการแบ่งประเภทผู้ใช้น้ำที่จะต้องหาข้อยุติ จากเดิมกำหนดไว้ 3 ประเภท คือ 1 ใช้นํ้าเพื่อการดำรงชีพ อุปโภค อุปโภค หรือเลี้ยงสัตว์ไว้กิน ไม่ต้องเสียค่าใช้นํ้า ประเภทที่ 2 ใช้นํ้าด้านการเกษตรหรือปศุสัตว์เพื่อการพาณิชย์ ด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจสนามกอล์ฟ และ 3 สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ และกิจการอื่นๆ ที่ใช้น้ำในปริมาณมาก

tw4


ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เช่น การแบ่งหมวดภาคเกษตรกรระหว่างเลี้ยงชีพ กับการพาณิชย์ รวมถึงอัตราค่าจัดเก็บแท้จริงโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีมติขยายระยะเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก 90 วัน ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องให้ที่ประชุม สนช.พิจารณา คาดว่าจะสมบูรณ์ในวันที่ 25 มกราคม ปีหน้า


ขณะที่ นายกรณ์ จาติกวณิช ประธานคณะทำงานนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทางพรรคไม่เห็นด้วยต่อการเรียกเก็บค่าน้ำจากเกษตรกรรายย่อย จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงเกณฑ์ให้ชัดเจน โดยเฉพาะที่จะเรียกเก็บเงินจากการใช้น้ำจากเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์เป็นอย่างไร เพราะในปัจจุบันมีเกษตรกรรายย่อยที่รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน และเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ทางรัฐบาลควรจัดสรรน้ำให้เกษตรกรเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องก่อนที่จะพูดถึงการคิดภาษีค่าน้ำดังกล่าว และไม่ควรผลักภาระให้ประชาชน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook