มหากาพย์! เถียงกันไม่รู้จบ 9 ปัญหาโลกแตกของทฤษฎี Elliott Wave ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมากที่สุด

มหากาพย์! เถียงกันไม่รู้จบ 9 ปัญหาโลกแตกของทฤษฎี Elliott Wave ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมากที่สุด

มหากาพย์! เถียงกันไม่รู้จบ 9 ปัญหาโลกแตกของทฤษฎี Elliott Wave ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมากที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Elliott Wave เป็นหนึ่งในทฤษฎีสายเทคนิคอลกราฟ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่มักถกเถียงและโต้แย้งกันมากที่สุด หลายครั้งข้อถกเถียงหรือข้อโต้แย้งต่างๆ นั้น ยังคงเป็นปริศนาที่ไม่สามารถหาคำตอบหรือคำอธิบายได้อย่างกระจ่างชัดเสียที

แท้จริงแล้วทฤษฎีมีคำตอบรองรับคำถามของคุณอยู่เสมอ หากคุณได้เรียนรู้และศึกษาบริบทของทฤษฎีเชิงลึกมากพอ การันตีเลยว่าคำถามต่างๆ ที่คาใจคุณมาแสนนาน จะถูกคลี่คลายและอธิบายออกมาเป็นเรื่องง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

บทความนี้จะยกตัวอย่าง 9 ปัญหาที่นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าใจผิดและถกเถียงกันมากที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดของทฤษฎี Elliott Wave เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปค้นหาคำตอบกับคำถามที่คาใจคุณมานานแสนนานกันครับ

1. คลื่น 4 ห้าม Overlap คลื่น 1 ?

ไม่จริงครับ! คลื่น 4 สามารถ Overlap คลื่นที่ 1 ได้หรือที่เรียกว่า คลื่น 4 กินหัวคลื่น 1 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เรียกรูปแบบนี้ว่า Terminal Impulse Wave หรือหนังสือ Elliott Wave บางเล่ม เรียกว่า Diagonal Triangle (Ending Diagonal & Leading Diagonal) ขอยังไม่อธิบายรายละเอียดการเปรียบเทียบเนื้อหาข้อมูลจากตำราแต่ละเล่มนะครับ

หากจะอธิบาย Concept ของคลื่น 4 Overlap คลื่น 1 แบบง่ายๆ ตามหลัก Dow Theory ให้เห็นภาพก็คือ เทรนขณะนั้นกำลังอ่อนแรง และจะส่งผลลัพธ์ให้เกิดการกลับตัวนั่นเอง

เทคนิคการนำมาใช้จริง สไตล์ “โต่ง-เต่ง” คือ Terminal Impulse Wave มักเกิดขึ้นในช่วงปลายเทรนของคลื่นที่ 5 เนื่องจากคลื่น 5 คือ ชุดคลื่นสุดท้ายและหลังจากนั้นก็จะส่งสัญญาณการ Overlap (สัญญาณอ่อนแรง) เพื่อบ่งบอกถึงการเตรียมพร้อมที่จะย่อลงมาเป็น Correction Wave นั่นเอง หรือคลื่น 5 ดังกล่าวเป็น Sub Wave เช่นปลายคลื่น C ของ Correction Wave ก็จะเป็นสัญญาณเตือนการกลับตัวเพื่อเป็น Impulse Wave เช่นกัน

2. Elliott Wave บอกแผนที่ ส่วน Fibonacci บอกระยะทาง จริงหรือ?

"Elliott Wave บอกแผนที่" ในส่วนนี้จริงครับ! เพราะสามารถพยากรณ์บอกตำแหน่งวัฏจักร (Cycle) ของสถานะคลื่นปัจจุบันที่เราอยู่ได้ ส่วน "Fibonacci บอกระยะทาง" ประโยคนี้ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวเลขต่างๆ ของ Fibonacci ไม่ได้บอกระยะทาง เราต่างหากที่ไปคาดหวังว่าราคาต้องเคลื่อนที่ไปเท่านั้นเท่านี้ เช่น 161.8% หรือไม่ก็ 261.8% เป็นต้น

อ้าว! แล้วสิ่งใดกันบอกระยะทาง? คำตอบคือ บริบทของสถานะคลื่น Correction ก่อนหน้าต่างหากที่บอกระยะทางว่าจะเกิดผลลัพธ์ใดขึ้นนั้นจำเป็นต้องเกิดเหตุก่อนเสมอ เช่นเดียวกับทฤษฎี Elliott Wave ความยาวของคลื่นถัดไปจะเกิดขึ้นเท่าไหร่ จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับบริบทการฟอร์มตัวของ Correction คลื่นก่อนหน้าเสมอ ที่บอกนัยแฝงของตลาดว่า Impulse Wave ชุดคลื่นถัดไปมีโอกาสเคลื่อนที่ไปได้มากน้อยเพียงใด

แต่ใช่ว่าทฤษฎีบอกบอกเป้าหมายราคาเท่าไหร่ เราก็เชื่อแบบหลับหูหลับตาโดยไม่ได้พิสูจน์แบบนี้ก็ไม่ถูกต้องนะครับ เราจำเป็นต้องเข้าไปวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานะคลื่นย่อยด้วย ว่าชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นนั้นมีโอกาสเคลื่อนที่ครบ Cycle ณ เป้าหมายตามที่ทฤษฎีได้ระบุไว้หรือไม่

3. แนวทับซ้อนคือเป้าหมายของราคา ใช่หรือ?

แนวทับซ้อนกันของฟีโบหรือที่เรียกว่า Cluster, Confluence หรือ Price Reversal Zone นั้นสามารถพิจารณาว่าเป็นแนวที่มีนัยได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้การันตีว่าราคาจะเกิดการกลับตัว ณ จุดนั้นเสมอไป

คำถามคือ ถ้ามีแนวทับซ้อนกันหลายแนว แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแนวไหนเป็นแนวรับ แนวต้านของจริง?

ตรงนี้ตอบได้เลยว่าขึ้นอยู่กับสถานะคลื่นภายในต่างหากที่เป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการพิจารณาว่า การกลับตัวของราคานั้นควรเกิดขึ้น ณ จุดใดเมื่อคลื่นย่อยเคลื่อนที่ครบสถานะคลื่น เช่น แนวทับซ้อนฟีโบอยู่ที่ 2 บาท แต่สถานะคลื่นย่อยที่ขึ้นประทะราคา 2 บาทนั้นยังเคลื่อนที่ไม่ครบสถานะคลื่นย่อยภายในลักษณะเช่นนี้แนวทับซ้อนของฟีโบที่ 2 บาท ก็ไม่สามารถเป็นแนวต้านของจริงได้

4. การนับคลื่น (ย่อย) คือ ความ มโน!

istock-652172176istockphoto

อ้าว! 2 ข้อก่อนหน้าเพิ่งอธิบายไปว่าต้องให้ความสำคัญกับคลื่นย่อย?

การนับคลื่น คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพนะครับลองพิจารณาดูดีๆ ถึงแม้มี Keyword ขึ้นต้นด้วยคำว่า “การนับ” แต่อย่าลืมว่าการนับคลื่นในแบบคุณ อาจจะนับคลื่นไม่เหมือนในแบบของคนอื่นก็ได้ ดังนั้นจะนับคลื่นอย่างไร ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณมากที่สุดเพื่อลดความมโน คือ 1. ใช้อัตราส่วนทางทฤษฎีเป็นตัวอ้างอิงในการนับคลื่น เช่น จะนับคลื่น 2 ได้หรือไม่นั้นเราก็ต้องเช็คกฎ Degree ว่าการปรับตัวได้เข้าเงื่อนไขตามทฤษฎีแล้วหรือยัง เป็นต้น

2. ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากอินดิเคเตอร์ช่วยนับคลื่น เช่น จากเทคนิค การนับคลื่น Elliott Wave ของผมจะใช้สัญญาณ Divergence จากตัวเคลื่อนที่ช้า และ Hidden Divergence จากตัวเคลื่อนที่ไวสำหรับไว้ช่วยนับคลื่น เนื่องจากสัญญาณความขัดแย้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Divergence หรือ Hidden Divergence นั้น สามารถเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ผลเป็นข้อมูลเชิงปริมาณได้

3. สร้างสมมติฐานเงื่อนไขในการวิเคราะห์ที่อิงกับทฤษฎี เช่น สมมติเรานับสถานะคลื่นได้ 1 กรณี เราควรต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถวิเคราะห์แยกย่อยเพิ่มเติมได้เป็นกรณีใดบ้าง, จุดไหนยืนยัน, อิงทฤษฎีข้อไหน และเพราะอะไร รวมทั้งผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น สามารถเคลื่อนที่ไปยังทิศทางใดได้บ้าง เป็นต้น

หากคุณใช้องค์ประกอบเทคนิค 3 ข้อในการนับคลื่นดังกล่าวที่ผมแนะนำ ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาก็จะอิงข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่าข้อมูลเชิงคุณภาพและส่งผลให้การนับคลื่นของคุณ ลดความมโน นั่นเอง  

5. จริงหรือ! Divergence คือ คลื่น 5

ส่วนใหญ่แล้วคลื่นที่ 5 มักเกิดสัญญาณ Divergence แต่ใช่ว่าเกิดสัญญาณ Divergence ขึ้นแล้วจะต้องเป็นคลื่น 5 เสมออย่าเข้าใจผิดนะครับ  เนื่องจากรูปแบบ Correction Wave ที่ทำ New High อย่างกลุ่มของ Strong B ในรูปแบบ Flat ต่างก็เกิด Divergence ขึ้นด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งไม่ใช่สถานะคลื่นที่ 5
การใช้สัญญาณอินดิเคเตอร์เพื่อช่วยในการวิเคราะห์สถานะคลื่นเป็นเพียงเทคนิคมุมมองที่นำมาประยุกต์ในการนับคลื่นให้ง่าย และรวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้การันตีว่าสัญญาณจากอินดิเคเตอร์ต่างๆ จะถูกต้องเสมอไป เราจำเป็นต้องใช้กฎและอัตราส่วนตามทฤษฎีในการอ้างอิงการวิเคราะห์เป็นหลัก

6. Elliott Wave ไม่จำเป็นต้องเริ่มนับ 12345 

หลายครั้งเราชินที่จะเริ่มต้นนับคลื่น 12345 แบบนี้เสมอ หารู้ไม่หุ้นบางตัวที่อยู่ในตลาดอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มนับแบบนี้ก็ได้ หากโครงสร้างของกราฟหุ้นไม่ใช่ Impulse Wave เราจำเป็นต้องเปลี่ยนการนับคลื่นในลักษณะดังกล่าว เปลี่ยนมาเป็น Correction Wave แทน

7. Level ฟีโบ ไม่ได้มีไว้ให้ราคาไปสัมผัสแล้ว “มโน” ว่านั่นคือเป้าหมาย

Level ฟีโบต่างๆ มีไว้เพื่อแบ่งขอบเขตอัตราส่วนของชุดคลื่น เพื่อวิเคราะห์ว่าสัดส่วนการพักตัวหรือสัดส่วนเป้าหมายที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในอัตราส่วนตามทฤษฎีเท่าไหร่ แล้ววิเคราะห์หาแนวทางความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในคลื่นถัดไปว่า สามารถเกิดขึ้นไปยังทิศทางใดได้บ้าง แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ราคามาทดสอบสัมผัส Level ฟีโบต่างๆ แล้ว 'มโน' ว่านั่นคือเป้าหมาย

8. Elliott Wave นับยังไงก็ได้ 10 คนนับก็ได้ 10 แบบ

ไม่จริงครับ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave มีกฎเกณฑ์อัตราส่วนที่ระบุเป็นข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อเป็นกรอบแนวทางการวิเคราะห์ที่ชัดเจน ดังนั้นการนับคลื่นของแต่ละคนกับสินค้าชนิดเดียวกัน ควรมีผลลัพธ์รูปแบบโครงสร้างการนับคลื่นที่คล้ายกัน แต่สิ่งที่จะแตกต่างกันคือมุมมองของข้อสมมติฐานเงื่อนไขในกรณีอื่นๆ เพิ่มเติมที่จำเป็นต้องวิเคราะห์สมมติฐานการเคลื่อนที่ของราคาที่อิงกับทฤษฎีให้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น จุดนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้วิเคราะห์ว่าสามารถแยกย่อยข้อสมมติฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้มากน้อยเพียงใด

9. Elliott Wave ยากที่จะเรียนรู้ เทรดแบบง่ายๆ ได้ตังค์ ก็พอ!

moneyistockphoto

ถูกต้องครับเป้าหมายของการเทรด คือ กำไร เทรดแบบง่ายๆ แล้วได้ตังค์ไม่ผิดนะครับ แต่เทรดแล้วรู้เหตุและผลของการได้ตังค์ต่างหากที่สำคัญกว่า เพราะการเทรดอย่างมีเหตุและผลรองรับนั้น มันสามารถปฏิบัติทำซ้ำได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งแตกต่างจากการเทรดแบบง่ายๆ ด้วยวิธีการวัดดวง ว่ากันตามตรงเงินทองเป็นของหายาก แล้วนำมาเดิมพันด้วยวิธีการคิดแบบง่ายๆ แบบนี้สมเหตุผลแล้วหรือ? 

Elliott Wave เป็นทฤษฎีที่ยากไม่มีใครอยากจะเสียเวลาเรียนรู้สักเท่าไร แต่ด้วยปัญหาการเทรดแบบเดิมๆ ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ให้เหตุและผลที่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มเริ่มเข้ามาศึกษาทฤษฎี Elliott Wave อย่างจริงจังกันมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook