มนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ สูญเสียเวลาไปเท่าไหร่กับการเดินทางไปทำงาน
มนุษย์เงินเดือนที่ซื้อรถ กับใช้รถโดยสารสาธารณะ เลือกแบบไหนถึงจะประหยัดกว่ากันนะ? นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นมา ระหว่างกำลังขับรถผ่านโซนใจกลางเมือง ทางฝั่งซ้ายเต็มไปด้วยคนที่ต่อแถวยืนรอรถตู้ ส่วนฝั่งขวาก็เต็มไปด้วยคนที่เรียงแถวขึ้นไปสู่รถไฟฟ้า พอผ่านแยกที่ติดนรกแตกมาก็เห็นว่ามีหลายคนที่ยืนแออัดกันบนรถเมล์คันข้างๆ ที่เพิ่งปาดหน้าไป
ชีวิตแบบไหนกันแน่ที่ดีกว่ากัน หรือว่าชีวิตทั้งหมดนั้นมันก็ต้องเจอรถติดอยู่ดี
ในปี 2016 กรุงเทพได้ถูกจัดอันดับจาก INRIX แหล่งบันทึกสถิติด้านการจราจรให้เป็นเมืองที่มีรถติดมากเป็นลำดับที่ 12 ของโลก และครองอันดับ 1 ในเอเชีย แต่ที่เศร้ากว่า คือ เวลาในชีวิตของมนุษย์เงินเดือนได้สลายหายไปพร้อมกับไฟแดงแต่ละแยก จนถูกคนตั้งชื่อแยกได้ค่อนข้างแสบทรวงไปถึงหัวใจ ยกตัวอย่าง เช่น แยกอโศกเพชรบุรีตัดใหม่ที่มีไฟเขียวแค่ 3 วิ เป็นต้น
นี่แสดงให้เห็นถึงสภาวะความอึดอัดของมนุษย์เงินเดือนที่ใช้รถใช้ถนนซึ่งต้องเสียเวลาเดินทาง ไป – กลับเกินจริงมากๆ โดยจากข้อมูลของ INRIX เจ้าเก่าได้คิดค่าเสียเวลาจากการติดอยู่บนถนนออกมา 64.1 ชั่วโมงต่อปีโดยเฉลี่ย ซึ่งหากเรานำจำนวนเวลาที่เสียไปเหล่านี้มาตั้งคำถามสนุกๆ ว่า คนที่เขาบริหารเวลาเก่งๆ เขาสามารถนำตัวเลข 64.1 ชั่วโมงนี้ไปพัฒนาตัวเอง หรือไปต่อยอดอะไรได้บ้างก็น่าคิดไม่น้อย
แต่เดี๋ยวก่อน หลายคนมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้รถ และแถมต้องจำยอมต่อสภาวะรถติดจนเป็นกิจวัตรประจำวันจนเกิดความเคยชิน ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบ อาทิ การขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะพยายามออกจากบ้านให้เช้าก็แล้ว หรือไม่ก็ออกจากออฟฟิศให้ดึกก็แล้ว ก็ยังไม่สามารถเลี่ยงรถติดได้ซะที การจะไปเช่าคอนโดอยู่ก็ไม่ได้เป็นทางที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน เนื่องจากหลายชีวิตก็มีภาระค่าใช้จ่ายและความจำเป็นแตกต่างกันออกไป
การที่รถติดขนาดนี้สาเหตุหลักๆ มาจากปริมาณรถที่เยอะขึ้น และแหล่งงานกระจุกตัว โดยช่วงเวลาแห่งความหฤโหดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 06.00 -09.00 น. และ 16.00 – 19.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาออกไปทำงานกับหลังเลิกงานนั้นเอง จากแหล่งข้อมูลได้มีการจัด 5 อันดับ ถนนที่รถโคตรติดตามช่วงเวลาที่แบ่งไว้ดังนี้
มนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ สูญเสียเวลาไปเท่าไหร่กับการเดินทางไปทำงานby TAXBugnoms,Nov 21, 2017 2:23 PM
writer of TaxbugnomsShare on FacebookHIGHLIGHTS
- มนุษย์เงินเดือนใช้เวลาเท่าไหร่ในการเดินทางไปทำงาน
- เดินทางไปทำงานควรเดินทางด้วยอะไรถึงคุ้มค่า
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกับเส้นทางยอดฮิต
- กลยุทธ์การเอาตัวรอดจากรถติด
- บทสรุปการเดินทางของมนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ
“มนุษย์เงินเดือนที่ซื้อรถ กับ ใช้รถโดยสารสาธารณะ
เลือกแบบไหนถึงจะประหยัดกว่ากันนะ?”
อยู่ๆพรี่หนอมก็เกิดคำถามนี้ขึ้นมา ระหว่างกำลังขับรถผ่านโชนใจกลางเมือง ทางฝั่งซ้ายเต็มไปด้วยคนที่ต่อแถวยืนรอรถตู้ ส่วนฝั่งขวาก็เต็มไปด้วยคนที่เรียงแถวขึ้นไปสู่รถไฟฟ้า พอผ่านแยกที่ติดนรกแตกมาก็เห็นว่ามีหลายคนที่ยืนแออัดกันบนรถเมล์คันข้างๆที่เพิ่งปาดหน้าไป
ชีวิตแบบไหนกันแน่ที่ดีกว่ากัน
หรือว่าชีวิตทั้งหมดนั้นมันก็ต้องเจอรถติดอยู่ดี
นอกจากมุมมองด้านการเงินของพรี่หนอมแล้ว บทความในวันนี้ยังได้รับเกียรติจากเจ้าของเพจ Creative Salary ผู้เขียนหนังสือ ‘สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก’ และ ‘เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน’ มาร่วมเขียนถึงประเด็นนี้ในทัศนคติของมนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ เพื่อให้เห็นถึงมุมมองในการบริหารเวลา ที่นอกเหนือกว่าเรื่องของการจัดการเงินเพียงอย่างเดียว และต้องบอกว่าเป็นงานทดลองแนวใหม่ในมุมมองที่กว้างออกไป ซึ่งอยากให้ติดตามกันครับ
ในปี 2016 กรุงเทพได้ถูกจัดอันดับจาก INRIX แหล่งบันทึกสถิติด้านการจราจรให้เป็นเมืองที่มีรถติดมากเป็นลำดับที่ 12 ของโลก และครองอันดับ 1 ในเอเชีย (โคตรเศร้า) แต่ที่เศร้ากว่าคือ เวลาในชีวิตของมนุษย์เงินเดือนได้สลายหายไปพร้อมกับไฟแดงแต่ละแยก จนถูกคนตั้งชื่อแยกได้ค่อนข้างแสบทรวงไปถึงหัวใจ ยกตัวอย่าง เช่น แยกอโศกเพชรบุรีตัดใหม่ที่มีไฟเขียวแค่ 3 วิ เป็นต้น
นี่แสดงให้เห็นถึงสภาวะความอึดอัดของมนุษย์เงินเดือนที่ใช้รถใช้ถนนซึ่งต้องเสียเวลาเดินทาง ไป – กลับเกินจริงมากๆ โดยจากข้อมูลของ INRIX เจ้าเก่าได้คิดค่าเสียเวลาจากการติดอยู่บนถนนออกมา 64.1 ชั่วโมงต่อปีโดยเฉลี่ย ซึ่งหากเรานำจำนวนเวลาที่เสียไปเหล่านี้มาตั้งคำถามสนุกๆ ว่า คนที่เขาบริหารเวลาเก่งๆ เขาสามารถนำตัวเลข 64.1 ชั่วโมงนี้ไปพัฒนาตัวเอง หรือไปต่อยอดอะไรได้บ้างก็น่าคิดไม่น้อย
แต่เดี๋ยวก่อน หลายคนมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้รถ และแถมต้องจำยอมต่อสภาวะรถติดจนเป็นกิจวัตรประจำวันจนเกินความเคยชิน ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบ อาทิ การขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะพยายามออกจากบ้านให้เช้าก็แล้ว หรือไม่ก็ออกจากออฟฟิศให้ดึกก็แล้ว ก็ยังไม่สามารถเลี่ยงรถติดได้ซะที การจะไปเช่าคอนโดอยู่ก็ไม่ได้เป็นทางที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน เนื่องจากหลายชีวิตก็มีภาระค่าใช้จ่ายและความจำเป็นแตกต่างกันออกไป
การที่รถติดขนาดนี้สาเหตุหลักๆ มาจากปริมาณรถที่เยอะขึ้น และแหล่งงานกระจุกตัว โดยช่วงเวลาแห่งความหฤโหดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 06.00 -09.00 น. และ 16.00 – 19.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาออกไปทำงานกับหลังเลิกงานนั้นเอง จากแหล่งข้อมูลได้มีการจัด 5 อันดับ ถนนที่รถโคตรติดตามช่วงเวลาที่แบ่งไว้ดังนี้
ช่วง 06.00-09.00 น.
1. กรุงธนบุรี (กรุงธนบุรี-สุรศักดิ์) ความเร็วเฉลี่ย 5.1 กม./ชม.
2. พระราม 9 (รามคำแหง-พระราม 9) ความเร็วเฉลี่ย 9.7 กม./ชม.
3. เจริญกรุง (ถนนตก-สุรวงศ์) ความเร็วเฉลี่ย 10.6 กม./ชม.
4. ราชวิถี (บางพลัด-อุภัย) ความเร็วเฉลี่ย 10.8 กม./ชม.
5. สุขุมวิทชั้นใน (อโศก-นานา) ความเร็วเฉลี่ย 10.8 กม./ชม.
ช่วง 16.00-19.00 น.
1. เจริญกรุง (สุรวงศ์-ถนนตก) ความเร็วเฉลี่ย 8.8 กม./ชม.
2. ราชวิถี (แยกอุภัย-บางพลัด) ความเร็วเฉลี่ย 8.9 กม./ชม.
3. สุขุมวิทชั้นใน (นานา-อโศก) ความเร็วเฉลี่ย 10.2 กม./ชม.
4. ประชาชื่น (เฉลิมพันธ์-พงษ์เพชร) ความเร็วเฉลี่ย 12.2 กม./ชม.
5. พระราม 4 ชั้นใน (หัวลำโพง-เกษมราษฎร์) ความเร็วเฉลี่ย 12.4 กม./ชม.
รถยนต์ไม่ไหว มอเตอร์ไซค์ก็ดี บีทีเอส และเอ็มอาร์ทีอาจดีกว่า
เมื่อมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ไม่อยากติดกับดักบนท้องถนนที่ต้องสูญเสียเวลาโดยใช่เหตุ ซึ่งนำมาสู่การสแกนนิ้วไม่ตรงเวลา จนส่งผลให้อดได้โบนัสจากการประเมินผลปลายปีแบบเศร้าๆ ดังนั้น การตัดสินใจควักเงินออกจากกระเป๋าเพื่อใช้บริการวินมอไซค์ทั้งหลาย จึงเป็นทางเลือกยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนหลายคน จนพี่วินบางคนเปรียบเสมือนมิตรแท้ประกันภัยที่เราขาดพวกเขาไม่ได้ในยามเช้า
จากแหล่งข้อมูลแสดงถึงจำนวนคนขับวินสาธารณะพบว่า ปี 2558 มีจำนวน 105,894 คน โดยเขตที่จำนวนมากที่สุด ได้แก่ เขตคลองเตย 4,650 คน, เขตบางนา 4,297 คน และเขตบางกอกน้อย 3,874 คน
ส่วนจำนวนวินมีทั้งสิ้น 5,445 วิน โดยเขตที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ เขตจตุจักร 230 วิน, เขตราชเทวี 219 วิน และเขตคลองเตย 206 วิน
หากสังเกตให้ดีจะพบว่าเขตที่มีจำนวนวินมอไซค์สาธารณะมากที่สุดคือ เขตจตุจักร ซึ่งเป็นเขตใจกลางเมืองที่มีทั้งสถานประกอบการ และจุดศูนย์กลางของการคมนาคมไม่ว่าจะเป็น ต้นสายของรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) อันเป็นศูนย์รวมความหวังของการเดินทางไปทำงานสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยแท้ทรู นอกจากจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายคงที่ซึ่งต้องเสียเป็นประจำทุกวันได้แล้ว ยังสามารถควบคุมเวลาในการเดินทางได้พอสมควรอีกด้วย ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่บางครั้งเกิดเหตุขัดข้อง
หากใครอยากรู้ว่ารถไฟฟ้า (BTS) ใช้เวลาในการสัญจรระหว่างสถานี และคิดค่าบริการอย่างไร สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ https://goo.gl/oJd3Gr ซึ่งภายในนี้คุณสามารถเลือกต้นสถานีและจุดหมายปลายทาง เพื่อคำนวณระยะเวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างเห็นภาพรวม เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ที่คุณสามารถเข้าไปได้ที่ https://goo.gl/k7czgG และหาหัวข้อ ‘คำนวณค่าโดยสาร’ ภายในหัวข้อนี้จะให้คุณกรอกสถานีต้นทางและปลายทาง รวมถึงวันที่เดินทางและเวลาเดินทางด้วย
เราจึงเปรียบเทียบการเดินทางจากการใช้พาหนะต่างกันจากต้นและปลายทางที่ขึ้นชื่อว่ารถติดสุดฮิตมาให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมกันจ้า ด้วยการตั้งค่าเวลาตาม ช่วงเวลา 06.00 – 09.00 และ 16.00 – 19.00 น.
(หมายเหตุ: อ้างอิงการตั้งค่าการเดินทางเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นวันและเวลาปกติในการทำงานทั่วไปจาก Google Map)
ถ้าลองคำนวณคร่าวๆ จะเห็นว่า หากในแต่ละปี เรามีวันทำงานอยู่ที่ประมาณ 250 วัน การเดินทางในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจะมีผลต่อเงินในกระเป๋าเราดังนี้
จากข้อมูลโดยสรุป จะเห็นว่าการเดินทางโดยรถยนต์นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงสุด ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายแฝงที่ตามมาระหว่างค่าซ่อมแซมรถอีกเฉลี่ยประมาณปีละ *20,000 บาท
ในกรณีที่เลือกเดินทางในระดับกลางอย่างรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT จะเห็นว่าถ้าเทียบแค่ค่าใช้จ่ายอย่างเดียว (ไม่รวมค่าซ่อมแซมของรถยนต์) นั้น ในบางเส้นทางอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์ แต่สิ่งที่แลกมานั้นคือ “เวลา” ซึ่งตรงนี้ต้องพิจารณาประกอบกันด้วยว่า ต้นทุนแฝงอื่นๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่พักอาศัย (บางคนเลือกเช่าหรือซื้อคอนโดติดรถไฟฟ้า) หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังแต่ละสถานีหรือที่ทำงาน (อาจจะมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือรถเมล์อีกต่อหนึ่งนั้น มันคุ้มค่ากันจริงๆ หรือเปล่า)
สุดท้ายถ้าเดินทางโดยรถเมล์หรือเรือนั้นถือว่าคุ้มค่าที่สุดในแง่ของค่าใช้จ่าย แต่สิ่งที่แลกมานั้นก็ไม่น้อยหน้า นั่นคือ “เวลา” ที่ต้องใช้ในการเดินทางที่สูสีกับรถยนต์หรือมากกว่าแถมยังต้องแลก “พลังกาย” ในการ “เดินทาง” อีกด้วย
ดังนั้น ถ้าตั้งคำถามว่า การเดินทางแบบไหนประหยัดกว่ากัน รถเมล์คงเป็นคำตอบที่ง่ายที่สุด ส่วนรถยนต์กับ BTS หรือ MRT นั้น ต้องพิจารณาถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องประกอบกันก่อน ไม่งั้นแล้วคุณอาจจะจ่ายแพงกว่าเก่าโดยที่ไม่ได้ตั้งใจก็ได้ครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องของการเดินทาง แต่เรื่องของที่อยู่อาศัยก็มีผลเช่นกัน
ปัญหายังไม่จบแค่นี้ การที่เมืองขยายออกไป แต่ระบบขนส่งสาธารณะยังขยายไปไม่ถึง อาทิ รถเมล์ หรือสถานีรถไฟฟ้า โครงสร้างเหล่านี้จึงมีผลบังคับทางอ้อมให้มนุษย์เงินเดือนที่อยากมีบ้านในเมืองแต่สู้ราคาไม่ไหว แถมไม่อยากอยู่คอนโดเพราะมีครอบครัว จำเป็นต้องดิ้นรนหาพาหนะมาเป็นข้อต่อเพื่อเข้าเมืองมาทำงานในที่สุด
หากจะตั้งคำถามว่าทำไมไม่หางานทำใกล้บ้าน คำตอบก็คงเหมือนการที่เมืองขยายแต่ระบบคมนาคมสาธารณะยังไปไม่ถึง แหล่งที่ทำงานก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการกระจุกตัวในเขตเมือง จนนำพามาสู่ความหนาแน่นทั้งของประชากร จำนวนพาหนะส่วนตัว และรถบริการภาคส่วนอื่นๆ ด้วย
ปัญหารถติดจึงบังเกิด!
แท้จริงนั้น รถติดคือปัญหาระดับสากล เพราะเมื่อคุณลองเสิร์ชปัญหาเหล่านี้เข้าไปใน Google จะพบข้อแนะนำมากมายในการเอาตัวรอดจากปัญหาดังกล่าว โดย Global Traffic.net ได้เสนอแนวทางหนีปัญหารถติดไปพร้อมกับการช่วยลดปัญหารถติดด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- การหลีกเลี่ยงเวลาพีคของการจราจร
- การใช้รถบริการของบริษัท ซึ่งบางบริษัทก็มีสวัสดิการด้านนี้อยู่
- การกลับบ้านทางเดียวกับเพื่อนร่วมงาน
- การสำรวจเส้นทางก่อนออกจากบ้าน เช่น ดูสภาพการจราจรผ่าน Google Map หรือฟังข่าวสารจาก จส. 100 ก็น่าจะช่วยได้บ้าง (อันนี้ Global Traffic ไม่ได้บอกแต่เราแนะนำเอง)
- ประเด็นสุดท้ายคือ ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งน่าใช้หรือไม่นั้นข้อมูลด้านบนก็น่าจะสะท้อนอยู่ไม่มากก็น้อย
ทันทีที่อ่านคำแนะนำจาก Global Traffic และเว็บไซต์อื่นๆ ก็พบว่ามนุษย์เงินเดือนในเมืองหลวงแบบเรานั้นแทบจะทำทุกวิถีทางแล้ว ไล่ตั้งแต่ตื่นตี 4-5 ออกจากบ้านก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แล้วไปนอนหลับต่อในที่จอดรถออฟฟิศ โชคร้ายหน่อยก็ต้องกินข้าวบนรถ ฟังเพลง Favorite List บนรถเพื่อปลอบใจตัวเอง หากอยากอัพเดทก็ฟังข่าวบนรถ วันดีคืนดีดันปวดท้องหรือปวดปัสสะวะบนรถอีก ทางออกก็หนีไม่พ้นความหวังเล็กๆ จากปลายกระบอกขวดน้ำบนรถที่เคยทิ้งไว้
ส่วนสาวๆ นอกจากออกจากบ้านตั้งแต่ผมยังไม่แห้งก็ต้องมาแต่งหน้า เขียนคิ้วบนรถอีก สุดท้ายความทุ่มเทตั้งแต่ตี 4 ก็ลงเอยด้วยการมาสแกนนิ้วไม่ทัน สั่งสมจนอดโบนัส แถมค่าน้ำมันบานอีกด้วย!
นี่คุณภาพชีวิตที่เราไม่อยากได้ แต่ทำไงได้ ก็สถานการณ์และสภาพแวดล้อมมันบังคับ
หลายครั้งมนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ จึงต้องหาที่ระบายด้วยการพึ่งพากระแสจากโลกอินเตอร์เน็ตด้วยการตั้งกระทู้ หรือจัดสร้างแคมเปญเพื่อระดมความคิดและความรู้สึกของเพื่อนร่วมชะตาบนท้องถนนมาขับเคลื่อนประเด็น เพื่อสะท้อนไปยังหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มาช่วยแก้ไขปัญหา
ทว่าสุดท้ายปัญหาเหล่านี้ก็ต้องหาทางแก้ด้วยตัวเองอยู่ดี นั่นเพราะปัญหารถติดนั่นถูกสั่งสมมาอย่างยาวนาน โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องโครงสร้างเมือง การเชื่อมต่อของระบบคมนาคม ประสบการณ์จากการใช้บริการ และการกระจุกตัวของประชากร มันมีมุมอีกมากมายที่เชื่อมโยงและเกี่ยวพันกันไปหมดเกินกว่ามนุษย์เงินเดือนธรรมดาอย่างเราจะรู้ลึก เข้าถึง และไปแก้ไข
เมื่อตนเป็นที่พึ่งแห่งตน มนุษย์เงินเดือนอย่างเราจึงพยายามอัพสกิลในการเอาตัวรอดจากรถติดที่ขโมยเวลาส่วนตัวเราไปอย่างมากมายมหาศาล เรียกได้ว่าในยุค 4.0 สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือนจำเป็นต้องมีคือ ทักษะการเอาตัวรอดจากรถติดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องรู้จักกลยุทธ์การวางแผนโดยเริ่มจาก
- การตั้งนาฬิกาปลุก
- คำนวณเวลาการเข้าห้องน้ำ
- คำนวณเวลาการแต่งตัว
- คำนวณเวลากินข้าว
- การจดจำช่วงเวลาการเดินรถประจำทาง (แน่นอนว่าบางครั้งเวลาก็คลาดเคลื่อน)
- การจดจำปั๊มน้ำมันระหว่างเดินทางเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ขณะเดียวกันมนุษย์เงินเดือนก็ต้องใช้สมองส่วนหน้า (Frontal Cortex) ให้มากที่สุด เพื่อควบคุมอารมณ์ไม่ให้เกิดปัญหา เพราะระหว่างทางคุณจะต้องเจอความแน่นหนาจากผู้ร่วมชะตาเดียวกัน และกลิ่นกายที่ไม่พึงประสงค์จากการร่วมทาง รวมถึงการให้บริการทุกระดับจากบริการที่คุณอาจไม่ประทับใจ เป็นต้น
สุดท้ายมนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องหาความบันเทิงติดตัวบ้างไม่ว่าจะเป็น
- ซีรี่ส์เกาหลี
- ละครไทยที่พลาดดูเมื่อคืน
- เทปบันทึกคอนเสิร์ตที่อดไปเพราะเงินหมด
- พอดคาสด์จาก นักคิด นักพูดชื่อดัง
- อ่านหนังสือที่เพิ่งซื้อมา
ทั้งหมดนี้แนะนำว่าให้โหลดเก็บไว้ในแบบ Offline ในสมาร์ทโฟนของคุณ เมื่อรถติดนานๆ จนเริ่มรู้สึกเบื่อ จงหยิบขึ้นมาเปิดดูซะ อย่างน้อยก็น่าจะทำให้เรารู้สึกว่าได้ใช้เวลาที่อยากใช้ในช่วงที่ย่ำแย่ได้บ้าง
กลยุทธ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเช้าของวันไปทำงานเท่านั้น แต่มันยังถูกใช้หลังเลิกงานด้วย ใครๆ ก็แขยงที่จะออกตรงเวลาแล้วไปเจอสภาพรถติดนิ สู้อยู่ออฟฟิศนานๆ หรือแวะห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เพื่อดูหนังสักเรื่อง เพื่อหวังว่าเมื่อเดินออกมาจากห้างแล้วรถจะไม่ติด หรือไม่ก็ภาวนาให้ผู้จัดละครช่วยสร้างละครที่เรตติงดีๆ จนคนในเมืองอยากขับรถกลับบ้านไปดูตอนอวสานกันพร้อมหน้าพร้อมตาโดยเร็ว
เห็นภาพชีวิตมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ แล้วก็ถอนหายใจกับตัวเองว่า
ชีวิตการเดินทางของมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ คิดอีกทีก็เป็นละครที่เหมือนจะไม่มีตอนอวสานจริงๆ แม้หลายคนจะมองว่าละครเหล่านั้นจะน้ำเน่าแค่ไหนก็ตาม แต่น่าแปลกที่เราก็ยังคงนิยมเสพและพูดมันถึงอยู่ดี
ชีวิตกับสภาพการจราจรที่เป็นอยู่ก็เช่นกัน...