ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง

ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง

ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต จัดทำข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน มุ่งพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง เติมเงินลงทุนต่อยอดเติบโตยั่งยืน นำร่องลงพื้นที่ 300 แห่ง ภายใน 6 เดือน วางเป้าครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ คาดสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้คนตัวเล็กในชุมชนกว่า 1 ล้านรายทั่วประเทศ

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Development Bank เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยคนตัวเล็กในชุมชน (Micro) หรือ “จุล SMEs”

โดยร่วมกันศึกษาข้อมูลเชิงศักยภาพแหล่งท่องเที่ยงชุมชน 1,000  แห่งทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลศักยภาพของแต่ละชุมชนท่องเที่ยว จากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวโพสต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและมีการแนะนำต่อ ๆ กันในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่าข้อมูล “ทุติยภูมิ”

ในขณะนี้ได้ทำการรวบรวมและจัดทำเป็นข้อมูลไปแล้ว 876 ชุมชนทั่วประเทศ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างจัดเก็บข้อมูล คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้

ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แต่ละชุมชนจะมีประมาณ 200 - 300 ครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนจะมีสมาชิกประมาณ 3-4 คน หากสามารถพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง จะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจำนวน 876 ชุมชนที่ได้รวบรวมแล้ว ขณะนี้ทีมงานสาขา ธพว. และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมเครือข่ายมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นทั้ง 77 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เข้าไปศึกษาเชิงลึกว่าชุมชนท่องเที่ยวนั้นมีความโดดเด่น มีศักยภาพ ความเข้มแข็ง และจุดอ่อนอย่างไร

ทั้งนี้ การลงพื้นที่จะเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการคิดและพัฒนาชุมชนของตนเองเป็นหลัก ขณะที่ธนาคารจะร่วมกับชุมชนเข้าไปพัฒนาเติมเต็มสิ่งที่ชุมชนนั้น ๆ ต้องการ  โดยเบื้องต้นนำร่องลงพื้นที่ 300 ชุมชนแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยจะกระจายลงพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 69 จังหวัดแรก ลงพื้นที่จังหวัดละ 4 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 276 ชุมชน

ขณะที่อีก 8 จังหวัด ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ระนอง ชุมพร ตรัง พังงา และสตูล ลงพื้นที่จังหวัดละ 3 ชุมชน รวม 24 ชุมชน  ส่วนชุมชนที่เหลือจะเร่งลงพื้นที่ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะใช้เวลาในการลงพื้นที่วิเคราะห์ศักยภาพของความต้องการของท่องเที่ยวชุมชนแต่ละแห่งให้ครบ 1,000 แห่ง ภายใน 6 เดือน

สำหรับการเข้าไปช่วยเหลือแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ธนาคารไม่เน้นเรื่องการให้สินเชื่อหรือให้การสนับสนุนการเงินเป็นหลัก แต่จะเน้นด้านการพัฒนาสร้างความเข้มแข็ง ดึงศักยภาพที่มีของแต่ละชุมชนออกมาให้เป็นจุดเด่น ร่วมกับชุมชนแก้ไขปัญหาโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

หลังจากนั้นหากชุมชนใดเข้มแข็งและต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ธนาคารก็พร้อมสนับสนุนผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) วงเงิน 50,000 ล้านบาท กู้ได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท 3 ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 3% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. 4 ปีแรก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook