เจอทุบรถเพราะจอดขวางหน้าบ้าน ประกันคุ้มครองหรือไม่

เจอทุบรถเพราะจอดขวางหน้าบ้าน ประกันคุ้มครองหรือไม่

เจอทุบรถเพราะจอดขวางหน้าบ้าน ประกันคุ้มครองหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข่าวเกรียวกราวมา 2-3 วัน ประเด็นที่ #ป้าทุบรถ จะนำรถออกจากบ้าน แต่บังเอิญเหลือเกินไปเจอกระบะคันหนึ่งจอดขวางอยู่ แถมยังใส่เบรคมือเอาไว้อีก บีบแตรอยู่นานก็ไม่มีใครมาที่รถเพื่อขยับออกจากทาง สุดท้ายคุณป้าเจ้าของบ้านเลยต้องสวมบทมือทุบเข้าให้

อ่านเพิ่มเติม --> 

>>> ชาวเน็ตแจงหญิงทุบรถ เผยเคยมีเหตุรถจอดขวางหน้าบ้านจนพ่อเสียชีวิต 

>>> เจ้าของรถกระบะถูกทุบ รับผิดคิดว่าบ้านนี้ไม่มีคนอาศัย แต่ไม่น่ามาทุบรถ

>>> ทำไมต้องทุบ! มุมมองที่แตกต่าง จอดรถขวางหน้าบ้าน

>>> ทนายฟันธง ป้าทุบรถกระบะ ไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ 

>>> เจ้าของบ้าน ลั่นทุบรถเพราะอดทนถึงที่สุดแล้ว ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการดูแล 

>>> ผอ.เขตประเวศ เปิดใจ ไม่ได้เพิกเฉย ปมป้าทุบรถจอดขวางหน้าบ้าน

>>> สรุปปัญหา 10 ปีที่ต้องเจอ “เจ้าของบ้าน ป้าทุบรถ” ระบายให้สังคมได้รับรู้

>>> 10 ปีที่ต้องทน! ป้าทุบรถ VS ป้าเพื่อนเจ้าของตลาด 

>>> บุกพิสูจน์บ้านป้าทุบรถ อึ้ง ทนดมกลิ่นเหม็นทั้งวัน ซ้ำจุดทิ้งขยะติดรั้ว-หนูวิ่งว่อน 

>>> ผู้ว่าฯ กทม. ลงดูบ้าน “ป้าทุบรถ” รับปากแก้ปัญหาด่วน

Sanook! Money อยากจะขอถือโอกาสนี้ย้ำเตือนผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภทว่า ไม่ควรจอดรถขวางทางเข้า-ออกของผู้อื่น เพราะนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของที่พักหรือสถานที่ที่เราไปจอดขวางทางไว้แล้ว ยังอาจจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม --> ทนายเกิดผล แก้วเกิด' ชี้ข้อกฎหมายจอดรถขวางหน้าบ้าน และ ทุบรถผู้อื่น

ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ระบุว่า ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

นอกจากนั้น การที่เราไปจอดรถขวางทางเข้า-ออกของคนอื่น ก็ยังเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายรถ (กรณีของป้าทุบรถ เกิดขึ้นกลางวันแสก ๆ ผู้คนพลุกพล่าน ลองคิดถึงกรณีที่เกิดขึ้นยามวิกาลหรือสถานที่ลับตา อาจจะไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้)

แล้วถ้ารถเราเจอทุบ ประกันภัยคุ้มครองมั้ย? ข้อมูลจากเว็บไซต์สมาคมประวินาศภัยไทยมีดังนี้ 

การประกันภัยรถยนต์ มี 2 ประเภท คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

หมายถึง การที่เจ้าของรถแต่ละคันต้องจัดให้มีประกันภัยตามความคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้แก่ การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “การประกันภัย พ.ร.บ.” เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. (เว้นแต่ รถที่ พ.ร.บ.ฯ ระบุยกเว้นไว้ เช่น รถของสำนักพระราชวัง รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ รถของกระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น) มิเช่นนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

หมายถึง การที่เจ้าของรถแต่ละคันตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์ของตนด้วยความสมัครใจ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ และ/หรือความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับให้ความคุ้มครอง ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง

    มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถว่าหากได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย จากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือสิ่งที่บรรทุกติดตั้งมากับรถนั้นก็จะได้รับการชดใช้และเยียวยาในความคุ้มครองภายใต้การประกันภัย พ.ร.บ. นี้ ให้ความคุ้มครองเฉพาะชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัย และได้แบ่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็น 2 ส่วน คือ

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
    บริษัทประกันวินาศภัยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อ ชีวิตร่างกาย ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

ก. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
ข. ค่าทดแทนกรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
ค. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
ง. จำนวนตามข้อ ก. และ ข. รวมกัน สำหรับผู้ประสบภัยที่สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิตหลังจากที่มีการรักษาพยาบาล
จ. จำนวนตาม ก. และ ข. รวมกัน หรือจำนวน ก. และ ค. รวมกัน แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ ก. ข. และ ค. หรือได้รับความเสียหายตามข้อ ข. และ ค. ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจำนวน 65,000 บาท
ฉ. กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม ก. ข. ค. หรือ ง. แล้วแต่กรณีให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวข้างต้นบริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน

2. ค่าสินไหมทดแทน 
    ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามข้อนี้ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดก่อน ฝ่ายใดที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

ก. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าอนามัยของผู้ประสบภัย ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน
ข. ค่าทดแทนการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ค่าปลงศพให้แก่ผู้ประสบภัยเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาทต่อหนึ่งคน
ค. ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วันต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
ง. จำนวนตามข้อ ก. ถึงข้อ ค. รวมกัน สำหรับผู้ประสบภัยที่สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิตหลังจากที่มีการรักษาพยาบาลรวมกันสูงสุด 304,000 บาทต่อหนึ่งคน และรวมกันไม่เกิน 5,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คนหรือไม่เกิน 10,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถที่มีที่นั่งเกิน 7 คน

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งความคุ้มครองเป็น 5 ประเภทดังนี้

Imageการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมและสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ โดยให้ความคุ้มครอง 3 หมวดหลัก ดังนี้

 

  1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
    • ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนที่เกินวงเงินสูงสุดตามการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรของ ผู้ขับขี่นั้นหรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง
    • ความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง
  2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้
    ไม่ว่าจะเสียหายทั้งคันหรือบางส่วน เช่น กระจกมองข้างรถถูกขโมย สะเก็ดไฟมาโดนรถไฟไหม้ทั้งคัน เป็นต้น
  3. หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยอันเกิดจากอุบัติเหตุ 
    เช่น กันชนหน้ารถแตกหักจากการขับรถชนต้นไม้ ประตูรถได้รับความเสียหายจากการถูกเฉี่ยวชน กิ่งไม้หล่นใส่หลังคารถ เป็นต้น

 

Imageการประกันภัยรถยนต์ประเภท 2

ให้ความคุ้มครองรองลงมาจากประเภท 1 โดยมีความคุ้มครองเพียง 2 หมวดหลัก ดังนี้

 

  1. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
    • ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนที่เกินวงเงินสูงสุดตามการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรของผู้ขับขี่นั้น
    • ความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ คู่สมรส บิดามารดา บุตร ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง
  2. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้

 

Imageการประกันภัยรถยนต์ประเภท 3

ให้ความคุ้มครองเฉพาะหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงอย่างเดียว ซึ่งประกอบด้วย ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนที่เกินวงเงินสูงสุดตามการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

Imageการประกันภัยรถยนต์ประเภท 4

ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองในการประกันภัย พ.ร.บ. แต่จำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามกฎหมายสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในการประกันภัยประเภทนี้จำกัดจำนวนเงินไว้ไม่เกิน 100,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งเท่านั้น

Imageการประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

     การประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย หรือที่เรียกกันว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ซึ่งเปิดความคุ้มครองให้แต่ละบริษัทประกันวินาศภัยสามารถเลือกขยายความคุ้มครองได้โดยกำหนดบังคับให้ทุกกรมธรรม์ประกันภัยต้องมีความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกเป็นความคุ้มครองขั้นต่ำในปัจจุบันมีแบบประกันภัยที่เป็นที่นิยม 2 แบบ คือ
ก. แบบที่ขยายความคุ้มครองเพิ่มขี้นจากการประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า 2+ ให้ความคุ้มครองคล้ายคลึงประเภท 2 และเพิ่มความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในจำนวนเงินที่จำกัดอันเนื่องมาจากการชนกับยานพาหนะทางบกและต้องมีคู่กรณีเท่านั้น และ
ข. แบบที่ขยายความคุ้มครองเพิ่มขี้นจากการประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า 3+ ให้ความคุ้มครองคล้ายคลึงประเภท 3 และเพิ่มความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในจำนวนเงินที่จำกัดอันเนื่องมาจากการชนกับยานพาหนะทางบกและต้องมีคู่กรณีเท่านั้น 

นอกเหนือจากความคุ้มครองหลักในการประกันภัยทั้ง 5 ประเภทข้างต้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้ายได้อีก 3 แบบ คือ

  • การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล-ร.ย.01 ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะทุพพลภาพถาวร ทุพพลภาพชั่วคราวของผู้ขับขี่และผู้โดยสารซึ่งอยู่ในหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย ซึ่งเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ
  • ค่ารักษาพยาบาล-ร.ย.02 ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสารซึ่งอยู่ในหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย ซึ่งเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ
  • การประกันตัวผู้ขับขี่-ร.ย.03 ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา ซึ่งบริษัทประกันภัยจะดำเนินการโดยไม่ชักช้าตามจำนวนเงินที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลกำหนดจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

 

 ตารางสรุปความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

tablemotorinsurance

จะเห็นได้ว่า มีเพียงประกันชั้น 1 เท่านั้นที่คุ้มครอง ถ้าเราไม่ได้ทำประกันชั้น 1 ก็ต้องเสียเงินค่าซ่อมเอง (กรณีที่หาคู่กรณีไม่ได้)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook