ไฟเขียว! ร่างกฎหมายการระดมทุนในตลาดหุ้นยุคใหม่

ไฟเขียว! ร่างกฎหมายการระดมทุนในตลาดหุ้นยุคใหม่

ไฟเขียว! ร่างกฎหมายการระดมทุนในตลาดหุ้นยุคใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ… ด้วยการปรับปรุงนิยามให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น สอดคล้องกับตลาดทุนยุคปัจจุบัน ทั้งฟินเทค การทดลองในกระบะทราย (Sand Box) การซื้อขายตราสารรูปแบบใหม่ กำหนดลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการบริษัท การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การรองรับจดทะเบียนของผู้ประกอบการสตาร์ตอัป การเพิ่มอำนาจบอร์ด เช่น กำหนดหลักเกณฑ์ให้บุคคลที่ไม่ใช่บริษัทหลักทรัพย์นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ รองรับกระแสโลกยุคใหม่ เพราะจะมีผู้ประกอบการสตาร์ตอัปเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก

การเพิ่มอำนาจบอร์ด ก.ล.ต.มีอำนาจในการสั่งการให้จัดประชุมคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากมีปัญหาขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทของบอร์ด ฝ่ายบริหาร ซึ่งได้เกิดขึ้นหลายรายในช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น มีการกำหนดจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์สุจริตของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เพื่อดูแลผลประโยชน์ของผู้ซื้อหน่วยลงทุนให้เป็นมาตรฐานสากล กำหนดข้อห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะซื้อขายหรือเป็นตัวแทน เว้นแต่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของบอร์ด ก.ล.ต.

นอกจากนี้ยังกำหนดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ขอให้บริษัทหลักทรัพย์จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน การเพิกถอนมติที่ประชุม กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดการประชุม

ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังกำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์ ต้องดำเนินการตามมาตรฐานสากล มีแหล่งทุนเพียงพอ และจัดสรรเงินให้กับกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ โดยมีสถานะเป็นนิติบุคคล ตั้งเป็นหน่วยงานอิสระแยกออกจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เบื้องต้นมีเงินกองทุนประมาณ 5,700 ล้านบาท

สำหรับการปรับปรุงบทลงโทษ หากผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนฝ่าฝืนคำสั่งสำนักงาน ก.ล.ต. อาทิ ไม่จัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หากบริษัทหลักทรัพย์ฝ่าฝืนคำขอของผู้ถือหน่วยลงทุน ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท และปรับเพิ่มอีกวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง หากผู้ใดล่วงรู้กิจการตามอำนาจหน้าที่ และนำไปเปิดเผยข้อมูลต่อผู้อื่น โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

โดยหลังจากนี้จะนำร่างกำหมายส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและเสนอ สนช.พิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook