เหตุผลที่ทำให้ 'ญี่ปุ่น' เปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดยังไม่สำเร็จ

เหตุผลที่ทำให้ 'ญี่ปุ่น' เปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดยังไม่สำเร็จ

เหตุผลที่ทำให้ 'ญี่ปุ่น' เปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดยังไม่สำเร็จ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคนี้ “สังคมไร้เงินสด” ดูเหมือนจะกลายเป็นนโยบายของหลาย ๆ ประเทศ ที่มุ่งเดินหน้าปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบการชำระเงินในประเทศ อย่างในประเทศไทยเราก็มีการส่งเสริมให้สมัครบริการพร้อมเพย์, การจ่ายเงินผ่าน QR code เป็นต้น

อีกหนึ่งประเทศที่เริ่มมีการรณรงค์ส่งเสริมเรื่องสังคมไร้เงินสดก็คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่เริ่มมีการใช้ IC Card เพื่อการชำระเงิน เช่น บัตร SUICA และเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) อื่น ๆ แต่ถึงจะเป็นรายต้น ๆ ที่เริ่มใช้ แต่จากผลสำรวจในปี 2017 กลับพบว่าอัตราการเติบโตของเงินอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่นนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 1.1% เท่านั้น สวนทางกับนานาประเทศทั่วโลกที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นแบบพุ่งทะยาน และเมื่อเทียบปริมาณธนบัตรและเหรียญที่หมุนเวียนในระบบของญี่ปุ่นกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ จะพบว่าญี่ปุ่นมีปริมาณเงินสดหมุนเวียนอยู่ในระบบสูงกว่ามาก เพราะเหตุใดจึงทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสดอย่างสมบูรณ์ไม่สำเร็จ

อ่านประกอบ  >>> [‘ฟรีค่าธรรมเนียม’ คือทางด่วนสู่สังคมไร้เงินสด?] <<<

ก่อนอื่นเรามาดูอัตราการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศต่าง ๆ กันก่อน

● ญี่ปุ่น……..18%
● เกาหลี……54%
● จีน…….....55%
● สหรัฐ…….41%

จะเห็นว่าญี่ปุ่นมีอัตราการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศชั้นนำของโลก แล้วเหตุผลที่คนญี่ปุ่นยังถือเงินสดกันอยู่เป็นจำนวนมากนั้นเป็นเพราะอะไร อาจเป็นเพราะว่าที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ค่อยมีธนบัตรปลอม และเป็นประเทศที่ค่อนข้างปลอดภัย สามารถถือเงินสดเยอะ ๆ ติดตัวไปไหนมาไหนได้

อ่านประกอบ  >>> [สรุปข้อมูลแบงก์ใหญ่ประกาศ ‘ฟรีค่าธรรมเนียม’ บน Online Banking] <<<

อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนสู่สังคมไร้เงินสดของญี่ปุ่นเป็นไปได้ช้าเหลือเกินก็คือ โครงสร้างทางการบริหารของธนาคาร ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีตู้ ATM อยู่ตามท้องถนนเป็นจำนวนมาก ในยุคโชวะผู้คนต่างมองว่าตู้ ATM เป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้สามารถกดเงินสดออกมาใช้ได้ง่าย ๆ แต่ตู้ ATM ของญี่ปุ่นนั้นถึงจะเป็นการกดเงินจากตู้ของธนาคารเดียวกัน ถ้าบัตรนั้นไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขพิเศษหรือช่วงเวลาที่ธนาคารให้กดเงินได้ฟรี ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินต่อครั้งอยู่ที่ประมาณ 108-216 เยน

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของโครงสร้างทางการบริหารของธนาคารญี่ปุ่นที่มักจะมีค่าธรรมเนียมในทุก ๆ การให้บริการ ทางธนาคารกลางญี่ปุ่นก็รู้ดีถึงความจริงดังกล่าว จึงไม่ได้ยื่นมือเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อสังคมไร้เงินสดเหมือนอย่างในประเทศเกาหลีและจีน ในปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งเร่งเดินเครื่องก้าวสู่การประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิตอล (Cryptocurrency) กันมากขึ้น นั่นอาจจะเป็นเพราะบริษัทยักษ์ใหญ่หลาย ๆ แห่งคงเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ของอนาคตของสังคมไร้เงินสดในญี่ปุ่นนั่นเอง

ขณะที่จากนโยบาย Abenomics เช่น มาตรการอัตราดอกเบี้ยติดลบ ทำให้ธนาคารในญี่ปุ่นเสียหนทางในการหารายได้ไปไม่ใช่น้อย และฝากความหวังไว้กับช่องทางการหารายได้อย่างการเก็บค่าธรรมเนียมจากการกด ATM เป็นต้น จนทำให้ญี่ปุ่นยังเดินหน้าแบบช้า ๆ สู่การก้าวสู่สังคมไร้เงินสด จากนี้เราก็คงต้องคอยจับตาดูต่อไปว่าญี่ปุ่นจะเดินหน้าในทิศทางไหนต่อไป และจะก้าวสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริงได้หรือไม่ในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook