ไขปริศนา ได้โชคจากรางวัล 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษีทั้งหมดเท่าไหร่?

ไขปริศนา ได้โชคจากรางวัล 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษีทั้งหมดเท่าไหร่?

ไขปริศนา ได้โชคจากรางวัล 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษีทั้งหมดเท่าไหร่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข่าวที่มีหนุ่มคนหนึ่งได้รับโชคจากบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่เป็นมูลค่าถึง 10 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าผ่านไป 2 ปีใช้เงินหมดไปเรียบร้อยแล้ว แต่มีหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากรให้ไปจ่ายภาษีรายได้ย้อนหลังถึงกว่า 3 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม  หน้าซีด! หนุ่มใช้รางวัล 10 ล้านจนเกลี้ยง รู้ตัวอีกที โดนเรียกภาษีย้อนหลัง 3.5 ล้าน

Sanook! Money ขอคลายปมความสงสัยให้ว่าจริงๆ แล้วเวลาเราได้รางวัลมาจากการชิงโชคต่างๆ เรามีภาระภาษีที่ต้องจ่ายไปทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 อธิบายไว้ถึงเงินได้พึงประเมินแบบต่างๆ ซึ่งเงินรางวัลหรือสิ่งของที่ได้รับจากการชิงโชค ถือเป็นเงินได้พึงประเมินแบบที่ 8 หรือเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (8) นั่นเอง

สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (8) นี้ ประมวลรัษฎากรให้สิทธิเลือกสองทางในการหักค่าใช้จ่าย คือ แบบเหมา และ ตามจำเป็นและสมควร แต่ "เงินรางวัลจากการชิงโชค" ไม่ได้ถูกระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ให้สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ ดังนั้นต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยหากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริง เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าไปรษณีย์ ค่าใช้จ่ายในการส่งชิงโชค ก็ย่อมนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีน้อยมากหรืออาจจะพิสูจน์ให้เห็นว่ามีค่าใช้จ่ายได้ยากพอสมควร (ต้องมีใบเสร็จยืนยัน)

ทีนี้ลองสมมติว่าเราเป็นชายหนุ่มผู้โชคดีคนนั้น ที่ได้รับของรางวัลมูลค่า 10 ล้านบาท ซึ่งตามเงื่อนไขของบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ระบุว่าจะรับภาระออกค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของรางวัลให้อีกต่างหาก เท่ากับว่าเราอาจจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาทมารวมคำนวณเป็นเงินได้ แล้วยื่นแบบแสดงรายการภาษีรายได้ประจำปีอีกครั้งหนึ่ง

ลองดูจากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางอัตราการเสียภาษีรายได้แบบขั้นบันได (ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้อีกตารางหนึ่ง ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปีภาษี 2560)

กรมสรรพากรอัตราการเสียภาษีรายได้แบบขั้นบันได

เท่ากับว่าต้องจ่ายภาษีเงินได้จากเงินรางวัลที่ได้รับ 10 ล้านบาท เป็นจำนวน 965,000 + 2,100,000 (6,000,000 คูณด้วย 35%) = 3,065,000 บาท

แต่หากต้องนำค่าภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งบริษัทเป็นผู้ออกให้ ก็จะกลายเป็นภาระภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 965,000 + 2,275,000 (6,500,000 คูณด้วย 35%) = 3,240,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ยอดที่ต้องจ่ายจริง จะต้องนำเอาค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายซึ่งไม่ว่าเราจะเป็นผู้จ่ายเองหรือบริษัทเป็นผู้ออกให้ก็ตาม มาหักออกจากยอดที่เห็นข้างบน

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการได้รับโชคเป็นรางวัลมูลค่าก้อนโตนั้น มีภาระภาษีรายได้เป็นเงินที่สูงมากเช่นกัน หากมีโอกาสเป็นผู้โชคดีแล้ว อย่าลืมใช้จ่ายเงินรางวัลอย่างมีสติและวางแผนภาษีอย่างรอบคอบกันด้วยนะครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook