"100 แฟรนไชส์สร้างอาชีพ" ลงทุนไม่เกิน 50,000 บาท ประเดิมโคราชที่แรก
เปิดเงื่อนไขรายละเอียดโครงการ 100 แฟรนไชส์สร้างอาชีพผู้มีรายได้น้อย โครงการนำร่องของกระทรวงพาณิชย์
โครงการนำร่อง 100 แฟรนไชส์สร้างอาชีพผู้มีรายได้น้อย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม
- ผู้ถือบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย
- ผู้ว่างงาน
เงินลงทุน
- 10,000-50,000 บาท (ธ.ก.ส.-ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ)
พื้นที่เป้าหมาย
- พื้นที่ที่มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนมาก
- จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองจำนวน 20 จังหวัด
ทำเล สถานที่ขายสินค้า
- ปั๊มน้ำมันบางจาก, เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี
เป้าหมายโครงการ
- สร้างอาชีพได้กว่า 20,000 ราย
- เงินสะพัดกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากกว่า 2,000 ล้านบาท
>> "7 แฟรนไชส์เครื่องดื่ม" ลงทุนแค่หลักหมื่น ก็เปิดร้านได้
>> "7 แฟรนไชส์ร้านอาหาร" ลงทุนหลักพัน คืนทุนไว กำไรดี
นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้นำโครงการ แฟรนไชส์สร้างอาชีพ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ว่างงาน นำร่องพื้นที่ที่มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนมาก และเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองจำนวน 20 จังหวัด
โดยจะนำธุรกิจแฟรนไชส์จำนวน 100 แบรนด์ที่ผ่านการพัฒนาจากกรมฯ และมีขนาดการลงทุนไม่เกิน 50,000 บาท ลงพื้นที่ที่ได้คัดเลือกไว้ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดแรกที่จะดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 22-25 มิถุนายน 2561
สำหรับเงินลงทุนการเลือกซื้อแฟรนไชส์ในโครงการฯ นี้ จะมีตั้งแต่ 10,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ทำให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือผู้ที่สนใจลงทุนในระบบแฟรนไชส์แต่มีเงินไม่มาก สามารถเลือกลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการได้ ขณะเดียวกัน กรมฯ ได้ประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ร่วมให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้วย โดยจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราพิเศษ และผู้กู้สามารถชำระคืนเงินต้นได้
นอกจากนี้ หากยังไม่มีทำเลหรือสถานที่ขายสินค้า กรมฯ ได้ประสานงานกับปั๊มน้ำมันบางจาก เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ในการจัดหาพื้นที่ขายสินค้าให้อีก โดยคาดว่าหลังเสร็จสิ้นโครงการจะสร้างอาชีพได้กว่า 20,000 ราย และมีเงินสะพัดพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้กว่า 2,000 ล้านบาท