"ซิกน่า" เผยคนไทยเครียดเรื่องเงินมากที่สุด

"ซิกน่า" เผยคนไทยเครียดเรื่องเงินมากที่สุด

"ซิกน่า" เผยคนไทยเครียดเรื่องเงินมากที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลสำรวจ “คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่า” ปี 2561 พบว่า คนไทยมีความกังวลเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ด้านสังคม ตามมาด้วยครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 35-49 ปี เนื่องจากเวลาพอที่จะพบปะกับเพื่อนฝูง และเวลาทำงานอดิเรกน้อยลง ด้านครอบครัวนั้น คนไทยยังรู้สึกว่าไม่มีเวลาให้อย่างเพียงพอ รวมถึงไม่สามารถดูแลพ่อแม่ คู่สมรสและลูกๆได้ตามที่คาดหวังไว้ ขณะเดียวกันกลุ่มวัยก่อนเกษียณ (50 ปีขึ้นไป) ยังกังวลเรื่องสุขภาพร่างกายโดยรวม

แม้ผลสำรวจฯระบุว่า กลุ่มมิลเลนเนียล อายุระหว่าง 18-34 ปี จะมีสุขภาพและความเป็นอยู่ทั้งด้านร่างกาย สังคม และการเงินดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ในทางกลับกันสมดุลด้านการเงินและชีวิตส่วนตัว (Work life balance) ไม่ดีเท่ากลุ่มอื่นๆ

นายจูเลียน เมงกัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสาเหตุที่คนไทยยังกังวลถึงความมั่นคงด้านการเงินนั้น เพราะสภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการวางแผนด้านการเงินและการวางแผนหลังเกษียณ

ส่วนการวางแผนหลังวัยเกษียณนั้น พบว่าคนไทยกังวลถึงความมั่นคงทางการเงิน และมีแนวโน้มที่อาจเกิดจากการวางแผน โดยคนไทย 40% คาดว่าต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยเงินเก็บหลังเกษียณ ส่วน 23% ที่ยังมีความคุ้มครองจากแผนประกันสุขภาพที่ทำไว้ และอีก 29% คาดว่าจะต้องพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล สะท้อนถึงผลสำรวจฯของปีที่ผ่านมา ที่ระบุว่าคนไทย 75% ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ

นอกจากนี้ คนไทยกว่า 91% มีความเครียดซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 86% โดยสาเหตุมาจากปัญหาด้านการเงิน 43% ด้านงาน 35% เมื่อเทียบระหว่างกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน พบว่ากลุ่มมิลเลนเนียลกังวลเรื่องความสมดุลด้านการเงินและชีวิตส่วนตัว (Work life balance)  และความมั่นคงในหน้าที่การงานมากที่สุด เมื่อถามถึงกรณีป่วยคนไทย 89% เลือกมาทำงาน เป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 67% ที่สำคัญการมาทำงานในช่วงที่ป่วยจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  

อย่างไรก็ตาม นายจ้างในประเทศไทยสามารถช่วยพนักงานจัดการกับความเครียดได้ โดยลูกจ้างคนไทย 63% ระบุว่า บริษัทมีโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงาน แต่ครึ่งหนึ่งของกลุ่มดังกล่าวระบุยังไม่เพียงพอ ส่วนคนไทยอีก 37% กล่าวว่าบริษัทไม่มีโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook