คนซื้อ-ผ่อนบ้าน ปวดใจ "ดอกเบี้ยบ้าน" ในไทยสูงมาก

คนซื้อ-ผ่อนบ้าน ปวดใจ "ดอกเบี้ยบ้าน" ในไทยสูงมาก

คนซื้อ-ผ่อนบ้าน ปวดใจ "ดอกเบี้ยบ้าน" ในไทยสูงมาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มคนที่ถูกปฏิเสธจากธนาคารบ่อยครั้ง เพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องรายได้ในการซื้อบ้าน ส่วนมนุษย์เงินเดือนแม้จะสามารถกู้ซื้อบ้านได้แต่ระยะเวลาผ่อนค่อนข้างยาวนาน หากไม่มีเงินก้อนมาสนับสนุน กว่าหนี้จะหมดก็เกษียณอายุพอดี โดยเฉพาะดอกเบี้ยที่จ่ายไปหากนำมาร่วมกันแล้วอาจจะมากกว่าราคาบ้านเป็นเท่าตัว

ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่างถึงอัตราดอกเบี้ยกู้บ้านในต่างประเทศ โดยเฉพาะ สวีเดนมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 2% , เยอรมนี 1% ขณะที่ไทยโดยเฉลี่ยคือ 12% ยกเว้นลูกค้า AAA อาจอยู่ที่ 4-6% ซึ่งเป็นส่วนน้อยในสังคมไทย หากซื้อบ้านในราคา 3 ล้าน ผ่อนนาน 30 ปี และรวมดอกเบี้ยราคาที่ซื้ออาจถึง 7 ล้านบาท ส่วนคนเยอรมนี ซื้อในราคา 3.3 ล้าน ผ่อน 30 ปีเท่ากัน ไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดคนไทยถึงเป็นหนี้มากขึ้น ขณะที่คนไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ทำงานหนักมากที่สุดในโลก

โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ซึ่งลูกหนี้ชั้นดีมีเป็นส่วนน้อยในกลุ่มคนมีรายได้ประจำ คนมีเงินสามารถซื้อทรัพย์สินได้พร้อมกับดอกเบี้ยที่ถูก สะท้อนว่าคนซื้อบ้านในต่างจังหวัดหรือบ้านมือ 2 ได้เงินกู้ไม่เต็ม 100% แถมเสียดอกเบี้ยที่สูงกว่าเฉลี่ย 9-12% ไม่สามารถลดต้นลดดอกได้ เนื่องจากรายได้มีจำกัด และยังไม่รวมค่าปรับที่จะตามมาหากผ่อนชำระไม่ตรงกำหนด

ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ได้เสนอเรื่องสิทธิที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นทางออกของรัฐบาล ว่าควรออกมาตรการควบคุมดอกเบี้ยบ้านให้ถูกเท่าๆกัน อย่างประเทศเพื่อนบ้านไม่ให้เกิน 4% ตลอดอายุสัญญากู้บ้าน ซึ่งเป็นสิทธิเรื่องสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยไม่สูงที่คนไทยควรเข้าถึงได้ทุกคน เช่น เยอรมนีที่มีดอกเบี้ยบ้านต่ำ แต่ส่วนใหญ่คนจะเลือกเช่าบ้านมากกว่าซื้อบ้าน เพราะรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนั้น รัฐบาลไทยควรหามาตรกรลดการเก็งกำไรของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พร้อมวางมาตรการให้คนเข้าถึงที่อยู่อาศัยให้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม การผ่อนบ้านที่มีระยะเวลาที่ยาวนานอาจทำให้เกิดความรู้สึกอนุรักษนิยม จนไม่อยากเปลี่ยนงานต้องผ่อนบ้านไปเพื่อให้ลูกหลาน ดังนั้นถ้าระยะเวลาการผ่อนสั้นลง ดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไป ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงภาษีที่ดินเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาบ้านไม่สูงขึ้น เช่นเดียวกับในปัจจุบันที่บ้านอยู่ในทำเลเดียวกัน แต่กลับมีราคาที่แตกต่างกันเนื่องจากกลุ่มนายทุนเก็งกำไรนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook