คค.เล็งชงผลกระทบปัญหาEU ให้นายกรัฐมนตรี 4 กค.นี้

คค.เล็งชงผลกระทบปัญหาEU ให้นายกรัฐมนตรี 4 กค.นี้

คค.เล็งชงผลกระทบปัญหาEU ให้นายกรัฐมนตรี 4 กค.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เรื่องปัญหาวิกฤติสาธารณะยุโรป ทางกระทรวงคมนาคม ได้ให้หน่วยงานที่อยู่ในเกณฑ์ที่อาจได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว ส่งข้อมูลมาให้กระทรวงคมนาคม ในวันพรุ่งนี้ อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยจะนำข้อมูลที่ได้เข้าหารือในที่ประชุมประเมินวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในวันพุธที่ 4 ก.ค.นี้ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่อยู่ในเกณฑ์ที่อาจได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว รายงานข้อมูลให้ทราบในทันที ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น 'บุญทรง'ติดตามสินค้าไทยจ่อถูกEUตัดจีเอสพี จากกรณีที่สหภาพยุโรป หรือ EU จะทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP กับประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย รอบใหม่ภายในปีนี้ โดยคาดว่า สินค้าไทย 57 รายการ อาจถูกตัดสิทธิ GSP นั้น นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งติดตามการทบทวนการขยายเวลาการให้สิทธิ GSP ของ EU อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีสินค้ารายการใดบ้างที่ถูกยกเลิก หลังที่มีแนวโน้มถูกตัดสิทธิ GSP ในสินค้าหลายรายการในปี 2556 และหารือกับผู้ประกอบการรายการสินค้านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาและหาตลาดใหม่เสริม โดยได้ยืนยันว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ได้มีผลทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรไทย เพิ่มมากกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนด ในการให้สิทธิ GSP แต่อย่างใด เอกชน จี้ รัฐ ถก EU หลังถูกตัดสิทธิ GSP ฉุดส่งออกจากกรณีที่สหภาพยุโรป หรือ EU) จะทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP รอบใหม่ภายในปีนี้ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย ว่า ทางภาคเอกชนเตรียมจะเสนอให้ภาครัฐ เร่งเจรจากับทาง EU เพื่อให้คงสิทธิ GSP เช่นเดิม เนื่องจากการตัดสิทธิ GSP ในอดีต ทำให้สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ของไทยไปสหภาพยุโรปลดลงจากร้อยละ 15 เหลือเพียงร้อยละ 9 โดยคิดเป็นจำนวนการส่งออกเพียง 60,000 - 70,000 คัน ซึ่งหาก ประเทศไทย ถูกตัดสิทธิ GSP ในรอบนี้ จะทำให้การส่งออกรถยนต์ลดลงไปกว่าเดิม จากที่คาดการณ์ว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปตลาด EU ในปีนี้ จะมีสัดส่วนร้อยละ 6.5 หรือ 65,000 - 70,000 คัน 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook