ไหวมั้ย? “อิชิตัน” เจอโบรกฯ แห่เชียร์ขายหุ้น แถม “ธนชาต” เลิกวิเคราะห์

ไหวมั้ย? “อิชิตัน” เจอโบรกฯ แห่เชียร์ขายหุ้น แถม “ธนชาต” เลิกวิเคราะห์

ไหวมั้ย? “อิชิตัน” เจอโบรกฯ แห่เชียร์ขายหุ้น แถม “ธนชาต” เลิกวิเคราะห์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ระบุว่า แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลง 12% ในปี 2017 และลดลงอีก 50% YTD แต่ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ยังคงคำแนะนำ “ขาย” เนื่องจากไม่เห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจและยังเห็น downside ต่อประมาณการกำไรของเราอีก 61-72% ดังนั้นธนชาตจึงตัดสินใจยุติการทำบทวิเคราะห์หุ้น ICHI

ยุติการทำบทวิเคราะห์
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจยุติการทำบทวิเคราะห์หุ้น ICHI ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

ประการแรก มองว่าธุรกิจของบริษัทฯ มีแนวโน้มถดถอยลงต่อเนื่อง และไม่เห็นแนวโน้มฟื้นตัว เราต้องปรับลดประมาณการกำไรลงอีก 61-72% ในปี 2018-20F และปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 4.20 บาท จาก 8.80 บาท ซึ่งหากยังคงทำบทวิเคราะห์หุ้นนี้ ก็ยังคงคำแนะนำ “ขาย”

ประการที่สอง แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลงมาแล้ว 12% ในปี 2017 และลดลงอีก 50%YTD แต่หุ้นยังคงแพง ซื้อขายที่ PE ที่ 40 เท่าในปี 2018

ประการที่สาม บริษัทฯ มีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศจีน แต่เชื่อว่ายังเร็วเกินไปที่จะมองบวก เนื่องจากประสบการณ์ที่ไม่ดีในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียในอดีต ในขณะเดียวกันธุรกิจหลักในไทยยังคงมีแนวโน้มที่ไม่ดีนักอีกด้วย

ความสามารถในการทำกำไรถดถอย
ICHI ประสบภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในตลาดชาเขียวและตลาดเครื่องดื่มสมุนไพรในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2016 ด้วยกำไรที่ลดลงต่อเนื่องจาก 813 ล้านบาท ในปี 2015 เป็น 368 ล้านบาท ในปี 2016 และ 315 ล้านบาท ในปี 2017 และสถานการณ์มีแนวโน้มเลวร้ายลงไปอีกในปี 2018 ด้วยคาดว่าจะมีกำไรเพียง 153 ล้านบาท โดยปัจจัยหลักที่ฉุดกำไร คือ น้ำตาล และภาษีสรรพสามิตใหม่ ตลาดชาเขียวและเครื่องดื่มสมุนไพรที่อิ่มตัว จากการที่ผู้บริโภคหันไปให้ความสนใจต่อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น และการตัดราคากันอย่างรุนแรงในตลาดชาเขียวและชาสมุนไพร

ตลาดผลิตภัณฑ์หลักอิ่มตัว
ผลิตภัณฑ์หลักของ ICHI คือชาเขียวพร้อมดื่มในประเทศ (40% ของยอดขายในปี 2018) และชาสมุนไพรพร้อมดื่ม (25%) ขณะที่ผลิตภัณฑ์ในประเทศอื่นๆ คิดเป็น 5% ของยอดขาย ตลาดชาเขียวนั้นอิ่มตัวมาหลายปีแล้ว ด้วยมีการแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรง ขณะที่ตลาดชาสมุนไพรก็อ่อนตัวลงเช่นกัน ยอดขายในประเทศลดลง 16% ในปี 2016,  20% ในปี2017 และคาดว่าจะลดลงอีก 13% ในปี 2018F เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ICHI ยังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในผลิตภัณฑ์หลักทั้งสองประเภทจาก 40% ในปี 2016 เป็น 33% ในปี 2017 และ <28% ในปี 2018F อีกด้วย 

ยอดส่งออกไม่พอที่จะชดเชยยอดขายในประเทศที่ลดลงได้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากยอดขายในประเทศที่ลดลง และระบบภาษีใหม่ในประเทศ ICHI จึงเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ชาเขียวไปยังกัมพูชาในปี 2017ส่งผลให้ยอดขายจากการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 76 ลบ. ในปี 2016 เป็น 1.5พันลบ. ในปี 2017 และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.8 พันลบ. ในปี 2018F การเติบโตมาจากกัมพูชา ตลาดส่งออกหลัก และประเทศส่งออกใหม่ เช่น เวียดนาม ลาว และพม่า

แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกไม่สามารถชดเชยยอดขายในประเทศที่อ่อนตัวลงได้ เราคาดว่ายอดขายรวมของ ICHI จะลดลงไปอีก4% y-y ในปี 2018F

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์หลายแห่งออกคำแนะนำให้ขายหุ้นอิชิตัน (ICHI) ออกจากพอร์ตการลงทุน เช่น บล.ทิสโก้ บล.เออีซี เป็นต้น

สำหรับ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นคือ ICHI เป็นธุรกิจของ เสี่ยตัน ภาสกรนที ผู้เป็นเจ้าของฉายา เจ้าพ่อชาเขียว ซึ่งเคยปลุกปั้นชาเขียวภายใต้แบรนด์ โออิชิ จนประสบความสำเร็จโด่งดังคับฟ้า ก่อนจะขายหุ้น OISHI ไปให้กับกลุ่มเบียร์ช้างในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นจึงออกมาปั้นธุรกิจชาเขียวและเครื่องดื่มอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ อิชิตัน จนถึงปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook